ผลของการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด

Effects of Empowerment Promoting Program on Behavior of Mothers Caring for Premature Infants

Authors

  • ภัทราวดี ชัยงาม
  • มณีรัตน์ ภาคธูป
  • นุจรี ไชยมงคล

Keywords:

มารดาและทารก, ทารกคลอดก่อนกำหนด, การดูแล, โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ, พฤติกรรมของมารดา

Abstract

          การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบสะดวกจากมารดาของทารกคลอดก่อนกำหนด ที่รับไว้ในหน่วยบำบัดทารกแรกเกิด และหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วย กองกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดชลบุรี จำนวน 30 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง เป็นมารดา จำนวน 15 คนได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ที่สร้างตามแนวคิดของกิบสัน (Gibson, 1991) และมารดาอีก 15 คน อยู่ในกลุ่มควบคุม ได้รับการพยาบาลตามปกติของโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจและแบบสอบถามพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย และการทดสอบที (t-test)  ผลการวิจัยพบว่า มารดาในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -13.24, p < .05) และเมื่อเปรียบเทียบผลต่างคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดก่อนและหลังการให้โปรแกรม ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่ามารดาในกลุ่มทดลองมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสูงกว่ามารดาในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -9.12, p < .05) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าควรนำโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมาใช้ในการให้การพยาบาลมารดาทารกคลอดก่อนกำหนด เพื่อช่วยให้มารดาสามารถดูแลทารกคลอดกำหนดได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น  The purpose of this quasi-experimental research was to examine effects of empowerment promoting program on behavior of mothers caring for premature infants. Convenient sample included 30 mothers of preterm babies admitted in Newborn Intensive Care Unit (NICU) and Sick New Born (SNB) ward at the Department of Pediatric, Queen Sirikit Hospital, Chon Buri province. The sample was separated into 2 groups of experimental and  control. There were 15 mothers in the experimental group receiving the empowerment program developed by using Gibson’s concept (1991), and 15 mothers in the control group receiving routine from the hospital. Research instruments were empowerment promoting program and questionnaire of caring behavior of mothers for premature infants, which its internal consistency reliability was .97. Data were analyzed by using mean, frequency, range, standard deviation and t-test.  Results showed that in the experimental group, mean score of mothers’ behavior caring for premature infants after receiving the intervention was significantly higher than the score before receiving the intervention (t = -13.24, p <.05). When comparing mean differences of score of mothers’ behavior caring for premature infants before and after receiving the intervention between the experimental and control groups, it was found that mean differences of score of mothers in the experimental group was significantly higher than the score in the control group (t = -19.12, p < .05). These findings indicate that the empowerment promoting program should be used in nursing care for premature infants to help mother improve giving care for premature infants effectively.

References

กิจกรณ์ คำชู. (2546). ผลของการจำหน่ายอย่างมีแบบแผนต่อความสามารถในการปฏิบัติการดูแลทารกคลอดของมารดาและภาวะสุขภาพของทารก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (ไม่มีวันที่) ข้อมูลสถิติ. รับวันที่ 23 กรกฎาคม, 2549 จาก http://www.Anamimoph.go.th///report/populaaation/pop.asp.

จุฑารัตน์ มีสุขโข. (2540). ความต้องการข้อมูลและการช่วยเหลือสนับสนุนของมารดาทารกคลอดก่อนกำหนด. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลแม่และเด็ก, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นฤมล ธีระรังสิกุล. (2545). การพยาบาลทารกคลอดก่อนกำหนด. กรุงเทพฯ : บริษัท พี เพรส จำกัด.

ปภังกร สิงห์กล้า. (2550). ผลของการพยาบาลอย่างมีส่วนร่วมซึ่งกันและกันของมารดาต่อความเครียดและบทบาทมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะวิกฤต. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพเด็ก, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Blackburn, S. (1995). Problem of preterm after discharge. Journal of Obstetrics Gynecologic and Neonatal Nursing, 24(1), 43-49.

Eriksson, B.S., & Pehrsson, G. (2002). Evaluation of psycho-social support to parents with an infant born preterm [Electronic Version]. Journal of ehild Health Care, 6(1), 19-33.

Gibson, C.H. (1991). A concept analysis of empowerment. Journal of Advanced Nursing, 16(3), 354-361.

Gorski, P.A. (1988). Fostering family development after preterm hospitalization. In R.A. Ballard (Ed), Pediatric care of the ICN graduate (pp. 27-32). Philadelphia : W.B. Saunders.

Kang, R., Barnard, K., Hammond, M., Oshio, Spencer, Thibodeaux, B., & Williams, J. (1995). Preterm infant follow-up project : A multi site field experiment of hospital and home intervention programs for mothers and preterm infants. Public Health Nursing, 12(33), 171-180.

Downloads

Published

2021-09-06