ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายรำไม้พลองป้าบุญมีแบบประยุกต์ร่วมกับทฤษฎีความสามารถตนเองต่อภาวะซึมเศร้าและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา

Effectiveness of an Applied Boonmee Long-Stick Danced Exercise Program with Self-Efficacy Theory on Depression and Physical Fitness for Older Adults in Nursing Home

Authors

  • ศิวนารถ จารุพันธ์
  • รวีวรรณ เผ่ากัณหา
  • รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์
  • นัยนา พิพัฒน์วณิชชา

Keywords:

การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ, การออกกำลังกาย, การรำกระบอง, ความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ, สมรรถภาพทางกาย

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายรำไม้พลองป้าบุญมี แบบประยุกต์ร่วมกับทฤษฎีความสามารถตนเอง ต่อภาวะซึมเศร้าและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านลพบุรี จังหวัดลพบุรีเป็นกลุ่มทดลอง และสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว จังหวัดนครสวรรค์เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความซึมเศร้าของผู้สูงอายุ และแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (independent t-test)  ผลการวิจัยสรุปได้ว่า  1)  ผู้สูงอายกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้า ในระยะหลังการทดลองต่ำกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = -19.323).  2) ผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสมรรถภาพทางกาย ในระยะหลังการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = -10.782)  3)  ผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าต่ำกว่าผู้สูงอายุกลุ่มควบคุมหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = -18.905)  4)  ผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายสูงกว่าผู้สูงอายุกลุ่มควบคุมหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ .001 (t = -5.107)  ผลการวิจัยนี้ ควรนำโปรแกรมการออกกำลังกายรำไม้พลองป้าบุญมีแบบประยุกต์ ไปใช้ในสถานสงเคราะห์คนชรา เพื่อลดภาวะซึมเศร้าและเพิ่มสรรถภาพทางกาย  The objective of this research was to the study the effectiveness of an applied Boonmee long-stick danced exercise program with self-efficacy theory on depression and physical fitness. The sample was devided into two groups. The experimental group was the older adults in nursing home at Ban Lopburee, Lopburee province and the control group was the older adults in Ban Kao Bo Kaew, Nakornsawan province. The sample size size of 20 older adults per nursing home was selected by using simple random sampling technique. The research instruments were the Thai Geriatric Depression Scale and physical fitness test. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, and independent t-test.  The results of this research were as follows :  1)  Mean score of depression scale of the experimental group at posttest was Statistically significant less than at pretest (t = -19.323, p < .001).  2)  Mean score of physical fitness test of the experimental group at posttest was statistically significant more than at pretest (t = -10.782, p < .001).  3)  Mean score of depression scale of the experiment group was statistically significant less than that of the control group (t = -18.905, p < .001).  4)  Mean score of physical fitness test of the experiment group was statistically Signify-cant more than that of the control group (t = 5.107, p < .001).  It is recommended that this applied Boonmee long-stick danced exercise program should be provided for the older adults in nursing home for depression reduction and physical fitness enhancement.

References

กรมประชาสงเคราะห์. (2550). ผลการสำรวจจำนวนผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.

กองวิทยาศาสตร์การกีฬา ฝ่ายวิทยาศาสตรการกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2546). แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายอย่างง่าย. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

ถนอมขวัญ ทวีบูรณ์. (2541). ผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างไรดี. วารสารพยาบาล, 47, 246-268.

นิพนธ์ พวงวรินทร์. (2537). แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย. สารศิริราช, 46(1), 1-9.

เนตรนภา จัตุรงค์แสง. (2540). การเปรียบเทียบอัตมโนทัศน์และความซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ภายในและภายนอกสถานสงเคราะห์คนชรา. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

American College of Sport Medicine. (1995). Guidelines for exercise testing and prescription. Baltimore: Williams and Wikins.

Bandura, A. (1977). Social learning theory. Englewood Cliffs, NJ.: Prentice Hall.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy : The exercise of control. New York: W.H. Freeman and Company.

Blazer, D.G. (1982). Depression in late life. London: The C.V. Mosby.

Brannon, L., & Feist, J. (1997). Health psychology : An introduction to behavior and health. California : Brooks & Cole.

Downloads

Published

2022-09-09