การศึกษาการเห็นคุณค่าในตนเองของนิสิตพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

The study of self-esteem in nursing student, Bruapha University

Authors

  • พจนารถ สารพัด
  • นุจรี ไชยมงคล
  • ยุนี พงศ์จตุรวิทย์

Keywords:

มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะพยาบาลศาสตร์, นักศึกษา, ความนับถือตนเอง, ตนเอง (จิตวิทยา), นักศึกษาพยาบาล, นิสิตพยาบาลศาสตร์

Abstract

          การวิจัยแบบบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการเห็นคุณค่าในตนเองของนิสิตพยาบาลศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกจากนิสิตระดับปริญญาตรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2550 ทุกคนที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จํานวนทั้งหมด 335 คน มีอายุเฉลี่ย 20.1 ปี  ส่วนมากเป็นเพศหญิง (ร้อยละ95.8) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและ แบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเองของโรเซ็นเบิร์ก (Rosenberg's Self - Esteem Scale: RSE) มีค่าความเชื่อมั่น (Chronbach alpha's) เท่ากับ .78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย การทดสอบที และการ ทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นิสิตพยาบาลศาสตร์มีการเห็นคุณค่าในตนเองค่อนข้างสูง (ค่าเฉลี่ย = 31.05, SD = 3.22, range = 20-39)  2. ในระหว่างการศึกษา นิสิตที่อาศัยอยู่กับ บิดามารดา ญาติ หรือบุคคลอื่นๆ มีคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองแตกต่างกัน (F = 5.51, p <.05) และเปรียบเทียบแต่ละคู่ พบว่านิสิตที่อาศัยอยู่กับบิดามารดามีคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่านิสิตที่อาศัยอยู่กับบุคคลอื่น ๆ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ  (p <. 05) ส่วนนิสิตที่อยู่ด้วยระหว่างบิดามารดากับญาติ และระหว่างญาติกับบุคคลอื่นๆ มีคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองไม่แตกต่างกัน (p > .05) 3. ปัจจัยส่วนบุคคลของนิสิต ได้แก่ เพศ ลําดับ การเกิด ชั้นปีที่ศึกษา เกรดเฉลี่ยสะสม ลักษณะครอบครัว สถานภาพสมรสของบิดามารดา อาชีพของบิดามารดารายได้ของครอบครัวและผู้ให้การเลี้ยงดู พบว่า นิสิตที่มีปัจจัยส่วนบุคคลดังกล่าวแตกต่างกันมีการเห็นคุณค่าในตนเองไม่แตกต่างกัน (p > .05) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ควรให้ความสนใจสิ่งแวดล้อมและสถานที่พักอาศัยระหว่างการศึกษาของนิสิตพยาบาลศาสตร์ เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเห็นคุณค่าในตนเอง และเมื่อนิสิตมีการเห็นคุณค่าในตนเองอย่างเหมาะสมแล้ว ก็จะส่งผลให้นิสิตได้ศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มความสามารถด้วย This descriptive study aimed to examine self-esteem of undergraduate nursing students at Burapha University. Sample included 335 undergraduate nursing students, who were willing to participate in this project, at Faculty of Nursing, Burapha University, Chonburi province, Thailand. They were studying from the 1st to the 4th year of the academic year 2007. Their mean age was 20.1 years old. Most of them were female (95.8%). Data were collected using a demographic questionnaire and the Rosenberg's Self-Esteem Scale (RSES). Chronbach alpha's coefficient of the RSES was .78. Data analyses included frequency, percent, mean, standard deviation. (-test and one-way ANOVA The results were as follows:  1. The undergraduate nursing students bad fairly high self-esteem (average = 31.05, SD = 3.22, rang = 20 - 39)  2. During period of the study, there was a significant difference among guardians who  the students lived with (F = 5.51, p < .05). When applying multiple comparison, students who lived with their own parents had self-esteem significantly higher than those who lived with other people (p <.05). students living with between parents and relatives, and relatives and other people had no difference on their self-esteem (p >.05).  3. There were no significant difference of the self-esteem (p >.05) among their demographic information of the students (gender, birth order, year of study, GPA, family type, marital status of parents, occupation of parents, family income and primary caregiver when they were young children.  These findings indicate that environments and places of living during study of the undergraduate nursing students should be paid more attention. As a result, their self-esteem will not different when they have to move out of home. In addition, they would have been studying will their optimal capability.

Downloads

Published

2021-12-16