ปัจจัยป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้นจังหวัดปทุมธานี

Protective Factors of Risky sexual Behaviors among Female Students at Secondary Schools in Pathum Thani Province

Authors

  • ประไพศรี แสงชลินทร์
  • รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์
  • พรนภา หอมสินธุ์

Keywords:

นักเรียนมัธยมศึกษา, พฤติกรรมทางเพศ, ต้นทุนชีวิต, ปัจจัยป้องกัน, พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ, จังหวัดปทุมธานี

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยป้องกัน พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และความสัมพันธ์ของปัจจัยป้องกันที่เน้นปัจจัยด้านต้นทุนชีวิตกับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนหญิง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีจำนวน 310 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และต้นทุนชีวิตของวัยรุ่นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Binary logistic regression  ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก 14 ปี เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วร้อยละ 13.5 ต้นทุนชีวิตด้านพลังตัวตน พลังเพื่อนและกิจกรรม พลังครอบครัวและพลังปัญญาภาพรวมผ่านเกณฑ์ (62-75%) ด้านพลังชุมชนภาพรวมต่ำกว่าเกณฑ์ ( < 60 %) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบหลายตัวแปรร่วม พบว่า ปัจจัยป้องกันที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ได้แก่ ระดับการศึกษาที่สูงขึ้น (ORadj = 3.97, 95% CI = 1.44-10.90 การไม่อยู่ร่วมกับครอบครัว (ORadj = 3.40, 95 % CI = 1.49-7.74) ต้นทุนชีวิตด้านพลังตัวตนต่ำ (ORadj = 3.31, 95 % CI = 1.25-8.79) ต้นทุนชีวิตด้านพลังเพื่อนและกิจกรรมต่ำ (ORadj = 2.89, 95 % CI = 1.02-8.21) และต้นทุนชีวิตด้านพลังครอบครัวต่ำ (ORadj = 2.55, 95 % CI = 1.10-5.90) ดังนั้นในการสร้างเสริมต้นทุนชีวิตของวัยรุ่น (พลังตัวตน เพื่อน และครอบครัว) อาจป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในวัยรุ่นหญิงได้  The purpose of this research was to study protective factors, sexual risk behaviors and correlates of protective factors focusing on developmental assets and sexual risk behaviors among female students. The sample consisted of 310 lower secondary school female students in Pathum Thani province. The sample was selected by multiple-stage random sampling. The research instruments included general characteristics, sexual risk behavior questionnaires and developmental assets questionnaires. Data were analyzed by Binary logistic regression.  The results revealed that 13.5% were sexually active with average age at first sexual intercourse was 14 years old. Youth assets including the internal assets, friend and activity assets, family assets and cognitive assets had been reported in standard score level (62-75%) whereas community involvement assets were was weak (less than 60 %). Multiple logistic regression analysis showed the factors related to sexual risk behaviors were: higher level of education (ORadj = 3.97, 95% CI = 1.44-10.90), not living arrangement (ORadj = 3.40, 95% CI = 1.49 – 7.74), weak internal assets (ORadj = 3.31, 95% CI = 1.25 – 8.79), weak assets of friend and activity asset (ORadj = 2.89, 95% CI = 1.02 – 8.21), and weak family assets (ORadj = 2.55, 95 % CI = 1.10-5.90).Thus, the promotion of specific youth assets (internal asset, friend assets and family asset) may protect female adolescence from sexual risk behaviors

References

กัลยา นาคเพ็ชร์, จุไร อภัยจิรรัตน์ และสมพิศ ใยสุ่น. (2548). จิตวิทยาพัฒนาการสำหรับพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์สุภาจำกัด.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา, ชาย โพธิสิตา, กฤตยา อาชวนิจกุล, วาสนา อิ่มเอม, กุลวีณ์ ศิริรัตน์มงคล, หทัยรัตน์ เสียงดัง และสุภรต์ จรัสสิทธิ์. (2549). สุขภาพคนไทยไทยปี 2549 (พิมพ์ครั้งที่ 1). นครปฐม: บริษัทอัมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บริษัท ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดียจำกัด.

พรอุษา ประสงค์วรรณ. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์การถูกกระทำรุนแรงของเด็กที่เข้ารับบริการของศูนย์ช่วยเหลือเด็กในโรงพยาบาลเขตจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Blum, R., Mmari, K. (2004). Risk and protective factors affecting adolescent reproductive health in developing countries: An analysis adolescent sexual and reproductive health literature from around the world : summary. Geneva: the World health Organization.

Bronfenbrenner, U. (1994). Ecological models of human development. International Encyclopedia of Education, 3(2), 37-43. Retrieved 10 December 2009 from http://www.psy.cmu.mu.edu/~siegler/35bronfenbrenner94.pdf

Brown, A., Jejeebhoy, S.J., Shah, I., & Yount, K.M. (2001). Sexual relations among young people in developing countries: Evidence from WHO case studies. World Health Organization. Retrieved October 22, 2009, from http://www.guttmacher.org/pubs/fb_teens.html

Chamratrithirong. A., Kittisukathit, S., Podhisita, C., Isarabhakdi, P., & Sabaiying, M. (2007). National sexual behavior survey of Thailand 2006. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University.

Roehlkepartain, E.C., & Scales, P.C. (2007). Development assets: A framework for enriching service-learning. Retrieved December 7, 2009, from http://www.servicelearning.org

Downloads

Published

2021-09-06