การกระตุ้นการไหลเวียนกลับของเลือดดำด้วยการกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าและการใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะ

Stimulation of the Venous Blood Flow by Foot Reflexology and Intermittent Pneumatic Calf Compression

Authors

  • สุพัตรา อุปนิสากร
  • ประณีต ส่งวัฒนา

Keywords:

การไหลเวียนเลือด, การนวดเท้า, การกดจุด

Abstract

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรม เกี่ยวกับผลของการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าและการใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะต่อการกระตุ้นการไหลเวียนเลือดกลับของเลือดดำ โดยวิเคราะห์ถึงข้อดี ข้อด้อยของวิธีการดังกล่าว และการนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ โดยเฉพาะในผู้ป่วยวิกฤต ผลการศึกษาพบว่า การนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้ามีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะ และมีข้อดีคือเป็นการให้การดูแลที่เน้นการสัมผัสด้วยมือ ส่งผลในทางบวกต่อจิตใจของผู้ป่วยให้เกิดการผ่อนคลาย ช่วยลดความวิตกกังวล โดยไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นใด และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น  This article aimed to review the literature about method and effect of foot reflexology and Intermittent Pneumatic Calf Compression (IPC) to stimulate the venous blood flow. The advantages and disadvantages of the methods and its application on caring for patients with high risk of venous thromboembolism especially in critically ill patients were presented. The findings showed that the reflexology was more effective than IPC. Moreover, the procedure of reflexology has gained benefits in terms of providing patients positive psychological responses, relaxation, reduced anxiety, and low cost without any equipment requirement.

References

กัญจนา ดีวิเศษ. (2544). คู่มืออบรมการนวดไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพ: สามเจริญพาณิชย์.

จุมพล วิลาศรัศมี. (2550). ตำราโรคหลอดเลือดดำ. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.

นงลักษณ์ พรหมติงการ, ฉวีวรรณ ธงชัย, และ พิกุล นันทชัยพันธ์. (2546). การนวดเท้าต่อการลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม. พยาบาลสาร, 30(3), 39-49.

บังอร ชมเดช (2541). สรีรวิทยาของการไหลเวียนเวียน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประมุข มุทิรางกูร. (2543). หลอดเลือดดำขาอุดตัน (Deep Vein Thrombosis). ใน สุณีรัตน์ คงเสรีพงศ์, และสุชัย เจริญรัตนกุล (บรรณาธิการ), เวชบำบัดวิกฤต 2000 เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2, หน้า 368-417). กรุงเทพ : เรือนแก้วการพิมพ์.

Cohen, A. T., Tapson, V. F., Bergmann, J. F., Goldhaber, S. Z., Kakkar, A. K., Deslandes, B., & et al. (2008). Venous thromboembolism risk and prophylaxis in the acute hospital care setting. Lancet, 371, 387-394.

Galili, O., Mannheim, D., Rapaport, S., & Karmeli, R. (2007). A novel intermittent mechanical compression device for stasis prevention in the lower limbs during limited mobility situations. Thrombosis Research, 121 (1), 37-41.

Imberti, D., & Ageno, W. (2005). A survey of thromboprophylaxis management in patients with major trauma. Pathophysiology of Haemostasis and Thrombosis, 34, 249-254.

Kakkos, S. M., Griffin, M., Geroulakos, G., & Nicolaides, A. N. (2005). The efficacy of a new portable sequential compression device (SCD Express) in preventing venous stasis. Journal of Vascular Surgery, 42, 296-303

MacLellan, D. G., & Fletcher, J. P. (2007). Mechanical compression in the prophylaxis of venous thromboembolism. ANZ Journal of Surgery, 77, 418-423.

Downloads

Published

2021-11-17