โปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ ต่อความรู้ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

Effects of a Supportive-Educative Nursing Program on Knowledge, Self-Care Agency in Patients with Chronic Kidney Disease Treated with Hemodialysis

Authors

  • พัชริน แน่นหนา

Keywords:

พยาบาลกับผู้ป่วย, การพยาบาล, การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง, ไตวายเรื้อรัง, ผู้ป่วย, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

Abstract

          การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ ต่อความรู้ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โดยใช้แนวคิดทฤษฏีระบบการพยาบาลของโอเร็ม (Orem, 1995) เป็นกรอบแนวคิดในการออกแบบโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ณ หน่วยไตเทียมศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 40 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ประกอบด้วย 1) แผนการสอน และ 2) คู่มือการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และเครื่องที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสัมภาษณ์ความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วย และแบบสัมภาษณ์ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วย แบบสัมภาษณ์ความรู้ในการดูแลตนเอง มีค่าความเที่ยงของ คูเดอร์-ริชาร์ดสัน (KR-20) เท่ากับ .80 ส่วนแบบสัมภาษณ์ความสามารถในการดูแลตนเอง มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบที่ (t-test)  ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ในการดูแลตนเองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความสามารถในการดูแลตนเองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้ปฏิบัติงานด้านการให้การดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมควรนำโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้มาใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยในหน่วยไตเทียมของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา  The purpose of a quasi-experimental research was to study the effects of a supportive nursing program on knowledge, self-care agency in patients with chronic kidney disease treated with hemodialysis. Orem’s theory of nursing system was used as a conceptual framework. A purposive samples were patients with chronic kidney disease treated with hemodialysis recruited from hemodialysis unit at Health Science Center, Burapha University. The samples of 40 patients were randomly assigned as experimental group and control group, 20 patients each. The experimental group received the supportive-educative nursing program while the control group received the usual nursing care of the Health Science Center. The research instruments consisted of supportive-educative nursing program including 1) Lesson plan, 2) Self care manual, and collecting data sheet including 1) Demographic sheet 2) Self-care knowledge test, and Self-care agency test. Descriptive statistics and t-test were used in data analysis.  Results showed that mean knowledge on self-care scores in the experimental group was significantly higher than the control group at the .05 level. But mean self-care agency scores was not difference in the control group and the experimental group. This findings suggest that nurses should continue using supportive-educative nursing program to promote effectiveness of caring patients with chronic kidney disease at the hemodialysis unit of Health Science Center, Burapha University.

References

เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พลศิลป์, สุขฤทัย เลขยานนท์ และคณะอนุกรรมการ TRT 2008-2010. (2553). สถานการณ์การบำบัดรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย. ใน สมชาย เอี่ยมอ่อง, ขจร ตีรณธนากุล. ปวีณา สุสัณฐิตพงษ์, เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์, ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์ และเกรียง ตั้งสง่า (บรรณาธิการ). Textbook of Hemodialysis. นครปฐม : เอ ไอ พริ้นติ้ง.

ทรงขวัญ ศิลารักษ์. (2545). การดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยไตวายที่ได้รับการรักษาด้วยการทำ Dialysis. วารสารสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย, 8 (2), 250-261.

ทวี ศิริวงศ์. (2546). การล้างไตในยุค พรบ. หลักประกันสุขภาพ. ขอนแก่น : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประคอง อินทรสมบัติ. (2539). การดูแลตนเองในผู้ป่วยเรื้อรัง. ใน สมจิต หนุเจริญกุล (บรรณาธิการ), การดูแลตนเอง : ศาสตร์และศิลปะทางการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วี.เจ พริ้นติ้ง.

พัชริน แน่นหนา. (2551). ผลของโปรแกรมการพยาบาลตามรูปแบบความเชื่อความเจ็บป่วยต่อความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและครอบครัว. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Beare, P.G., & Myer, J.L. (1990). Principle and practice of adult health nursing. St. Louise : The C.V. Mosby.

Bevan, M.T. (2000). Dialysis as ‘dues ex machina’: A critical analysis of hemodialysis Journal of Advanced Nursing, 31(2), 437-443.

Curtin, R.B., & Mapes, D. L. (2001). Health care management strategies of long-term dialysis survivor. Journal of Nephrology Nursing, 28(4), 385-392.

Eliot, T. S. (2005). Mortality and treatment modality of end stage renal disease. American College of Physicans, 143(3), 229-231.

Klang, B., Bjorvell, H., Berglund, J., Sundstedt, C., & Clyne, N. (1998). Predialysis patient education : Effects on functioning and well-being in uremic patients. Journal of Advanced Nursing, 28(1), 36-44.

Downloads

Published

2021-11-17