ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลทารกแรกเกิดป่วยกับคุณภาพการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ปกครอง

Relationships between Parent Participation to Care for Sick Newborn and Quality of Nursing Care as Perceived by the Parent

Authors

  • ไพเราะ เทพมาลาพันธ์ศิริ
  • นุจรี ไชยมงคล
  • ยุนี พงศ์จตุรวิทย์

Keywords:

ทารกแรกเกิด, การดูแลทารกแรกเกิด, การดูแล, การมีส่วนร่วมของบิดามารดา, การพยาบาล

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่งการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลทารกแรกเกิดป่วยกับคุณภาพการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองซึ่งเป็นผู้ดูแลหลักของทารกที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วย โรงพยาบาลชลบุรี จังหวัดชลบุรี จำนวน 60 คน ระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน 2553 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ปกครองและทารกแรกเกิดป่วย แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลทารกแรกเกิดป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและแบบสอบถามคุณภาพการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ปกครอง แบบสอบถาม 2 ชุดหลังมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และ 0.83 ตามลำดับ และมีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .90 และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัยและสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลทารกแรกเกิดป่วยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 53.10 (SD = 13.58, range 29-79) และคุณภาพการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ปกครองมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 144.17 (SD = 20.70, range 80-180) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลทารกแรกเกิดป่วยมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับคุณภาพการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ปกครองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .431, p < .01) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล และด้านการตัดสินใจมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับคุณภาพการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .440, p < .001 และ r = .403, p <.01 ตามลำดับ) ด้านกิจกรรมที่ทำประจำมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .255, p < .05) ส่วนด้านกิจกรรมการพยาบาล มีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05)  ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและคุณภาพการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ปกครองซึ่งพยาบาลโดยเฉพาะพยาบาลเด็กควรส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม โดยเฉพาะด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล และด้านการตัดสินใจให้มากขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครองรับรู้คุณภาพการพยาบาลเพิ่มขึ้น    The purpose of this research was to examine the relationships between parent participation to care for lick newborn and quality of nursing care as perceived by the parent. Purposive sample consisted of 60 parents who were primary caregivers of the sick newborns admitted in the Sick Newborn Care Unit at Chonburi hospital, Chon Buri province during March to April, 2010. Research instruments included the parent’s and the sick Newborn’s Demographic Questionnaires, the Parental Actual Participation Scale and the Nursing Care Quality as Perceived by the Parent Questionnaire. Content validity index (CVI) of the Parental Actual Participation Scale was 1.00, and the Nursing Care Quality Questionnaire was 0.83. Cronbach’s alpha coefficients of the Parent Participation Scale and the Nursing Care Quality Questionnaire were .90 and .95, respectively. Data were analyzed by using frequencies, percents, means, standard deviations, ranges and Pearson’s product moment correlation.  The study results revealed that mean score of parent participation was 53.10 (SD = 13.58, range = 29-79), and mean score of quality of nursing care as perceived by the parent was 144.17 (SD = 20.70, range = 80-180). Relationships between parent participation to care for sick newborn and quality of nursing care as perceived by the parent was positively significant (r= .431, p < .01). Subscales of parent participation of information sharing, decision making and routine care were positively significantly correlated to the quality of nursing care (r = .440, p < .001, r = .403, p < .01 and r = .255, p < .05, respectively). However, the subscale of nursing activities and the quality of nursing care was not correlated (p > .05).  This findings suggest that nurse, especially pediatric nurse, should promote parent participation in information sharing and decision making, and that could lead to increase quality of nursing care as perceived by the parent.

References

จรัสศรี หินศิลป์. (2549). การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยงสูง.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์ และรัตนาวดี ชอนตะวัน (2549). แบบสอบถามคุณภาพการพยาบาลสำหรับผู้ป่วย. เชียงใหม่ : ม.ป.ป.

ณิชกานต์ ไชยชนะ. (2545). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังขณะรับการรักษาในโรงพยาบาล. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฐิกา ปฐมอารีย์. (2551). การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดในหออภิบาลทารกแรกเกิด. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิศมัย บั้งเงิน. (2550). คุณภาพการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavior sciences (2nd ed). Hillsdale NJ : Lawrence Erlbaum.

Evan, M. A. (1994). An investigation into the feasibility of parental participation in the nursing care of their children. Journal of Advanced Nursing, 20, 477-482.

Galvin, E., Boyers, L., Schwartz, P.K., Jones, M.W., Mooney, P., Warwick, J., & Davis, J. (2000). Challenging the precepts of family-centered care : Testing a philosophy. Pediatric Nursing, 26 (6), 625-635.

Leinonen, T., Leino-Kilpi, H., Stahlberg, M.R., & Lertola, K. (2001). The quality of perioperative care : Development of a tool for the perceptions of patients. Journal of Advanced Nursing, 35 (2), 294-306.

Newton, M.S. (2000). Family-centered care : Current realities in parent participation. Pediatric Nursing, 26, 164-168.

Downloads

Published

2022-09-09