ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา

Relationship between Self-Care Agency and Quality of Life among older Adults with Chronic Illness in the Elderly Club at the Health Science Center, Burapha University

Authors

  • สมจิตร์ วงศ์บรรเจิดแสง

Keywords:

คุณภาพชีวิต, การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง, ผู้สูงอายุ, โรคเรื้อรัง

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา และเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมอย่างสม่ำเสมอจำนวน 68 คน โดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2552 ถึง สิงหาคม พ.ศ.2552 เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความสามารถในการดูแลตนเองตามกรอบแนวคิดของโอเร็ม แบบวัดคุณภาพชีวิตตามกรอบแนวคิดเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก (WHOQOL) นำไปหาความเที่ยง โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์ของครอนบาคได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.87 ทั้งสองฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างความสมารถในการดูแลตนเองกับคุณภาพชีวิตโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการดูแลตนเองโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 3.61, SD = 0.55) และมีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 3.38, SD = 0.60) ความสามารถในการดูแลตนเองมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .379) และจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า การดูแลตนเองมีประโยชน์ต่อภาวะสุขภาพ โดยสิ่งที่ช่วยส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเอง คือ การได้รับความรัก ความเอาใจใส่จากบุคคลในครอบครัว และการเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ นอกจากนี้ การดูแลตนเองทำให้สามารถควบคุมโรคได้ และช่วยส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อบุคลากรด้านสาธารณสุขทั้งในระดับผู้บริหารและระดับปฏิบัติ โดยสามารถนำไปใช้ป็นแนวทางในการวางแผนให้บริการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง  The purpose of this study was to examine the relationship between self-care agency and quality of life among older adults with chronic illness in the Health Science Center, Burapha University. The sample consisted of 68 older adults with chronic illness who have been permanent members of the elderly club in the Health Science Center, Burapha University during July of August 2009. Data collected by interview and in-depth interviews. Instruments consisted of the Self-Care Agency Questionnaire which was based on Orem’s conceptual framework and the Quality of Life Questionnaire, of WHOQOL. The reliability coefficients of both questionnaires were 0.87. Demographic data were analyzed by frequency, percentage, mean and standard deviation. To express the correlation among the self-care agency and the quality of life, variables was managed by Pearson’s Product moment correlation coefficient. Content analysis was used to analyze qualitative data.  The result of the study revealed that the total score of self-care agency was at the highest level (average = 3.61, SD = 0.55) and the total score of quality of life was at high level. (average = 3.38, SD = 0.60). Self-care agency and quality of life were significantly positive correlation at .01 (r = .379). According to the results of the in-depth interviews, most of the sample group believed that taking care of themselves had benefit for their health status. Receiving love, belonging and carefulness from their family, and participating with an elderly club would promote their self-care agency. In addition, self care can lead to prevent illness and improve quality of life. The findings suggest that health care personals, including administrative and practical levels will receive usefulness and use the results to plan for service implementation. Moreover, it will promote competencey in self-care agency and quality of life in older adults with chronic illness.

Downloads

Published

2021-12-07