ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยต้อหินโรงพยาบาลสมุทรปราการ

Effects of the Educative-supportive Program on Self-care Behaviors in Persons with Glaucoma at Samutprakarn Hospital

Authors

  • โสภาพรรณ จั่นเพ็ชร์
  • ดาริณี สุวภาพ
  • มนสภรณ์ วิทูรเมธา

Keywords:

ต้อหิน, ผู้ป่วย, การดูแลผู้ป่วย, การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยต้อหิน โรงพยาบาลสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากจักษุแพทย์ครั้งแรกว่าเป็นโรคต้อหินเรื้อรังชนิดปฐมภูมิมุมเปิด มารับการตรวจที่ห้องตรวจตางานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมุทรปราการ จำนวน 54 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 27 ราย โดยกลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนเป็นรายบุคคล ตามทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็มในส่วนของระบบสนับสนุนและให้ความรู้จำนวน 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 เรื่องพยาธิสภาพของโรคต้อหิน การปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองด้านการใช้ยา และด้านการมาตรวจตามนัด ครั้งที่ 2 ด้านการสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ และด้านการป้องกันอันตรายจากภาวะสายตาเลือนรางครั้งที่ 3 ด้านอาหาร และด้านการพักผ่อน ครั้งที่ 4 ทบทวนทุกด้าน โดยใช้วิธีการสอน การชี้แนะ ให้คำปรึกษา และการสนับสนุน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติจากทางโรงพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ซึ่งประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยต้อหิน ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟ่า เท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบใช้ independent t-test  ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) เนื่องจากโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนช่วยทำให้ผู้ป่วยต้อหินมีความสามารถในการดูแลตนเอง และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้น ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพบริการของหน่วยงานและช่วยให้ผู้ป่วยต้อหินสามารถดูแลตนเองได้  The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effects of the educative-supportive program on self-care behaviors in persons with glaucoma at Samutprakarn hospital. 54 newly diagnosed primary open-angle glaucoma patients, who attended the outpatient eye clinic of Samutprakarn hospital were recruited for this study. The subjects were assigned into two groups. The experimental group consisted of 27 subjects who received the educative-supportive individual program for 4 times. The first is about pathogenesis of glaucoma, self-care behaviors in pharmacological and appointment, the second is about self-care behaviors in observation systemic disorder and protection from low vision, the third is about self-care behaviors in nutrition and relaxation, the last is review overall. The educative-supportive program used by teaching, guiding, and supporting. The control group consisted of 27 subjects who received a usual care as provided by the staff nurses. The subjects were interviewed before and after the intervention by using the demographic data and self-care behaviors questionnaires. Cronbach’s alpha coefficient of self-care behaviors questionnaire was .81. Data were analyzed by using percentage, means, standard deviation and independent t-test.    The finding of this study showed that after the program, average self-care behaviors scores of the experimental group were significantly higher than the control group (p < .001). The program helped the patients accomplished self-care agency and increased self-care behaviors. The result of the study was useful to improve quality of care among glaucoma patients.

Downloads

Published

2021-11-17