ความต้องการและการได้รับการตอบสนองด้านความสุขสบายตามการรับรู้ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด

Comfort Need and Received Care as Perceived By Post-Opened Heart Surgery Patients

Authors

  • สวัชญา กองเกิด
  • วัลภา คุณทรงเกียรติ
  • เขมารดี มาสิงบุญ

Keywords:

ความพอใจของผู้ป่วย, โรคหัวใจ, ผู้ป่วย, การพยาบาลผู้ป่วย, การดุแลผู้ป่วย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อ เปรียบเทียบความต้องการและการได้รับการตอบสนองด้านความสุขสบายตามการรับรู้ของผู้ป่วยหลัง ผ่าตัดหัวใจแบบเปิด โดยใช้กรอบแนวคิคความสุขสบายของคอลคาบา (Kolcaba, 1992) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดหัวใจที่เข้ารับการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตด้านศัลยกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า คัดเลือกตามคุณสมบัติที่กําหนด ได้ กลุ่มตัวอย่างจํานวน 63 ราย เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนมีนาคม 2551 ถึงเดือนกรกฎาคม 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสัมภาษณ์ความต้องการและการได้รับการตอบสนองด้านความ สุขสบาย ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด มีค่าความเชื่อมั่นของสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 80 และ .80 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติเชิงพรรณา และสถิติทดสอบค่าที (dependent t-test) ผลการศึกษาพบว่า  1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความต้องการความ สุขสบายโดยรวมของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 141.06, SD = 10.87)  2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการได้รับการตอบสนอง ด้านความสุขสบายตามการรับรู้ของผู้ป่วยหลังผ่าตัด หัวใจแบบเปิดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 1 123.53, SD = 10.50)  3) ความต้องการและการได้รับการตอบสนอง ด้านความสุขสบายตามการรับรู้ของผู้ป่วยหลังผ่าตัด หัวใจแบบเปิดโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .001 โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยความต้องการมากกว่าการได้รับการตอบสนองด้านความสุขสบาย ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสําหรับ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ผู้ให้การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด หัวใจแบบเปิด เพื่อใช้ในการพัฒนาแนวทางการ ส่งเสริมความสุขสบายของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด This descriptive research was aimed to compare comfort need and received care as perceived by post-opened heart surgery patients and used the conceptual framework of comfort by Kolcaba (1992). The samples were 63 post-opened heart surgery patients who were admitted at the surgical intensive care unit, Phramongkutklao hospital. The data collection of demographic data, comfort need and received care as perceived by post-opened heart surgery patients was implemented during March-July, 2008. The coefficients of reliability of the comfort need and received care as perceived by post-oped heart surgery patients instruments were 8.0 and .80 respectively. The data were analyzed by descriptive statistics and dependent t-test. The results were as follows:  1) The mean score of comfort need by post-opened heart surgery patients was at moderate level (average = 141.06, SD = 10.87). 2) The mean score of received care as perceived post-opened heart surgery patients was at moderate level (average = 123.53, SD = 10.50).  3) Comfort need and received care as perceived by post-opened heart surgery patients were significantly different at .001 level.  The result of this study is basic information for nurses and staffs who provide care for post-opened heart surgery patients to develop and promote comfort.

Downloads

Published

2021-12-07