ผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง กองทัพอากาศ

Effects of the Protection Motivation Theory Application Program on Health Promotion Behaviors among Hypertensive Risk Group, Royal Thai Air Force

Authors

  • บุญชู เหลิมทอง
  • ทัศนีย์ รวิวรกุล
  • สุวัฒน์ ศรีสรฉัตร

Keywords:

การส่งเสริมสุขภาพ, การจูงใจ(จิตวิทยา), ความดันเลือดสูง. การป้องกันและควบคุมความดันเลือดสูง

Abstract

          การศึกษาแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถถุประสงค์เพื่อทดสอบผลการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค ต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงกองทัพอากาศ กลุ่มตัวอย่างมีทั้งสิ้น 60 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คน ตามเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมตามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นทั้งหมด 3 ครั้ง เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ประกอบด้วย การให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง ฝึกทักษะการเลือกรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และ การผ่อนคลายความเครียด การบันทึกในคู่มือสุขภาพ ในสัปดาห์ที่ 6 ผู้วิจัยโทรศัพท์ติดตามการปฏิบัติและให้คำปรึกษา เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และแจกแผ่นพับ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อมีผลเลือดผิดปกติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามก่อนการทดลอง และหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, และ t-test  ผลการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยงความคาดหวังในความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฎิบัติ ความตั้งใจในการปฏิบัติพฤติกรรม และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ดีกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า โปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค ส่งผลให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง กองทัพอากาศมีพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงที่ดีขึ้น นอกจากนั้น โปรแกรมนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับข้าราชการและลูกจ้างทหารอากาศกลุ่มเสี่ยงหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้ต่อไป  The objective of this quasi-experimental study was to examine effects of the protection motivation theory application program on health promotion behavior in hypertensive risk group, Royal Thai Air Force. Sixty participants were equally assigned into two groups, an experimental group and a comparison group. The experimental group received the 3-weekly sessions of the intervention program whereas the comparison received a health education session regarding abnormal blood chemical result. The intervention program included information regarding the health effects from prolonged high blood pressure, practice selecting healthy food for practice, performing preferred exercises and relaxation. Commitment to practice was monitored by using a weekly self-recorded and giving feedback by the investigator to empower participants’ confidence to perform their selected health promotion behavior. At the sixth week of the intervention, the researcher made a telephone call to follow up and advice as necessary to promote health promotion behavior. Data collection was done at pre-test, at the fourth week, and at the eight week of the intervention. Descriptive statistics, mean, standard deviation, Chi-square, t-test, and paired t-test were employed for data analysis  Results indicated that the experimental group had higher mean score perceived severity, susceptibility, response efficacy, self-efficacy, protection motivation, and prevention behaviors than those at pre-test and those in the comparison group (p < .05). The protection motivation theory application programs could promote hypertension preventive behaviors in hypertensive risk group, Royal Thai Air Force. This program could be applied to officers and employees, in other division of Royal Thai Air Force, to promote hypertension preventive behaviors.

References

จิตชนก หัสดี. (2541). การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค ร่วมกับแนวคิดในการสร้างพลังในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มนายทหารชั้นประทวนกรมพลาธิการทหารบก จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์), สาขาวิชาเอกสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

เตือนใจ หมวกแก้ว. (2540). การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มนายทหารชั้นประทวน จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์), สาขาวิชาเอกสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

แผนกอนามัยกองเวชศาสตร์ป้องกัน. (2552). รายงานสถิติประจำปี. กรุงเทพมหานคร: แผนกอนามัยกองเวชศาสตร์ป้องกันกรมแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ.

พานทิพย์ แสงประเสริฐ. (2550). ความดันโลหิตสูงและการออกกำลังกาย : บทบาทของพยาบาล. วารสารพยาบาล, 56(1-2), 10-22.

ไพบูลย์ จาตุรปัญญา. (2545). ความดันเลือดสูง : วิถีชีวิตใหม่คุมความดันด้วยตนเอง. กรุงเทพมหานคร : รวมทรรศน์.

พรเลิศ ชุมชัย. (2549). พยาบาลสาธารณสุขกับการสร้างเสริมสุขภาพแบบยั่งยืน. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 20(3), 81-93.

Carino, J.L., Coke, L., & Gulanick, M. (2004). Using motivational interviewing to reduce diabetes risk. Progress in Cardiovascular Nursing, 19(4), 149-154.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. New York : Lawrence Erlbaum Associates.

Conner, M. (2008). Initiation and maintenance of health behaviors. Applied Psychology : An International Review, 57(1), 42-50.

Joint National Committee (2003). The seventh report of the Joint National Committee on prevention, detection, evaluation, and treatment of high blood pressure : JNC 7 report. Journal of the American Medical Association, 289, 2560-2572.

Mackay, B.C. (1992). Aids and protective motivation theory (PMT) : Effect of imagined scenarios on intention to use condom. UMI Dissertation Service Printers.

Plotnikoff, R., & Higginbotham, N. (2002). Protection motivation theory and exercise behavior change for the prevention of coronary heart disease in a high-risk, Australian representative community sample of adults. Psychology, Health & Medicine, 7(1), 87-98.

Downloads

Published

2021-09-22