ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองด้วยข้อมูลทางคลินิกต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

Effect of Self-Regulation with Clinical Information Program on Eating Behavior and Blood Sugar Level among Uncontrolled Diabetic Patients

Authors

  • สุรีพร แสงสุวรรณ
  • วรรณิภา อัศวชัยสุวิกรม
  • พรนภา หอมสินธุ์

Keywords:

การรับประทานอาหาร, การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง, ผู้ป่วยเบาหวาน, น้ำตาลในเลือด

Abstract

  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการรับประทานอาหารและระดับน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดแดง (HbA1C) ระหว่างผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับและไม่ได้รับโปรแกรมการกำกับตนเองด้วยข้อมูลทางคลิกนิก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มารับบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนจอหอได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2  รักษาด้วยการรับประทานยามากกว่า 3 เดือน มีค่าน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดแดง มากกว่าหรือเท่ากับ 7 สุ่มตัวอย่างโดยจับฉลากรายชื่อทั้ง 6 หมู่บ้านตามสัดส่วนรวม 60 คน เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการกำกับตนเองด้วยข้อมูลทางคลินิก ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยประยุกต์ทฤษฎีการกำกับตนเอง (self-regulation) เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์วัดพฤติกรรมการรับประทานอาหารซึ่งวิเคราะห์ความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .75 และเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดแดงวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ วิเคราะห์พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และระดับน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดแดง ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ independent t-test  ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการรับประทานอาหารดีกว่า กลุ่มควบคุมและเมื่อเปรียบเทียบระดับน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดแดงพบว่า กลุ่มทดลอง มีระดับน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดแดงลดลงกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นการพยาบาลชุมชน ควรประยุกต์ใช้โปรแกรมการกำกับตนเองด้วยข้อมูลทางคลินิกกับผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 1 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อการดูแลตนเองที่ดี   The purpose of this quasi-experimental study was to compare eating behavior and hemoglobin A1C (HbA1C) between uncontrolled diabetic patients who received the self-regulation with clinical information program and those who did not. Sample included the patients at Cho Ho Primary Care Unit (PCU) who were diagnosed type-2 diabetes, treated by hypoglycemic agent more than 3 months and had HbA1C level of 7 or higher. The sample were randomly selected with the proportional sampling technique using patient names from 6 villages in Cho Ho municipal area. Among all 60 patients selected as the sample of the study, thirty patients were randomly assigned to an experimental group while the rest was assigned to a control group. The experimental group received the self-regulation program adapted from Banduras Self-Regulation Theory by the researcher. Data regarding patients eating behaviors were collected using a questionnaire with a Cronbach’s alpha coefficient of .75 and HbA1C was also examined. Gerneral characteristic data were analyzed by using frequency and percentage. Eating behavior and HbA1C level among the experimental and control groups were analyzed by using means, standard deviations, and independent t-test.  The results showed that eating behavior among patients from the experimental group were significantly better than those from the control group (p < .05). When comparing the differences in HbA1C levels, it was found that patients from the experimental group had a significantly greater decrease in HbA1C levels than those from the control group (p < .05). It is suggested that community health nurse should applied self-regulation with clinical information program to type 1 diabetic patients for good self-care.

References

งานเวชระเบียนและสถิติ ศูนย์สุขภาพชุมชนจอหอ. (2549-2552). แบบสรุปรายงานโรคไม่ติดต่อศูนย์สุขภาพชุมชนจอหอ.

จิตติมา จรูณสิทธิ์. (2545). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวาน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทพ มิหะทองคำ และคณะ (2548). ความรู้เรื่องเบาหวานฉบับสมบูรณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 3 ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: จูนพับลิชชิ่ง.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 10). นนทบุรี : เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูล. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ยู แอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.

ประเด็นรณรงค์เบาหวานโลก. (2552). วันที่ค้นข้อมูล 14 สิงหาคม 2552, เข้าถึงได้จาก http://www.cco.moph.go.th/diabetes/dm.html

วรรณี นิธิยานันท์, สาธิต วรรณแสง, และชัยชาญ ดีโรจนวงศ์. (2550). สถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : วิวัฒน์การพิมพ์.

สมพร สาตแสงธรรม. (2548). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสุขศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Bandura, A.J. (1986). Social foundation of thought and action : A social cognitive theory. New Jersy : Prentice Hall.

Clark, N. M., Janz, N.K., Dodge, J.A., & Sharpe, P.A. (1992). Self-regulation health behavior : The “take PRIDE” program. Retrieved August 17, 2004/, from http ://www.Ncbi.nlm.nih.gov.

Downloads

Published

2021-11-17