การพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กกำพร้าด้วยการให้คำปรึกาากลุ่มตามทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญา

The Development of Social Skills in Orphan by the Cognitive Behavior Group Counseling

Authors

  • กองคำ สุระเสียง
  • ระพินทร์ ฉายวิมล
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล

Keywords:

ทักษะทางสังคม, ทักษะทางสังคมในเด็ก, การให้คำปรึกษา, เด็กกำพร้า, การปรับพฤติกรรมเด็กกำพร้า

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทักษะทางสังคมของเด็กกำพร้าด้วยการให้การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กกำพร้าตอนต้น อายุ 12-15 ปี ในมูลนิธิสงเคราะห์เด็กพัทยา ที่มีคะแนนทักษะทางสังคมต่ำกว่าเปอร์เซนต์ไทล์ที่ 25 ลงมา สุ่มอย่างง่ายจำนวน 28 คน หลังจากนั้นทำการสุ่มเพื่อเข้ากลุ่ม 2 กลุ่ม ได้กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดทักษะทางสังคมของริกจิโอ (Riggio, 1986) และโปรแกรมการให้การปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญา ผู้วิจัยดำเนินการทดลองการให้การปรึกษากลุ่มจำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง 30 นาที โดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองสองตัวประกอบแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวประกอบ แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีนิวแมน – คูลส์  ผลการศึกษาพบว่า เด็กกำพร้าที่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญา มีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะทางสังคมแตกต่างจากเด็กกำพร้ากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเด็กกำพร้าที่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญามีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะทางสังคมในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลแตกต่างจากระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ผลการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นอีกหนทางสำหรับเจ้าหน้าที่ ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องในการให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาเด็ก ทั้งสำหรับเด็กกำพร้าหรือเด็กในหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทำให้เกิดทางเลือกเพิ่มขึ้นในการเพิ่มทักษะทางสังคมแก่เด็กกำพร้าและเด็กวัยรุ่น  This research aimed to study of the development of social skills in orphans by using the cognitive behavior group counseling. The sample composed of twenty-eight orphans, with the aged between 12-15 years old in Pattaya who had score social skills lower than 25th percentile. The randomization sampling method was used to assign sample into two groups : an experimental group and a control group, with fourteen orphans in each. The instruments used in this research were Riggio’s social skills test (1988) and the cognitive behavior group counseling program. The intervention was administered for 10 sessions. Each session lasted about one hour and thirty minutes. The research design was two-factor experimental with repeated measures on one factor. The study was divided into 3 phases : the pre-test phase, the post-test phase, and the follow-up phase. The data were analyzed by repeated measure analysis of variance : one between-subject variable and one within-subjects variable and were the test for pair differences among mean by the Newman-Keuls Process.  The results revealed that the levels of social skills in the experimental and the control groups were significant interaction at .05 (F.05 = 4.05) level when measured in the post-test and the follow-up phases. The levels of social skills in the experimental group in the post-test and the follow up phases were significant by interaction at. .05 (F.05 = 3.37) level from these in the pre-test phase.  The finding can be used by staff, teacher, and the relevant support for counseling on child development, in orphans or children in public and private institutions to increase more options of orphans and teenagers social skills.

References

กิติพร เอื้อวิศวกุล. (2550). ผลการใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ของเด็กกำพร้าในสถานสงเคราะห์เด็กบ้านมิตรภาพ. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสารคาม.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551). “ทักษะทางสังคม” ใครว่าไม่สำคัญ. นิตยสารการศึกษาวันนี้, รับวันที่ 12 เมษายน 2552, จาก http://www.kriengsak.com/components/content/print.php?id_content_category_main=2

ธิดา จับจิตต์. (2547). ผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาที่มีต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้มารับบริการคลินิกอดบุหรี่ โรงพยาบาลธัญบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิไลพร ปัญญา. (2548). การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 โรงเรียนพณิชยการกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา, บัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Corey, G. (2008). Theory and practice of counseling and psychotherapy. Belmont, CA : Thomson Brooks/Cole.

Corey, G. (2009). Theory and practice of counseling and psychotherapy. Belmont, CA : Thomson Brooks/Cole.

Howell, D.C. (2007). Fundamental statistic for the behavioral science (6th ed.). Belmont, CA : Thomson Wadsworth.

Riggio, R.E. (1989). Social skills inventory. U.S.A : Consulting Psychologions. Press.

Winner, B.J., Brown, D.R., & Michels, K.M. (1991). Statistical principles in experimental design (3rd ed.). New York : McGraw-Hill.

Downloads

Published

2021-09-22