การดูแลญาติที่อยู่ในระยะสุดท้ายเพื่อช่วยให้ตายอย่างสงบตามแนววิถีไทยพุทธ

Caring for a Relative at the End of Life to Die Peacefully in the Thai Buddhist Culture

Authors

  • สิริลักษณ์ โสมานุสรณ์
  • อุไร หัถกิจ
  • กิตติกร นิลมานัต

Keywords:

ผู้ป่วยใกล้ตาย, การดูแล, ผู้ป่วย, การพยาบาลผู้ป่วย, การตาย

Abstract

          การตายอย่างสงบเป็นเป้าหมายสำคัญของการดูแลผู้ที่อยู่ในระยะสุดท้ายของคนไทยพุทธ การศึกษานี้เพื่ออธิบายการดูแลของสมาชิกในครอบครัวเพื่อช่วยให้ญาติที่อยู่ในระยะสุดท้ายตายอย่างสงบตามแนววิถีไทยพุทธ รวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณาทางการพยาบาลของไลนิงเกอร์ (Leininger, 2002) ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วยสมาชิกในครอบครัว จำนวน 16 คน จาก 7 ครอบครัว และผู้ให้ข้อมูลทั่วไปจำนวน 18 คน  ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงชาติพันธุ์วรรณาทางการพยาบาลของไลนิงเกอร์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า การดูแลเพื่อให้ผู้ที่อยู่ในระยะสุดท้ายได้ตายอย่างสงบ มี 3 ระยะ คือ การดูแลระยะสุดท้ายแบบทั่วไป การดูแลในช่วงใกล้ตายและขณะตาย และการดูแลหลังการตาย ซึ่งการดูแลเพื่อช่วยให้ผู้ที่อยู่ในระยะสุดท้ายได้ตายอย่างสงบนี้ ประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก คือ การใช้บุญหนุนนำเพื่อการตายดีและได้ไปสู่สุคติ การดูแลตามความเชื่อเรื่องกรรม การดูแลให้ผู้ที่อยู่ในระยะสุดท้ายสงบมีสติเพื่อพร้อมยอมรับต่อการตาย และการดูแลที่ยึดผู้ที่อยู่ในระยะสุดท้ายเป็นศูนย์กลางและให้ญาติร่วมดูแล บุคลากรพยาบาลและผู้ที่สนใจสามารถใช้ผลการศึกษานี้ เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลเพื่อช่วยให้ผู้ที่อยู่ในระยะสุดท้ายตายอย่างสงบตามแนววิถีไทยพุทธได้  A peaceful death is an important goal of the end-of-life care for the Thai Buddhists. This study described how the family members provided the care for the dying relatives in  order to assist them to die peacefully in the Thai Buddhist culture. Leininger’s (Leininger, 2002) ethnonursing method was used to collect the data. The key informants were sixteen family members from seven families, and eighteen general informants.  Thematic and pattern analysis according to Leininger’s ethnonursing method was used to analyse the data. The end-of-life care in this study was divided into three phases: 1) general end-of-life care, 2) near-death and the moment of death care, and 3) after death care. The four major themes of the Thai Buddhist end-of-life care were: 1) caring with merit for helping the dying persons to reach a peaceful death and going to a good realm after death; 2) caring based on the belief of Kamma; 3) caring for Sati/consciousness to be ready to face an incoming death; and 4) caring based on the dying persons centered and family participation in care. The findings of this study could be used as a guideline for nurses, and other interested people to help dying persons to rest in peace according Thai Buddhist culture.

References

พุทธทาสภิกขุ. (2548). ธรรมะสำหรับคนเจ็บไข้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2538). พุทธธรรม : ฉบับปรับปรุงและขยายความ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระไพศาล วิสาโล. (2547). ความตายในมิติทางสังคมและจิตวิญญาณ. เสขิยธรรม : ธรรมะที่ต้องศึกษา, 14(59), 33-38.

พระไพศาล วิสาโล. (2549). การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยวิถีแบบพุทธ. กรุงเทพฯ: เครือข่ายพุทธิกา.

พระไพศาล วิสาโล. (2550). (2550). คำขอที่ยิ่งใหญ่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สบายใจ.

Agrawal, M., Emanuel, E.J. (2002). Death and dignity dogma disputed. The Lancet, 30 1997-1998.

Backer, B.A., Hannon, N.R., & Russell, N.A. (1994). Death and dying: Understanding and care (2nd ed.). Albany: Delmar Publishers Inc.

Carey, B. (2001). When a “good death” isn’t for everyone. Retrieved March 30, 2009, from http://www.latimes.com/features/health/la-000067464aug20.story

Crawley, L.M., Marshall, P.A., Lo, B., & Koening, B.A. (2002). Strategies for culturally effective end-of-life care. Annuals of Internal Medicine, 136, 673-679.

Henson, M.J., Enright, R.D., Baskin, T.W., & Klatt, J. (2009). A palliative care intervention in forgiveness therapy for elderly terminally ill cancer patients. Journal of Palliative Care, 25(1), 51-60.

Downloads

Published

2021-11-17