การพัฒนาเครื่องมือคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

Development of a Screening Tool for Prehypertension by Village Health Volunteers

Authors

  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
  • สุรีย์ สร้อยทอง
  • ณีลาวันย์ งามเสงี่ยม
  • วัลลภา กุณฑียะ
  • น้ำค้าง จุลนพ

Keywords:

ความดันเลือดสูง, ปัจจัยเสี่ยง, การตรวจคัดโรค

Abstract

          การวิจัยสถาบันของสถานีอนามัยครั้งนี้ มี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือคัดกรองความเสี่ยง ต่อภาวะความดันโลหิตสูงสําหรับอาสาสมัคร สาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) การพัฒนา เครื่องมือครั้งนี้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) กําหนดโครงสร้างและองค์ประกอบของเครื่องมือ 2) การวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือ 3) การสรุป โครงสร้างและองค์ประกอบของเครื่องมือ เครื่องมือ ที่พัฒนาเป็นแบบสัมภาษณ์ นี่มีเนื้อหาเกี่ยวกับข้อมูล ทั่วไป ดัชนีมวลกาย และคําถามเกี่ยวกับพฤติกรรม เสี่ยง 10 ข้อ ทําการคัดกรองความเสี่ยงโดย อสม. จํานวน 15 คนที่สุ่มมาแบบกลุ่ม 1 หมู่บ้านกับ ประชาชนในเขตความรับผิดชอบที่มีอายุ 35 ปีขึ้น ไป ซึ่งอยู่ในหมู่ที่ 5 ตําบลเหมือง อําเภอเมือง จังหวัด ชลบุรี จํานวน 70 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการ สัมภาษณ์ตามแบบคัดกรองที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ข้อมูลประชากร ดัชนีมวลกาย และพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ 10 ประเด็น ตรวจสอบผลการคัดกรอง ความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงกับระดับความ ดันโลหิตที่วัดโดยพยาบาลวิชาชีพชํานาญการ 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ทดสอบ คุณภาพของเครื่องมือตัดกรองด้วยการวิเคราะห์ค่า ความไว (sensitivity) ค่าความจําเพาะ (Specificity) ค่าการทํานายผลบวก (positive predictive value) ค่าการทํานายผลลบ (negative predictive value) และความแม่นตรง (accuracy) ของแบบคัดกรอง  ผลการวิจัยพบว่า เครื่องมือคัดกรองนี้สามารถ ค้นหาผู้ที่เสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง ด้วยค่า ความไว ร้อยละ 88.7 สามารถคัดแยกผู้ที่ไม่เสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 94.1 ความน่าจะเป็นกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองว่าเสี่ยง (ค่า การทํานายผลบวก) ร้อยละ 97.9 ความน่าจะเป็น กลุ่มปกติจากการคัดกรองว่าไม่เสี่ยง (ค่าการทํานาย ผลลบ) ร้อยละ 72.7 เครื่องมือมีความแม่นตรง ร้อยละ 90  The purpose of this health care centre institutional research was to develop a  screening tool for prehypertension, which will be used by village health volunteers. There were three main developing processes: 1) determine the structure and the components of the Screening tool 2) analyze content validity and reliability and 3) finalize the structure and components of the tool. This Screening tool was tested by fifteen village health volunteers from one village who selected by cluster random sampling, to screen seventy people that more than thirty-five years old from Moo 5, Mhuang sub-district, Maung district, Chonburi province. The developmental screening tool was interviewing, which composed of demographic data, body mass index (BMI), and ten items of health risk behavior: Blood pressure taken by seven professional advanced nurses was used to confirm the screening tool quality. Descriptive statistics, sensitivity, specificity, positive predictive value, negative predictive value, and accuracy were used for quality analysis.  The results showed that the quality of the screening tool revealed that sensitivity was 88.79%, specificity was 94.1%, positive predictive value was 97.9 %, negative predictive value was 72.7%, and accuracy was 90.0%

Downloads

Published

2021-12-07