ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารเฉพาะโรคและระดับความดันโลหิตในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ

Effects of Eating Behavior Promotion Program on Eating Behavior and Blood Pressure Level in Older Adults with Essential Hypertension

Authors

  • สไบทิพย์ เชื้อเอี่ยม
  • วารี กังใจ
  • รวีวรรณ เผ่ากัณหา
  • นัยนา พิพัฒน์วณิชชา

Keywords:

การรับประทานอาหาร, บริโภคนิสัย, การส่งเสริมสุขภาพ, ความดันเลือดสูง, ผู้สูงอายุ, สุขภาพและอนามัย.

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารเฉพาะโรคและระดับความดันโลหิตในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่ กำหนด จำนวน 60 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามโปรแกรมที่กำหนด ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูล 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารเฉพาะโรค ซึ่งมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .92 และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .80 และเครื่องวัดความดันโลหิตแบบปรอทวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทที่หนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้  มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลอง ทั้งคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารเฉพาะโรค (F1,58 = 164.78, p < .05) ค่าเฉลี่ยของระดับความดันซีสโตลิค (F1,58 = 23.20, p < .05) และความดันไดแอสโตลิค (F1,58 = 10.13, p < .05) นอกจากนี้พบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารเฉพาะโรค ค่าเฉลี่ยของระดับความดันซีสโตลิค และระดับความดันไดแอสโตลิค หลังการทดลอง และระยะติดตามผล ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)  การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมบริโภคอาหารเฉพาะโรคสามารถทำให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงที่เหมาะสมและต่อเนื่อง ส่งผลให้ระดับความดันโลหิตทั้งความดันซีสโตลิคและความดันไดแอสโตลิคลดลง จึงควรส่งเสริมให้มีการนำโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารเฉพาะโรคไปใช้  The purpose of this quasi-experimental research was to study the effects of eating behavior promotion program on eating behavior and blood pressure level in older adults with essential hypertension. The sample was 60 older adults with essential hypertension from out-patient department in Banpong hospital, Ratchaburi Province. Thirty older adults were simple randomly selected to be experimental group, and 30 in comparative group. The experimental group received the eating behavior promotion program, whereas the comparative group received only usual care. Assessment at 3 time (pre-program, post-program and follow up) was done by using the eating behavior of essential hypertension older adults questionnaire and mercury sphygmomanometer. The content validity of the scale was. 92, Cronbach’s alpha coefficients was .80. The collected data were analyzed by descriptive statistics and repeated measure analysis of variance: between-subject variable and within-subject variable. The study indicated the following findings  The interaction of method and time on mean score of eating behavior (F1,58 = 164.78, p < .05), mean of systolic blood pressure (F1,58 = 23.20, p < .05) and diastolic blood pressure  (F1,58 = 10.13, p < .05). There was significantly differences for pre-test, post-test and follow-up score between experimental and comparative group at .05 level.  The study shows that the eating behavior promotion program can promote eating behavior of older adults with essential hypertension and reduce both systolic and diastolic blood pressure. This program should be continued.

References

กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา. (2549). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงโดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2549). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2549. วันที่ค้นข้อมูล 4 ธันวาคม 2551, เข้าถึงได้จาก http:www.moph.go.th

กลุ่มงานเวชระเบียน โรงพยาบาลบ้านโป่ง. (2551). สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลบ้านโป่ง. ม.ป.ท.

กลุ่มฟื้นฟูสมรรถภาพสมอง. (2537). แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุไทย. สารศิริราช, 46 (1), 1-9.

ธนิกานต์ เขื่อนดิน. (2545). สุขภาพจิตของผู้มีภาวะความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Cakir, H., & Pinar, R. (2006). Randomized controlled trial on lifestyle modification in hypertensive patients. Western Journal of Nursing Research, 28 (2), 190-209.

Chobanian, A. V., Bakris, G. L., & Black, H. R. (2003). The seventh report of the joint nation committee on prevention, detection, evaluation, and treatment of high blood pressure. American Medical Association, 289 (19), 2560-2572.

Funk, K. L., Elmer, P. J., Stevens, V. J., Harsha, D. W., Craddick, S. R., & Lin, P., et al. (2008). PREMIER A Trial of lifestyle intervention for blood pressure control: Intervention design and rationale. Health Promotion Practice, 9 (3), 271-280.

Jitapunkul, S., Lamolratanakul, P., Chandraprasert, S., & Bunnag, S. (1994). Disability among Thai elderly living in Klong Toey slum. Journal of the Medical Association of Thailand, 77 (5), 231-238.

Linton, A. D., & Lach, H. W. (2007). Gerontological nursing: Concepts and practice (3rd ed.). USA: Saunders Elsevier.

Downloads

Published

2021-11-17