ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยหลังได้รับการวินิจฉัยภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

Factors related to Blood Pressure Control Among Post Diagnosed Transient Ischemic Attack (TIA) Patients

Authors

  • วิราวรรณ จันทมูล
  • อาภรณ์ ดีนาน
  • กนกนุช ชื่นเลิศสกุล

Keywords:

ความดันเลือด, หลอดเลือดสมอง, โรคสมอง, การบริหารความเครียด

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยภายหลังมีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวจำนวน 197 คน ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช และสถาบันประสาทวิทยา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปแบบสัมภาษณ์การรับรู้เกี่ยวกับภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการรับประทานอาหารเฉพาะโรค แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการออกกำลังกาย แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการจัดการกับความเครียด แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการควบคุมปัจจัยเสี่ยง แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการรับประทานยาและการมาตรวจตามนัด เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 ถึงเดือนมีนาคม 2551 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน  ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุระหว่าง 60-69 ปี (M = 60.07, SD = 10.07) เป็นเพศชาย ร้อยละ 62.4 มีการศึกษาในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 44.2 และประกอบอาชีพรับจ้างร้อยละ 36.0 ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ร้อยละ 73.1 มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กิโลกรม/เมตร2  ร้อยละ 49.7 มีระยะเวลาที่เป็นภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวระหว่าง 3-24 เดือน (M = 15.54, SD = 13.48) เกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวครั้งแรกร้อยละ 73.1 ระยะเวลาที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงน้อยกว่า 5 ปี (M = 3.91, SD = 1.81) ยาที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ใช้ยายับยั้งการสร้างแองจิโอเทนซิน ทู ร้อยละ 83.2 ใช้กลุ่มยาต้านการแข็งตัวของเกร็ดเลือดกลุ่มแอสไพรินร้อยละ 96.0 และใช้ยาลดไขมันในเส้นเลือดร้อยละ 85.8  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวได้แก่ การออกกำลังกาย (r8 = .153, p < .031) ส่วนการรับรู้เกี่ยวกับภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว การรับประทานอาหารเฉพาะโรค การควบคุมปัจจัยเสี่ยง การจัดการความเครียด การรับประทานยาและการมาตรวจตามนัดพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว จากผลการวิจัยนี้ ควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างถูกต้อง และควรศึกษาวิจัยเปรียบเทียบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมความดันโลหิตระหว่างผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดชั่วคราวกลุ่มที่ควบคุมความดันโลหิตได้และกลุ่มที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ต่อไป  This descriptive research aimed to study factors related to blood pressure control among post diagnosed transient ischemic attack (TIA) patients. A sample of 197 TIA patients at out patient department (OPD) of Ayutthaya Hospital, Chaoprayayomrat Hospital, and Neurological Institute was recruited. TIA patients were interviewed by demographic, TIA perception, diet control, risk factor control, stress management, and medication adherence and follow up questionnaires. Data were analyzed using descriptive statistics and Spearman’s Rank Correlation Coefficients.  The results showed that  1) Majority was males (62.4 %), age averaged 60.07 (SD = 10.07), graduated  elementary school level (44.2 %), labor (36.0 %), body mass index (BMI) over 25 kg/m2 (49.7%), duration of post diagnosed TIN 3-24 months (M = 15.54, SD = 13.48), first time of TIA 73.1 %, duration of post diagnosed hypertension less than 5 years (M = 3.91, SD = 1.81). Current medication taking included Angiotensin II blocker (83.2 %), ASA (96.0 %), and Statin (85.5 %).  2)  Only exercise was significantly related to blood pressure control (r8 = .153, p < .031). Perception to transient ischemic attack, diet control, risk factor control, stress management, medication adherence, and follow up were not significantly related to blood pressure control.  Based on research results, Health care providers should promote exercise to help patients control their blood pressure. Furthermore, factors related to blood pressure control of post diagnosed TIA patients between controllable and uncontrollable groups should be deeply explored.

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2544). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก กระทรวงสาธารณสุข. (2547). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2547. Retrieved January 13, 2006, from http://www.moph.go.th.

จิรวรรณ ชัยวิศิษฏ์. (2547). แบบแผนชีวิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปราณี มิ่งขวัญ. (2542). ความเครียดและการเผชิญความเครียดในผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รจนาไฉน สิงหะเรศ. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอในผู้ป่วยวัณโรค. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา

วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์. (2548). ประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้วิธีกำกับตนเองในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวและสมองขาดเลือดไม่รุนแรง. ดุษฎีนิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

American Stroke Association. (2003). What is stroke?. Retrieved May 18, 2003, from http://www.strokeassociation.org.

American Stroke Association. (2006). Guidelines for prevention of stroke in patients with ischemic stroke or transient ischemic attack. Retrieved May 18, 2003, from http://www.strokeassociation.org.

Bader, M. K., & Littlejohns, L. R., (Ed.). (2004). AANN core curriculum for neuroscience nursing (4th ed.). Philadelphia: Saunders.

Hankey, G.J. (2001). Management of the first-time transient ischemic attack. Emergency Medicine (Fremantle, WA), 13, 1, 70-80

Johnston, S.C., Fayad, P. B., Gorelick, P. B., Hanley, D. F., Shwayder, P., van Husen D., & Weiskopf, T. (2003). Prevalence and knowledge of transient ischemic attack among US adult. Neurology, 60, 1429-1434.

Downloads

Published

2021-11-17