ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการของครอบครัวที่มีสมาชิกครอบครัวเป็นเบาหวานชนิดที่ 2

Factors influencing Family Management in Family with Type 2 Diabetes Mellitus

Authors

  • นภารัตน์ ธัญถิรโสภนากุล
  • จินตนา วัชรสินธุ์
  • วรรณี เดียวอิศเรศ

Keywords:

เบาหวาน, การดุแลผู้ป่วย, การพยาบาลครอบครัว, ครอบครัว, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

Abstract

          การศึกษาวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนายระหว่างปัจจัยการรับรู้ความรุนแรงของโรค การทำหน้าที่ของครอบครัวเครือข่ายทางสังคม และการจัดการของครอบครัวที่มีสมาชิกครอบครัวเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือ สมาชิกครอบครัวที่มีความผูกพันใกล้ชิดอาศัยอยู่บ้านเดียวกัน และมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 189 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกครอบครัวและผู้ป่วยเบาหวานแบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรคของครอบครัว แบบสอบถามการทำหน้าที่ของครอบครัวแบบสอบถามเครือข่ายทางสังคม และแบบสอบถามการจัดการของครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของพอยท์ ไบซีเรียล และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน  ผลการวิจัยพบว่า การจัดการของครอบครัวที่มีสมาชิกครอบครัวเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยทำนายที่มีอิทธิพลต่อการจัดการของครอบครัวที่มีสมาชิกครอบครัวเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 คือ การทำหน้าที่ของครอบครัวเครือข่ายทางสังคม และการรับรู้ความรุนแรงของโรคของครอบครัว โดยสามารถร่วมกันทำนายการจัดการของครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถอธิบายการผันแปรได้ ร้อยละ 33.4 ผลการศึกษานี้เสนอว่า การปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการจัดการของครอบครัวที่มีสมาชิกครอบครัวเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ควรเน้นที่การส่งเสริมให้มีการทำหน้าที่ของครอบครัวที่ดี การสร้างเครือข่ายทางสังคมที่คอยช่วยเหลือสนับสนุนครอบครัว และเพิ่มการรับรู้ความรุนแรงของโรคของครอบครัว   The purpose of this descriptive study was to examine the predicted relationships among perceived severity of diabetes, family functioning, social network, and family management in family with type 2 diabetes mellitus. The sample consisted of 189 family members having closed relationship, living in the same household, and providing important role in taking care of the type 2 diabetes mellitus. Research instruments used to collect data were questionnaires about demographic data of patients and families, perceived severity of diabetes, family functioning, social network, and family management. Descriptive statistics including percentage, mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient, point biserial correlation, and stepwise multiple regression analysis were used for data analysis.  The results showed that family management in family with type 2 diabetes mellitus was at a moderate level. Family functioning, social network, and perceived severity of diabetes significantly predicted the family management in family with type 2 diabetes mellitus at level .05 and explained 33.4 % of variance. The findings suggest that nursing intervention to promote family management in family with type 2 diabetes mellitus should emphasize promoting family functioning, create social network, and increase perceived severity of diabetes in family

References

จินตนา วัชรสินธุ์. (2550). ทฤษฎีทางการพยาบาลครอบครัวขั้นสูง. ชลบุรี: ชลบุรีการพิมพ์.

ชนิสรา ปัญญาเริง. (2550). เครือข่ายทางสังคมและแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในตำบลเสริมกลาง อำเภอเสริมกลาง จังหวัดลำปาง วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฐธยาน์ ประเสริฐอำไพสกุล และคณะ. (2551). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูงของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด. วารสารรามาธิบดีพยาบาลสาร, 14(3), 298-311.

ทวีวรรณ กิ่งโคกรวด. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่งปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานการสนับสนุนจากครอบครัวและชุมชนกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

ดำรงค์ ทิพย์โยธา. (2547). วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS FOF WINDOWS VERSION 12 (พิมพ์ครั้งที่ 1), กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

น้ำเพชร มาตาชนก มณีรัตน์ ภาคธูป และจินตนา วัชรสินธุ์. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการของครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคหอบหืดวัยผู้ใหญ่ โรงพยาบาลบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 16(1), 22-23.

Fisher, L, Chesla, CA, Skaff, MM, et al. (2000). The family and disease management in hispanic and European American patients with type 2 diabetes. Diabetes Care, 23, 267-272.

Grey, M., Knafl, K., & McCorkle, R. (2006). A framework for the study of self and family management of chronic conditions. Journal of Nursing Outlook, 54, 279-286.

World Health Organization. (2005). Prevention diabetes mellitus. Geneva : World Health Organization.

Wright, L. M., & Leahey, M. (2009). Nursing and family: A guide to family assessment and intervention. Philadelphia: F.A. Davis.

Downloads

Published

2021-09-06