การถอดรหัสบันทึกหลังสอนเพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนรู้วิชาการฝึกปฏิบัติการพยาบาลทารกแรกเกิด

Journal Decoded for Improving Learning Provision on Neonatal Nursing Practice

Authors

  • พัชรี วรกิจพูนผล
  • เนตรทอง นามพรม

Keywords:

บันทึกการสอน, การพยาบาลกุมารเวชศาสตร์, การศึกษาและการสอน, การพยาบาล

Abstract

          การปรับปรุงการเรียนการสอนตามผลการประเมินทุกขณะของการสอนของผู้สอนนั้น หากไม่มีการบันทึก องค์ความรู้นั้นจะยังคงอยู่ในตัวผู้สอน การบันทึกหลังสอนจะทำให้มีการคิดวิเคราะห์ ไตร่ตรองอย่างถ้วนถี่เกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาและปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพ การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในวิชาการฝึกปฏิบัติการพยาบาลเด็กทั้งในทารกแรกเกิดปกติและทารกแรกเกิดที่เจ็บป่วยด้วยการบันทึกหลังสอนและถอดรหัสบันทึกหลังสอน กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 23 คนและนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 จำนวน 21 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2551 และผู้วิจัยซึ่งเป็นอาจารย์ที่นิเทศจำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ แผนการสอนทารกแรกเกิดปกติและแผนการสอนทารกแรกเกิดที่เจ็บป่วย ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกหลังสอนและแบบสัมภาษณ์ทัศนคติต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน  ผลการวิจัยพบว่า เมื่อผู้สอนได้ประเมินการจัดการเรียนการสอนของตนเองแบบใคร่ครวญไต่ตรองผ่านการเขียนบันทึกหลังสอนแล้วมีการถอดรหัสสิ่งที่ได้บันทึกแล้วนำข้อมูลดังกล่าว มาปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการสร้างข้อสรุปจากสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวผู้เรียนและผู้สอนในหลายแง่มุม อีกทั้งยังมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ใช้ได้ผลจริงกับสถานการณ์ที่มีบริบทเฉพาะเจาะจงกับนักศึกษาพยาบาลในสถานศึกษาแห่งนี้ อันจะนำไปสู่การปรับปรุงแผนการสอนในปีการศึกษาต่อไปช่วยทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นำไปสู่การเป็นนักปฏิบัติมืออาชีพและองค์กรแห่งการเรียนรู้ในที่สุด   Instructors regularly improve their learning provision after each teaching assessment, however, without any records, such knowledge is kept to themselves. Journal helps the instructors to analyze and scrutinize thoroughly their lesson plans or learning provisions to enhance students’ learning, develop and improve their work efficiency. The objective of this action research was to study and develop learning provision plans of Neonatal Nursing Practice course for both normal and high-risk newborns through journal decoded. The sample of this study comprised 23 junior and 21 senior nursing students who enrolled in the first semester of academic year 2008, and two teachers who were the researchers as well. The instruments implemented in the research were lesson plans for normal and high-risk newborns, and ones for data collection were a journal form, and a questionnaire of the nursing students’ attitudes towards learning.  The results of the study showed that upon thorough self-assessment of lesson provision plans through journal decoded, and continuous improvement of lesson provisions, the instructors could make an exclusive summary based on the students and the instructors in many perspectives, and had guidelines to practical problem-solving in a specific situation for nursing students in this institute, thus leading to the improvement of lesson plans for the next academic year, and enabling the instructors to work more efficiently and, eventually, to bring about professional practitioners and learning-based organization.

References

นทัต อัศภาภรณ์. (2545). รายงานการวิจัยเรื่องการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนวิชางานบ้าน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุบผา อนันต์สุชาติกุล, สามารถ ศรีจำนง, เสานิตย์ เจริญชัย, ศรีวิไล พลมณี และชรินทร์ มั่งคั่ง. (2549). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ การพัฒนากระบวนการคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ : ร่วมสาระจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. เชียงใหม่ : เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.

บุบผา อนันต์สุชาติกุล. (2551). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา เรื่อง การปฎิรูปการเรียนรู้ : การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551. ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปภัสสร ผลเพิ่ม. (2546). รายงานการวิจัยเรื่องการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน วิชาการพัฒนาหลักสูตรคหกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พัชรี วรกิจพูนผล. เนตรทองนามพรม และอมรรัตน์ งามสวย. (2549). ผลการใช้บทเรียนการดูแลเด็กเพื่อเตรียมความพร้อมนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 9(1), 85-97.

Coghlan, D., & Brannick, T. (2001). Doing action research in your own organization. London: Sage.

Freeman, M. (2001). Reflective logs : An aid to clinical teaching and learning. International Journal of Language & Communication Disorders, Supplement, 36, 411-416.

Hammersley, M. (1993). Educational research : Current issues. London : Paul Chapman.

Hillier, Y. (2002). Reflective teaching in further and adult education. London : Continuum.

Kolb, D.A. (1984). Experimental learning: Experience as the source of learning and development. New Jersey : Prentice-Hill.

Downloads

Published

2022-09-09