ความต้องการการพยาบาลและการพยาบาลที่ได้รับของสมาชิกครอบครัวขณะรอผู้ป่วยผ่าตัดใหญ่

Nursing Care Needs and Received Care of Family’s Members of Patients having Major Surgery during the Intraoperative Period

Authors

  • สมพร แจ้วจิรา
  • วัลภา คุณทรงเกียรติ
  • ภาวนา กีรติยุตวงศ์

Keywords:

การพยาบาล, บริการการพยาบาล, พยาบาลกับผู้ป่วย, ผ่าตัดใหญ่

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา เพื่อศึกษาความต้องการการพยาบาล และการพยาบาลที่ได้รับของสมาชิกครอบครัวขณะรอผู้ป่วยผ่าตัดใหญ่ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช  องค์ที่ 17 จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 274 ราย คัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามความต้องการการพยาบาลและการพยาบาลที่ได้รับ ซึ่งผู้วิจัยประยุกต์ใช้ตามแนวคิดความต้องการของสมาชิกครอบครัวของกาลิโอเน (Gaglione, 1984) ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความต้องการการพยาบาล เท่ากับ.86 และแบบสอบถามการพยาบาลที่ได้รับเท่ากับ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย paired t-test  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้  1) คะแนนความต้องการการพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 62.6, SD = 4.52) เมื่อวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยรายด้านพบว่า ด้านข้อมูลข่าวสาร (ค่าเฉลี่ย = 32.2, SD = 3.17) ด้านร่างกาย (ค่าเฉลี่ย = 5.7, SD = 0.77) ด้านอารมณ์ (ค่าเฉลี่ย = 17.3, SD = 1.50) และด้านจิตวิญญาณ (ค่าเฉลี่ย = 7.4, SD = 1.13) มีคะแนนเฉลี่ยแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก  2)  คะแนนการพยาบาลที่ได้รับโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 50.8, SD = 5.09) เมื่อวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยรายด้านพบว่า ด้านข้อมูลข่าวสาร (ค่าเฉลี่ย = 26.1, SD = 2.75) ด้านร่างกาย (ค่าเฉลี่ย = 4.90, SD = 0.65) ด้านอารมณ์ (ค่าเฉลี่ย = 14.1, SD = 1.57) และด้านจิตวิญญาณ (ค่าเฉลี่ย = 5.7, SD = 1.20) มีคะแนนเฉลี่ยในระดับปานกลาง 3) การเปรียบเทียบความต้องการการพยาบาลและการพยาบาลที่ได้รับ พบว่า ความต้องการการพยาบาล และการพยาบาลที่ได้รับ โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 45.10, p < .001) ส่วนรายด้านพบว่า ด้านข้อมูลข่าวสารมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 32.49, p < .001) ด้านร่างกายมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 13.4, p < .001) ด้านอารมณ์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 31.43, p <.001) และด้านจิตวิญญาณมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 24.27, p < .001) โดยพบว่า ค่าเฉลี่ยความต้องการการพยาบาลมากกว่าการพยาบาลที่ได้รับทุกด้าน  The purpose of this descriptive research was to study nursing care needs and received care of family’s members of patients having major surgery during the intraoperative period. The samples consisted of 274 families who were on the day of major surgery at Somdejprasang care needs and received care were developed based on Gaglione theory (1984), and the internal consistency were .86 and .89, respectively. Data were analyzed by paired t-test.  The results were as follows:  1)  The overall nursing care needs score was at the high level (average = 62.6, SD = 4.52), informational need score was at the high level (average = 32.2, SD = 3.17), physiological need score wat at the high level (average = 5.7, SD = 0.77), emotional need score was at the high level (average = 17.3, SD = 1.50), and spiritual need score was at the high level (average = 7.4, SD = 1.13).  2)  The overall received care score was at the moderate level (average = 50.8, SD = 5.09), informational need score was at the moderate level (average = 26.1, SD = 2.75), physiological need score was at the moderate level (average = 4.9, SD = 0.65), emotional need score was at the moderate level (average = 14.1, SD = 1.57), and spiritual need score was at the moderate level (average = 5.7, SD = 1.20).  3)  Paired t-test showed a statistically significant difference between overall nursing care needs score and received care score (t = 45.1, p < .001) informational nursing need (t = 32.49, p < .001), physiological nursing need (t = 13.41, p < .001), emotional nursing need (t = 31.43, p <.001), and spiritual nursing need (t = 24.27, p < .001) Mean score of all nursing care needs were higher than received care.  The results provide evidences to improve quality of care for family’s members of patients having major surgery during the intraoperative period focusing on informational, physiological, emotional and spiritual nursing.

References

จุฑามาศ วงศ์นันตา. (2547). การรับรู้ความไม่แน่นอนในการเจ็บป่วย บุคลิกภาพที่เข้มแข็ง แรงสนับสนุนทางสังคม และการเผชิญความเครียดของญาติผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดใหญ่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาการปรึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จุฑารัตน์ สว่างชัย. (2542). ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของคู่สมรสของผู้ป่วยก่อนผ่าตัดเต้านม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลอายุรศาสตร์ และศัลยศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธิติมา วทานียเวช. (2540). ความต้องการของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตตามการรับรู้ของตนเองและของพยาบาล. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญใจ ศรีสถิตนรากุล. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัทยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย จำกัด.

วงรัตน์ ใสสุข. (2544). ความต้องการทางด้านจิตวิญญาณและการปฏิบัติเพื่อการตอบสนองความต้องการทางด้านจิตวิญญาณของญาติผู้ป่วยวิฤกต. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Aquilera, D.C. (1989). Crisis intervention. In L. M. Birckhead (Ed.), Psychiatric/mental health nursing : The therapeutic use of self (pp.229-250). Philadelphia: J.B. Lippincott.

Astedt-Kurki, P. Lehti, K., Paunonen, M., & Paavilainen, E. (1999) Family member as a hospital patient: Sentiments and functioning of the family. International Journal of Nursing Practice, 5, 155-163.

Bluhm, J. (1987). Helping families in crisis hold on. Nursing, 87, 44-46.

Carmody, S., Hickey, P., & Bockbinber, M. (1991). Perioperative needs of families. AORN Journal, 54(3), 561-567.

Cunningham, M.F., Hanson-Heath, C., & Agre, P. (2003). A perioperative nurse liaison program: CNS intervention for cancer patients and their families. Journal of Nursing Care Quality, 18(1), 16-21.

Downloads

Published

2022-09-09