A comparison of mother-child interaction between adolescent and adult mothes of preschoolers

เปรียบเทียบปฏิสัมพันธ์ของมารดา-บุตรก่อนวัยเรียน ระหว่างมารดาที่เป็นผู้ใหญ่และมารดาวัยรุ่น

Authors

  • รัชนีวรรณ รอส

Keywords:

วัยรุ่น

Abstract

          Two main purposes of the study were : a) to compare the mother-child interactions (maternal attachment and maternal responsivity) between adolescent (13-18 years old) and adult mothers (19-37 years old) ; and b) to examine the changes of adolescent mothers’ mother-child interactions over time (one year apart). Forty-three pairs of adolescent and adult mothers who could be matched on family structure, maternal race, and child’s gestational status were drawn from a Larger study of maternal employment and low birth weight infant outcomes.  Analysis was done using t-tests and simultaneous multiple regression. Using t-tests, results showed that adolescent mothers did not perceive more stressful attachment to their preschoolers, but were less responsive, than adult mothers. However, when controlling for other confounding factors by using multiple regression, the difference of maternal responsivity disappeared which indicated that mother-child interaction was not associated with maternal age perse. Rather, child temperament, total number of children at home, total family income, family structure, and maternal race predicted the quality of mother-child interaction. More specifically, at T1, total family income was related to maternal responsivity. Mothers from higher-income families were more responsive than those from lower-income families.  At T2, child temperament and total number of children at home were related to maternal responsivity. Mothers of more children and mothers of children with more difficult temperament were less responsive than mothers of fewer children and mothers of children with less difficult temperament. For maternal attachment at T1, child temperament and maternal race were significant predictors of such attachment. Difficult child temperament was related to stressful attachment perceived by the mother. African-American and Hispanic mothers perceived more stressful attachment to their preschoolers than Caucasian mothers. At T2, child temperament and family structure were associated with maternal attachment. Mothers from single-parent families perceived more stressful attachment to their children than mothers from two-parent families.  No change was found in maternal responsivity over time among these adolescent mothers. However, However, stressful attachment of the adolescent mothers to their preschoolers increased from T1 to T2.  วัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ 1) เปรียบเทียบปฏิสัมพันธ์ (ความผูกพันธ์และการตอบสนองต่อบุตร)  ของมารดาต่อบุตรก่อนวัยเรียนระหว่างมารดาที่เป็น ผู้ใหญ่ อายุ 19-37 ปี และมารดาวัยรุ่น 13-17 ปี และ 2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของปฏิสัมพันธ์ของ มารดาวัยรุ่นและบุตรก่อนวัยเรียนเมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี ข้อมูลที่ศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลจากงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการทํางานนอกบ้านของมารดาและบุตรที่ มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาวัยรุ่น และมารดาที่เป็นผู้ใหญ่จํานวน 43 คู่ ที่มี ลักษณะเทียบเคียงกันได้ในเรื่องของโครงสร้างของ ครอบครัวเชื้อชาติและจํานวนของเด็กที่อาศัยอยู่ใน ครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-tests และ multiple regression ผลการศึกษาพบว่า เมื่อใช้สถิติ t-tests มารดาวัยรุ่นมีการตอบสนองต่อบุตรก่อนวัยเรียน ไม่ดีเท่ามารดาที่เป็นผู้ใหญ่ ส่วนความรู้สึก ผูกพันธ์ของมารดาต่อบุตรในทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน  อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการควบคุมตัวแปร แทรกซ้อน โดยใช้สถิติ multiple regression พบว่าความผูกพันธ์และการตอบสนองต่อบุตร ของมารดาทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่า อายุของมารดาไม่ได้เป็นตัวทํานายปฏิสัมพันธ์ของมารดา และบุตรโดยตัวของมันเอง แต่พื้นฐานของอารมณ์ของเด็ก จํานวนเด็กที่อาศัยอยู่ในบ้าน รายได้ของครอบครัวโครงสร้างของครอบครัว และเชื้อชาติของมารดา เป็นตัวทํานายปฏิสัมพันธ์ดังกล่าว โดยพบว่าในปีแรกที่เก็บข้อมูล รายได้ของครอบครัวมีความสัมพันธ์ ทางบวกกับการตอบสนองของมารดาและเมื่อหนึ่งปีผ่านไป พบว่า เด็กเลี้ยงยาก (มีพื้นฐานอารมณ์ยาก) และจํานวนเด็กที่อาศัยอยู่ในบ้านมากมีความสัมพันธ์ทางลบ กับความรู้สึกผูกพันของมารดา มารดาที่มีเชื้อสาย เป็นคนผิวดําและเป็นคนเม็กซิกันมีความผูกพันกับ บุตรของตนน้อยกว่ามารดาที่เป็นคนผิวขาว นอกจากนี้มารดาที่เลี้ยงบุตรด้วยตนเองเพียงลําพังมีความรู้สึก ผูกพันกับบุตรของตนน้อยกว่ามารดาที่มีสามีช่วยเหลือ ในการเลี้ยงดูบุตร ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของปฏิสัมพันธ์ ของมารดาวัยรุ่นและบุตรก่อนวัยเรียนเมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี พบว่ามารดาวัยรุ่นไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการตอบ สนองต่อบุตรของตนเอง แต่พบว่ามารดาวัยรุ่นรู้สึก ผูกพันกับบุตรลดน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป

Published

2022-06-15