ความคิดเห็นต่อการใช้แผนผังมโนทัศน์ในการวางแผนการพยาบาลของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
The Nursing Student’s Opinions of Concept Mapping in Nursing Care Plan, Faculty of Nursing, Burapha University
Keywords:
แผนที่ความคิด, ความคิดและการคิด, การพยาบาลAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยาย (descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาต่อการใช้แผนผังมโนทัศน์ในการวางแผนการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพรายวิชา 103305 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 2 จำนวน 152 คน โดย ใช้วิธีการเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มตามสะดวก (convenience sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นของนิสิตต่อการใช้แผนผังมโนทัศน์ในการวางแผนพยาบาล ซึ่งนำไปหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบราคได้เท่ากับ .86 และแบบสอบถามคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับประโยชน์ของการใช้แผนผังมโนทัศน์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการใช้แผนผังมโนทัศน์ในการวางแผนการพยาบาล แยกตามรายด้าน 4 ด้านดังนี้ 1. ด้านทักษะ กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าการใช้แผนผังมโนทัศน์ในการวางแผนการพยาบาล ช่วยพัฒนาทักษะในระดับมาก ทั้งทักษะด้านการคิด (mean = 4.29, SD = .63) การเขียน (mean = 4.11, SD = .74) และการพูด (mean = 4.30, SD = .66) 2. ด้านการใช้เวลาอ่านหนังสือเพื่อเขียนแผนผังมโนทัศน์ กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าการวางแผนการพยาบาลโดยใช้แผนผังมโนทัศน์ใช้เวลามากในการอ่านหนังสือในระดับมาก (mean = 3.92, SD = .90) 3. ด้านความยากง่ายในการเขียนแผนผังมโนทัศน์ กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าการเขียนรายงาน การวางแผนการพยาบาลโดยใช้แผนผังมโนทัศน์มีความยากในระดับปานกลาง (mean = 3.23, SD = 1.11) 1. ด้านการนำไปใช้ในการวางแผนการพยาบาลครั้งต่อไป กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็น็น็นว่าต้องการให้มีการใช้แผนผังมโนทัศน์ในการวางแผนการพยาบาลในรายวิชานี้และรายวิชาอื่นๆ ต่อไปในระดับมาก (mean = 4.18, SD = .77) จากการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าการใช้แผนผังมโนทัศน์ในการวางแผนการพยาบาลมีประโยชน์ ดังนี้ 1) มีคำสำคัญหลัก จัดเป็นหมวดหมู่ และเข้าใจง่าย 2) มีการเชื่อมโยงความคิด เข้าใจความสัมพันธ์ มองปัญหาอย่างเป็นองค์รวม และ 3) เกิดความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการผู้วิจัยให้ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้ คือ ควรสนับสนุนให้มีการใช้แผนผังมโนทัศน์ในการวางแผนการพยาบาล เพื่อให้นิสิตเกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านการคิด การเขียนและการพูดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดให้มีการฝึกเขียนรายงาน การวางแผนการพยาบาลโดยใช้แผนผังมโนทัศน์อย่างเป็นลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน เพื่อให้นิสิตเกิดความรู้และความเข้าใจ ลดความยากในการเขียนรายงานการวางแผนการพยาบาล และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการวางแผนการพยาบาลในสถานการณ์จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนนำผลการวิจัยเป็นข้อมูล เพื่อการวิจัยถึงประสิทธิภาพของการใช้แผนผังมโนทัศน์ในการวางแผนการพยาบาลต่อไป This research is a descriptive research. The purpose of this study was to explore the opinions of nursing students studying at Faculty of Nursing, Burapha University, Thailand toward employing concept mapping in nursing care plan. The sampling was a group of 152 third-year nursing students enrolled in subject entitled “Practicum of Adult Nursing II”. The research instruments included the questionnaire asking about students’ opinions about concept mapping in nursing care plan. It showed good reliability with Cronbach’s alpha coefficient of .86. Open questions were also asked to explore nursing students about the benefit of concept mapping. Descriptive statistics and content analysis were employed to analyze the data. The results showed that 1. The concept mapping encouraged the nursing students to develop 3 skills Enormously : 1) thinking skills (mean = 4.29, SD = .63) 2) Writing skills (mean = 4.11, SD = .74) and 3) speaking skills (mean = 4.30, SD = .66) 2. The students took much more time to read for writing the concept mapping (mean = 3.92, SD = .90) 3. The writing of concept mapping was difficult moderately (mean = 3.23, SD = 1.11) 4. The students supported to use of concept mapping in nursing care plan in this Subject and others (mean = 4.18, SD = .77) The results from content analysis showed that the concept mapping have benefit 1) Have a key word, group of concept, and easy to understand 2) Can connect the thinking, understand the relations between problems and enhance holistic view of the patient’s problems and 3) encourage the creativity Based on the findings from this study, it is recommended that for next time, the nursing instructors should enhance nursing students’ knowledge toward applying concept mapping in nursing care plan for develop thinking, writing and speaking skill. They should introduce and instruct nursing students step by step in order to adapt and utilize the concept mapping model into their nursing care plan effectively and apply to research in the future for effective of concept mapping in nursing care plan.References
ตวงรัตน์ ศรีวงคล จิราภรณ์ หนูสวัสดิ์ และ อินทิรา รอบรู้. (2551). การเรียนการสอนโดยใช้ผังมโนทัศน์ (concept mapping) เป็นเครื่องมือพัฒนาศักยภาพทางปัญญา. วารสารสารสนเทศ, 9(2), 31-40.
พัชรี วรกิจพูนผล นันทา เลียววิริยะกิจ อมรรัตน์ งามสวย ฐิติมา สุขเลิศตระกูล ปริศนา สุนทรไชย อุษณีย์ จินตะเวช และคณะ. (2552). ความพึงพอใจและความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการใช้ผังความคิดในการเรียนการสอน. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 2(2), 1-4.
พรรณี ปานเทวัญ นงพิมล นิมิตอานันท์ และอารีย์ เสนีย์. (2547). การจัดการเรียนรู้แบบแผนภูมิมโนทัศน์ในวิชาปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น. เวชสารแพทย์ทหารบก, 57(4), 253-261.
วนิช สุธารัตน์. (2547). ความคิดและความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สุรีริยาสาส์น.
วิจิตรา กุสุมภ์. (2552). การวางแผนการพยาบาล การปฏิบัติตามแผนและการประเมินผลในวิจิตรา กุสุมภ์ (บรรณาธิการ), บระบวนการพยาบาลและข้อวินิจฉัยการพยาบาล : การนำไปใช้ในคลินิก (หน้า 79-88). กรุงเทพฯ: บริษัท บพิธการพิมพ์.
Alfaro-LeFevre, R. (1998). Applying nursing process: A step-by-step guide (4th ed.). Philadelphia: Lippincott.
Alfaro-LeFevre, R. (2003). Critical thinking in nursing (3rd ed.). Philadelphia : W.B. Saunders.
Gul, R.B., & Boman, J.A. (2006). Concept mapping : A strategy for teaching and evaluation in nursing education. Nurse Education in Practice, 6(4), 199-206.
Hsu, L., & Hsieh, S. (2005). Concept maps as an assessment tool in a nursing course. Journal of Professional Nursing, 21(3), 141-149.
Mueller, A., Johnston, M., & Bligh, D. (2002). Mind-mapped care plans : A remarkable alternative to traditional nursing care plans. Nurse Educator, 26(2), 75-80.