ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก

Factors related to Family Participation in Caring of Critically III Patients Admitted in the Intensive Care Unit

Authors

  • รัชนี หลงสวาสดิ์
  • สุภาภรณ์ ด้วงแพง
  • เขมารดี มาสิงบุญ

Keywords:

การดูแลผู้ป่วยหนัก, การดูแลผู้ป่วย, การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต, การพยาบาลผู้ป่วย

Abstract

          มาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักกลุ่มตัวอย่างได้แก่ สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยวิกฤต จำนวน 100 คน ที่เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดในขณะที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม 2551 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยวิกฤตและสมาชิกในครอบครัวผู่ป่วยวิกฤต แบบวัดความรุนแรงของการเจ็บป่วยวิกฤต แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต แบบสอบถามความต้องการของครอบครัวในการมีส่วนร่วมในการดูแลแบบสอบถามการเปิดโอกาสให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลของผู้ป่วยวิกฤตที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก ได้แก่ ความต้องการของครอบครัวในการมีส่วนร่วมในการดูแล (r = .746, p = .01) และการเปิดโอกาสให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล (r = .404, p = .01) ส่วนความรุนแรงของการเจ็บป่วยพบว่าไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก (p < .05)  ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า พยาบาลควรเปิดโอกาสให้ครอบครัวได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตและสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลต่อไป  This descriptive research was designed to study the factors related to family participation in caring critically illed patients admitted in the intensive care unit or ICU. The samples were 100 medical and surgical patient’s families, who were admitted in ICU of Somdejphrapudthalertlar Hospital during January to March, 2008. The instruments were the patient and the patient’s family demographic, severity of illness measure, the family participation in caring of the patients, the need for providing in caring of the patients, and the providing opportunity of family in caring of the patients questionnaires. Data were analyzed by using descriptive statistic and Pearson’s correlation coefficient.  The results of the study showed that the severity of the illness was not related to the participation in caring of critically ill patients (p > .05). Need for participation in caring and the providing opportunity of family in caring of the patients were related to the participation in caring of patients (r = .746, p = .01; r = .404, p = .01).  This finding suggested that nurse should provide opportunity for family participation in caring of criticaily ill patients. It also can be used to be a basic knowledge for conducting the research related to family participation in caring of the patients.

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ช่อลดา พันธุเสนา. (2536). การพยาบาลจิตสังคมในผู้ป่วยภาวะวิกฤตตามแบบแผนสุขภาพ. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ.

จริยา ตันติธรรม. (2547). การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นิติบรรณาการ.

จุฑามาศ ปัจจะวิสุทธิ์, สุภาภรณ์ ด้วงแพง, สมพร ศิริเต็มสกุล และวิไลวรรณ เนื่อง ณ สุวรรณ. (2536).ความต้องการของญาติผู้ป่วยในภาวะวิกฤต. ขอนแก่นเวชสาร, 17(2), 33-43.

จุฬาลักษณ์ ลิ่มลือชา. (2547). ปัจจัยพื้นฐานความรุนแรงของการบาดเจ็บ และความวิตกกังวลของผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรตามการรับรู้ของผู้บาดเจ็บและพยาบาล. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ACCCN. (2002). Competency standards for specialty critical care nurse (2nd ed.). Melbourne: ACCCN.

American Association of Critical-Care Nurses. (1996). Scope of practice for nursing care of the critically ill patient and family working draft. Aliso Viejo, CA: Author

Alspach, J.G. (1990). Critical care nursing in the 21st Century. Critical Care Nurse, 10(9). 8-16.

Astedt-Kurki, P., Paavilainen, E., Tammentie, T., & Paunonen-Ilmonen. M. (2001). Interaction between family member and health care providers in an acute care setting in Finland. Journal of Family Nursing, 7(4), 371-390.

Asworth, P.D., Longmate, M.A., & Marrison, P. (1992). Patient participation : Its meaning and significance in the context of caring. Journal of Advanced Nursing, 17(12), 1430.

Downloads

Published

2021-11-17