ประสิทธิผลของแนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

The Effectiveness of Clinical Practice Guidelines for Acute Myocardial Infarction Patients

Authors

  • อินทิรา อินทร์เกิด
  • วัลภา คุณทรงเกียรติ
  • เขมารดี มาสิงบุญ

Keywords:

กล้ามเนื้อหัวใจตาย, การดูแลผู้ป่วย, การพยาบาลผู้ป่วย, ความพอใจของผู้ป่วย

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัดผลหลังการทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของแนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ต่อความรุนแรงของอาการเจ็บอกหรือความไม่สุขสบายจากการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายอัตราการเสียชีวิต ระยะเวลาก่อนส่งรักษาต่อ และความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติต่อการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและพิจารณาส่งรักษาต่อที่โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา ณ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทราจำนวน 30 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันตามขั้นตอนปกติจำนวน 15 ราย และกลุ่มทดลองที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ผู้วิจัยและทีมสหสาขาวิชาชีพร่วมกันพัฒนาขึ้นตามกระบวนการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยและแนวคิดสหสาขาวิชาชีพจำนวน 15 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที  ผลการศึกษาพบว่า ระดับความรุนแรงของอาการเจ็บอก หรือความไม่สุขสบายจากการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ไม่พบอัตราการเสียชีวิตที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลบางคล้า และอัตราเสียชีวิตระหว่างการส่งรักษาต่อ ทั้งในกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองระยะเวลาก่อนส่งรักษาต่อผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามขั้นตอนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 5.200, p < .001) และพยาบาลวิชาชีพมีคะแนนความพึงพอใจโดยรวมต่อการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในระดับมากที่สุด ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า แนวปฏิบัติทางคลินิก สามารถใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติให้กับทีมผู้ดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่แผนกฉุกเฉิน เพื่อลดระยะเวลาก่อนส่งรักษาต่อ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาและช่วยชีวิตผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน  The quasi-experimental research, two-groups post test design was conducted to deter-mine the effectiveness of clinical practice guide-lines for acute myocardial infarction patients on severity of chest pain or discomfort from acute myocardial infarction, mortality rates, time duration before transfer and the satisfaction of person in using clinical practice guidelines for acute myocardial infarction patients. The samples were acute myocardial infarction patients transferred to Maung Chachoengsao Hospital by physician at ER Bangkhla hospital, Chachoengsao province. Thirty patients were selected and assigned equally into 15 samples of control group received the conventional care while 15 samples were the experimental group received care following the clinical practice guidelines for acute myocardial infarction patients which was developed based on concepts of clinical practice guidelines of The Royal College of Physician of Thailand and multidisciplinary by the researcher and multidisciplinary team. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test.  The results showed thar chest pain and discomfort level of the experimental group had no significantly different from the control group at. 05 level. There was no mortality rate at ER Bangkhla hospital and during transfer in the control and experimental groups. After received clinical practice guidelines for acute myocardial infarction patients, the experimental group had a significantly decreased duration before transferal than the control group at the .05 level (t=5.200, p < .001). The register nurse had overall satisfaction score in using the clinical practice guidelines for acute myocardial infarction patients in the highest levels.  The results of this study indicate that clinical practice guidelines can be guideline for health care providers at ER to reduce treatment period before transfer in management which was important in treatment and rescue acute myocardial infarction patients.

Downloads

Published

2021-12-07