ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการปรับตัวของเด็กวัยก่อนเรียนที่รับบริการในศูนย์เลี้ยงเด็กกลางวัน

Predictors of Adaptive Behavior of Preschoolers Receiving Service in Child Daycare Center

Authors

  • นาตยา แสงใส
  • นุจรี ไชยมงคล
  • มณีรัตน์ ภาคธูป

Keywords:

การปรับตัว(จิตวิทยา), เด็กวัยก่อนเข้าเรียน, จิตวิทยาเด็ก

Abstract

          การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการปรับตัวของเด็กวัยก่อนเรียน ได้แก่ เพศของเด็กลักษณะพื้นฐานทางอารมณ์ สภาพแวดล้อมที่บ้าน ลักษณะครอบครัว รายได้ครอบครัว และระดับการศึกษาของมารดา กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เป็นมารดาของเด็กวัยก่อนเรียนที่นำบุตรมารับบริการในศูนย์เลี้ยงเด็กกลางวันสังกัดกองทัพเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จำนวน 126 คน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนมีนาคม 2553 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 4 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของมารดาและบุตร 2) แบบสังเกตสภาพแวดล้อมที่บ้าน 3) แบบสอบถามลักษณะพื้นฐานทางอารมณ์ และ 4) แบบสอบถามพฤติกรรมการปรับตัวของเด็กวัยก่อนเรียน ค่าดัชนีความตรงเนื้อหา (Content validity; CVI) ของแบบสอบถามชุดที่ 2-4 ได้เท่ากับ .83, .83 และ 1.00 ตามลำดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามชุดที่ 2 และ 4 มีค่าคูเดอร์ริชาร์ดสัน 20 (KR-20) เท่ากับ .81 และ .83 และแบบสอบถามชุดที่ 3 มีค่าแอลฟ่าของครอนบาค (α) เท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลโดย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ      ผลการวิจัยพบว่า เด็กวัยก่อนเรียนที่มารับบริการในศูนย์เลี้ยงเด็กกลางวัน มีคะแนนพฤติกรรมการปรับตัวเฉลี่ยเท่ากับ 37.40 (SD = .42, range 21-45) ลักษณะพื้นฐานทางอารมณ์ เพศ และสภาพแวดล้อมที่บ้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .287, p <. 01, r = .239, p < .01 และ r = .152, p < .05 ตามลำดับ) โดยเด็กผู้หญิงปรับตัวได้ดีกว่าเด็กผู้ชาย ลักษณะครอบครัว รายได้ครอบครัว และระดับการศึกษาของมารดาไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปรับตัวของเด็กวัยก่อนเรียน (p > .05) ปัจจัยที่ดีที่สุดในการทำนายพฤติกรรมการปรับตัวของเด็กวัยก่อนเรียนคือ สภาพแวดล้อมที่บ้าน (β = .258; t = 3.015, p < .05) และรองลงมาคือ เพศของเด็ก (หญิง) (β = .201; t = 2.352, p < .05) ซึ่งตัวทำนายทั้งสองนี้สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการปรับตัวของเด็กวัยก่อนเรียนได้ร้อยละ 12.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 8.545, p < .001)  ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมที่บ้านและเพศของเด็ก เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อพฤติกรรมการปรับตัวของเด็กวัยก่อนเรียนที่เข้ามารับบริการในศูนย์เลี้ยงเด็กกลางวัน นอกจากนี้พยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลเด็กขั้นสูง หรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการดูแลเด็กยังสามารถนำผลการวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมและสนับสนุนมารดาในการเลี้ยงดูบุตรก่อนวัยเรียนให้มีพฤติกรรมการปรับตัวที่เหมาะสมให้ดียิ่งขึ้นต่อไป  The purpose of this predictive correlational research was to determine predictors of adaptive behavior of preschoolers, including child gender, temperament, home environment, family type, family income and mother’s education. Simple random sampling was used to recruit sample. The sample consisted of 126 mothers of preschoolers who brought their children to receive service at child daycare centers, which belonged to the Royal Thai Navy in Amphur Sattahip, Chon Buri province. Data were collected during February to March 2010. Research instruments included 4 measures; 1) the demographic questionnaire, 2) the Home Observation for the Measurement of Environment (HOME) Inventory, 3) the child temperament questionnaire, and 4) the preschooler’s adaptive behavior questionnaire. Content Validity Index (CVI) of the 2-4 scales were .83, .83, and 1.00, respectively. Kuder-Richadson (KR-20) was used to examine reliability of the HOME and the preschooler’s adaptive behavior questionnaire; and there were .81, and .83, respectively. Chronbach’s alpha coefficient (α) of the child temperament questionnaire was .80. Data were analyzed by using frequencies, percents, means, standard deviations, ranges, Pearson’s correlation and multiple regression analyses.  Results revealed that mean score of adaptive behavior of preschoolers receiving service in child daycare was 37.40 (SD = .42, range 21-45). Child temperament, sex and home environment were positively correlated to adaptive behavior of the preschoolers (r = .287, p <. 01, r = .239, p < .01 and r = .152, p < .05 respectively). Girls had significantly better adaptive behavior than boys, Family type, family income and educational level of mother were not significantly correlated (p >.05) The best and significant predictor of the preschooler’s adaptive behavior was the home environment (β = .258; t = 3.015, p < .05) and the second best was child gender (girl) (β = .201; t = 2.352, p < .05). The two predictors accounted for 12.2 % of variance (F 2,123 = 8.545, p < .001) in the prediction.  These findings suggest that home environment and child gender are important factors influencing on preschooler’s adaptive behavior receiving service in child daycare center. In addition, Pediatric Advanced Practice Nurses (P-APN) and other child health care providers could develop an intervention program based on these results to promote and enhance child raring of mothers with preschoolers to have more appropriate child adaptive behavior in the later life.

References

คำพวง ห่อทอง. (2548). การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมการเล่นของบิดามารดาและพฤติกรรมการปรับตัวของเด็กปฐมวัย ในเขตกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จารุณี ป้องพาล. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการส่งเสริมการเล่นของบิดาและมารดาและพฤติกรรมการปรับตัวของเด็กปฐมวัย : การศึกษาความแตกต่างระหว่างเพศ, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จิตินันท์ เตชะคุปต์. (2547). สภาพแวดล้อมของครอบครัว. ใน ภัทรา สง่า (บรรณาธิการ). สถานภาพครอบครัวศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอกสารหาดใหญ่.

พิศสมัย อรทัย. (2540). การสร้างแบบวัดพฤติกรรมการปรับตัวสำหรับเด็กปฐมวัยในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ลดาวัลย์ ประทีปชัยกูร. (2543). การพยาบาลเพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย. สงขลา : อัลลายด์เพรส.

Bowden, V.R., & Greenberg, C.S. (2008). Pediatric nursing procedures (2nd ed.). Philadelphia: Lippincott, Williams & Wilkins.

Bradley, R.H., & Caldwell, B.M. (1979). Home observation for the measurement of the environment: A revision of the preschool scale. American Journal of Mental Deficiency, 84, 235-244.

Caldwell, B.M., Bradley, R.H. (1984). Home observation for the measurement of the environment. Little Rock: University of Arkansas, Center for Child Development and Education.

Harrison, P.L. (1987). Vineland adaptive behavior scales, classroom edition manual. Circle Pines, MN: American Guidance Service.

Mercer, J.R. (1978). Adaptive behavior inventory for children interview’s manual. New York: The Psychological Corporation.

Downloads

Published

2021-11-17