การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพห้องคลอดในโรงพยาบาลศูนย์ เขตภาคตะวันออก

Development of Competency Evaluation Tool for Professional Nurses in Labor Room in The Eastern Regional Hospitals

Authors

  • ปิยฉัตร ปธานราษฎร์
  • จุฬาลักษณ์ บารมี
  • สุวดี สกุลคู

Keywords:

พยาบาลผดุงครรภ์, สมรรถภาพในการทำงาน, สมรรถนะ, พยาบาลวิชาชีพ, ภาคตะวันออก, โรงพยาบาลศูนย์ ภาคตะวันออก

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบคุณภาพของแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพห้องคลอด ในโรงพยาบาลศูนย์ เขตภาคตะวันออก ผู้วิจัยพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะขึ้นด้านความรู้ด้านทัศนคติและด้านทักษะความชำนาญ จำนวน 2 ชุด ชุดที่ 1 หัวหน้าห้องคลอดประเมินพยาบาลวิชาชีพห้องคลอด ชุดที่ 2 พยาบาลวิชาชีพห้องคลอดประเมินตนเอง พิจารณาระดับสมรรถนะ 3 วิธี คือ 1) พิจารณาจากร้อยละของรายการพฤติกรรมที่ทำได้ในแต่ละสมรรถนะ 2) พิจารณาตามระดับสูงสุดที่ทำได้ครบทุกพฤติกรรม และ 3) พิจารณาตามระดับสูงสุดที่มีพฤติกรรมมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 75 ในระดับนั้นๆ ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยใช้วิธี concurrent validity และวิธี known group โดยแบ่งระดับสรรถนะพยาบาลวิชาชีพห้องคลอดตามคุณสมบัติที่กำหนดโดย Benner (Novice-to-ex-pert) แล้วนำแบบประเมินสมรรถนะไปทดสอบกับหัวหน้าห้องคลอดและพยาบาลวิชาชีพห้องคลอดในโรงพยาบาลศูนย์ เขตภาคตะวันออก 3 โรงพยาบาล คือโรงพยาบาลชลบุรี โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 44 คน วิเคราะห์โดยหา ร้อยละ ความสอดคล้องและหาความแตกต่างของคะแนนจากการทดสอบ Kruskal-Wallis Test  ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละความสอดคล้องของการประเมินระดับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ห้องคลอดโดยหัวหน้าห้องคลอดทั้ง 3 วิธี ได้เท่ากับร้อยละ 68.3, 73.2 และ 63.4 ตามลำดับ ผลการทดสอบ Kruskal-Wallis พบว่าพยาบาลที่มีระยะเวลาทำงานต่างกันมีคะแนนสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพห้องคลอดจากการประเมินของหัวหน้าตึก และคะแนนการประเมินตนเองของพยาบาลแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 พยาบาลวิชาชีพห้องคลอดส่วนใหญ่มีระดับสมรรถนะตามการประเมินของหัวหน้าห้องคลอดประเมิน และตามการประเมินตนเอง อยู่ในระดับดีมาก และไม่พบว่าอยู่ในระดับต้องปรับปรุง  แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพห้องคลอดที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนี้ สามารถนำไปให้ทั้งหัวหน้าและพยาบาลวิชาชีพประเมิน และอาจใช้เพิ่มการประเมินโดยผู้ร่วมงาน เพื่อให้การประเมินนั้นครอบคลุมยิ่งขึ้น  The purposes of this research were to develop competency evaluation tool for professional nurses working in labor room in the eastern regional hospitals and test its quality. The researcher developed two set instruments for assessing knowledge, attitude and skill dimensions of professional nurses’ competency. First set was used by head nurses and the second was professional nurses’ self assessment. The nurses’ competency levels were assigned with three methods; 1) based on percentage of behavior list that a nurse demonstrated; 2) the highest level that a nurse held all behavior list; and 3) level that a nurse held at least 75% of the list. Construct validity was tested by concurrent validity and known-group technique. Qualification statements based on Benner’s levels, novice-to-experts, and years of working were used to differentiate 5 groups of nurses. The sample included 44 head nurses and professional nurses working in labor room at Chonburi Hospital, Prapokkloa Chanthaburi province, and Chaopraya-Apaiphubeth Prachin Buri province hospitals. Percentage agreement on competency levels and Kruskal-Wallis testing were analyzed.  The findings revealed that percent agreement of competency level of professional nurses working in labor room based on three methods assessed by head nurses were at 63.8, 73.2, and 63.4, respectively. Results from Kruskal-Wallis test showed that professional nurses differed in years of working experience having statistical significant different competency score assessed by head nurse and nurses’ self-assessment at an alpha .05 level. Most of professional nurses working in labor room had competency level as assessed by head nurses and nurses’ self-assessment at a very good level and none was at ‘need improvement’ level.  This researcher-developed competency evaluation tool for professional nurses working in labor room can be used by both head nurses and nurses themselves; and, in order to be more comprehensive, may add peer evaluation.

References

กิ่งกาญจน์ สิรสุคนธ์. (2550). รูบริคหรือรูบริคการให้คะแนน. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

จุฬาลักษณ์ บารมี. (2551). สถิติเพื่อการวิจัยทางสุขภาพและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS. ชลบุรี : ศรีศิลปการพิมพ์.

ฐิติรัตน์ อิฐรัตน์. (2548). Core competency: ความสามารถหลักขององค์กร. กรุงเทพฯ: ธรรมกมลการพิมพ์.

นพวรรณ เทียมสิงห์. (2550). การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องคลอดโรงพยาบาลศูนย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภา หลิมรัตน์. (มปป). การวัดผลและการประเมินผล. วันที่ค้นข้อมูล 23 ธันวาคม 2553. เข้าถึงได้จาก http://202.28.95.5/thai/tech/news/index-eval.htm

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2545). ระเบียบวิธีวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรฐินี รูปงาม. (2548). สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพประจำห้องคลอด โรงพยาบาลทั่วไป. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 19(2), 129-141

Benner, P. (1984). From novice to expert : Excellence and power in clinical nursing practice. Menlo Park, CA: Addison-Wesley.

Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of educational objectives, handbook I: The cognitive domain. New York: David McKay Co Inc.

Fey, M.K. & Miltner, R.S. (2000). A competency-based orientation program for new graduate nurses. Journal of Nursing Administration, 30(3), 126-132.

Downloads

Published

2021-09-06