การพัฒนาระบบการพยาบาลเพื่อป้องกันและดูแลพนักงานโรคหูเสื่อมจากเสียงดังในโรงงานอุตสาหกรรม

Nursing System Development for Noise-induced Hearing Loss Prevention in the Factories

Authors

  • จันทร์ทิพย์ อินทวงศ์
  • สุนทร เหรียญภูมิการกิจ
  • เกษสุดา คำแก้ว
  • อภิรัตน์ รัตนแมด
  • วรรณา แก่นทอง

Keywords:

หูหนวก, การพยาบาล, การพยาบาลอาชีวอนามัย

Abstract

          การศึกษาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการพยาบาลเพื่อป้องกันและดูแลพนักงานโรคหูเสื่อมจากเสียงดังจากการทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานในโรงงาน 3 แห่ง ในเขต อ.เมือง จ.ระยอง จำนวน 165 คน เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปหินแกรนิต 1 แห่ง และอุตสาหกรรมยางพารา 2 แห่งดำเนินการ 2 ระยะ ระหว่างเดือนมกราคม – ตุลาคม 2552 คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาระบบการพยาบาลโดยการทบทวนรูปแบบการพยาบาลเพื่อการป้องกันและดูแลพนักงานโรคหูเสื่อมจากเสียงดัง และบูรณาการแนวคิดสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา แนวคิดการปฏิบัติพยาบาลอาชีวอนามัยพบว่า ประกอบด้วย 1) ด้านองค์ความรู้ ได้แก่ การปฏิบัติการพยาบาลอาชีวอนามัยรูปแบบการสร้างสุขภาพและป้องกันโรคหูเสื่อมจากเสียงดัง การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน 2) ด้านนโยบาย ได้แก่ โรงงานกำหนดนโยบายและสนับสนุนงบประมาณต่อเนื่อง ร่วมวิเคราะห์ วางแผน แก้ไขปัญหาและประเมินผล และ 3) ด้านเครือข่าย ได้แก่ โรงงานมีคณะกรรมการอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม อาสาสมัครสาธารณสุขในโรงงานเชื่อมโยงกับโรงพยาบาล มีทีมดูแลผู้ป่วย (Patient Care Team : PCT) หู คอ จมูก ทีมแพทย์ พยาบาล อาชีวอนามัย และระยะที่ 2 ศึกษาผลของระบบการพยาบาลเพื่อการป้องกันและดูแลพนักงานโรคหูเสื่อมจากเสียงดังในโรงงานอุตสาหกรรม ด้วยกระบวนการกลุ่มแบบมีส่วนร่วม พบว่า ผลของการเชื่อมโยงระบบการพยาบาลสู่การจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และดูแลรักษาพนักงานโรคหูเสื่อมจากเสียงดังพบว่า หลังดำเนินการ ในโรงงานมีรูปแบบการดำเนินงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการป้องกันและดูแลโรคหูเสื่อมจากเสียงดังที่ได้มาตรฐานมากขึ้นไม่พบอัตราอุบัติการณ์โรคหูเสื่อมจากเสียงดัง ทั้งก่อนและหลังการดำเนินการ ส่วนอัตราอุบัติการณ์ของ standard threshold shift หลังดำเนินการพบร้อยละ 9.7 การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าควรมีการสนับสนุนและพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมทั้งทีมอาชีวอนามัยในโรงงานและทีมบุคลากรจากโรงพยาบาล  The purpose of this action research was to develop a nursing system for Noise-Induced Hearing Loss (HIHL) prevention in the factory. The subjects consisted of 165 workers in one granite-processing factory and two natural rubber factories in Muang District, Rayong province. This study consisted of 2 phases, the first : nursing system development by reviewing nursing model of NIHL prevention in the factory integrated with occupational health nursing concepts and the Triangle of Development Concepts ; the second : study the effects of those nursing system by group participation. The study was conducted between January-October 2009. The result revealed that the nursing system for NIHL prevention development consists of 4 dimensions. The first was knowledge dimension such as occupational health nursing, health promotion and prevention, and audiometry. The second dimension was policy : factory policy, and budget support, analyzing, planning, problem solving and group evaluation. The third dimension was net-working such as safety, occupational and environmental committee, health volunteer in factory to linkage with patient care team (PCT) and occupational health nurse in hospital. After implementing, the factories had a good safety and occupational health service to prevent noise-induced hearing loss, and after implementing the incident of noise-induced hearing loss was 0 %. The incident of standard threshold shift was 9.7 %. This study suggests that the continuous support and development in those nursing system and emphasis on group participation including occupational health within factory and the health care team from the hospital.

References

กระทรวงแรงงาน. (2549). กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2549. สืบค้นวันที่ 12 มกราคม 2553, เข้าถึงจาก http://www.thaihrlaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=83274&Ntype=5

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2553). ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2553, สืบค้นวันที่ 20 กรกฎาคม 2553, เข้าถึงจาก http://safety52weeks.com/blog/?p=770

จันทร์ทิพย์ อินทวงศ์, สุนทร เหรียญภูมิการกิจ, ชาติวุฒิ จำจด และเกษสุดา คำแก้ว. (2552). การส่งเสริมสุขภาพพนักงานในอุตสาหกรรมแปรรูปหินแกรนิต : กรณีศึกษาในจังหวัดระยอง. วารสารวิจัยระบบสุขภาพ, 2, 252-260.

ปริญญา หลวงพิทักษ์ชุมพล. (2550, กันยายน).การประเมินการได้ยินและการแก้ไขภาวะบกพร่องของการได้ยิน. เอกสารประกอบการประชุม เรื่องการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน ณ โรงพยาบาลศิริราช. ระหว่างวันที่ 20 กันยากัน 2550.

ประเวศ วะสี. (2550). สืบค้นวันที่ 15 มกราคม 2552, เข้าถึงจาก http//www.bloggang.com/mainblog.php?id=samrotri&month=14-01-2007&group=11&gblog=11

NIOSH. (2009) Basic occupational health and safety. Retrieved January 15, 2009, from http://www.sut.ac.th.

Faramarzi, A., Kaviani, M., & Sadeghihas sanbadi, A. (2006). Prevalence of noise induced hearing loss in employees in Shiras industrial factories. Medical Journal of the Volume 20 Islamic Republic of Iran, 20(1), 49-51.

Kerr, M.J., Hong, O. & Lusk, S.L. (2008). Theory-based health communication interventions to prevent NIHL, Retrieved April 9, 2010, from http://www.aaohn.org/position-statements/occupational-health-surveillance.html

Rabinowitz, P.M. (2000) Noise-induced hearing loss. Journal of American Academy of Family Physicians, 1, 1-12.

Roger, B. (2003). Occupational health nursing : Concepts and practice. (2nd ed.) Philadelphia : Saunders.

Downloads

Published

2021-09-22