ผลของการฟังดนตรีไทยบรรเลงต่อพฤติกรรมอารมณ์และระยะเวลาการนอนหลับของทารก

Effects of Listening to Thai Music on Emotional Behavior and Sleeping Duration of Infants

Authors

  • นันทพร ปรากฏชื่อ
  • นุจรี ไชยมงคล
  • ยุนี พงศ์จตุรวิทย์

Keywords:

การนอนหลับ, อารมณ์, ทารก, ดนตรีไทย, พฤติกรรมอารมณ์, ระยะเวลาการนอนหลับ, ดนตรีไทยบรรเลง

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลัง (one-group pretest-posttest design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ทารกฟังดนตรีไทยบรรเลง โดยเปรียบเทียบพฤติกรรมอารมณ์และระยะเวลาการนอนหลับของทารก ในระยะก่อน ระหว่าง และภายหลังการให้ฟังดนตรีไทยบรรเลงประชากรเป็นทารกที่สุขภาพปกติ อายุระหว่าง 6-19 เดือน มารับบริการที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คณะพยาบาลศาสตร์ ณ โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา จำนวนทั้งหมด 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง เดือนกรกฎาคม 2553 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามพฤติกรรมอารมณ์ มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค (α) เท่ากับ .75 และแบบบันทึกระยะเวลาการนอนหลับของทารกวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย Friedman test และ Wilcoxon test ผลการวิจัยมีดังนี้  1)  พฤติกรรมอารมณ์ของทารก ในระยะก่อนระหว่าง และภายหลังการให้ฟังดนตรีไทยบรรเลงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 = 19.14, p < .001) และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่พบว่า ทารกมีพฤติกรรมอารมณ์ระหว่างและภายหลังการให้ฟังดนตรีไทยบรรเลงดีกว่าในระยะก่อนการให้ฟังดนตรีไทยบรรเลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = 3.183, p < .01) และ Z= 3.059, p < .01 ตามลำดับ) และพฤติกรรมอารมณ์ระหว่าง กับหลังการให้ฟังดนตรีไทยบรรเลงไม่แตกต่างกัน (Z = -.179, p < .05) 2) ระยะเวลาการนอนหลับของทารกในระยะก่อน ระหว่างและภายหลังการให้ฟังดนตรีไทยบรรเลงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 = 20.13, p < .001) และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่พบว่า ทารกมีระยะเวลาการนอนหลับระหว่างการให้ฟังดนตรีไทยบรรเลงนานกว่าในระยะก่อนและภายหลังการให้ฟังดนตรีไทยบรรเลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = 3.408, p < .01 และ Z = 3.237, p < .01 ตามลำดับ) และระยะเวลาการนอนหลับในระยะก่อนกับภายหลังการให้ฟังดนตรีไทยบรรเลงไม่แตกต่างกัน (Z = -1.022, p < .05)  ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้ปกครองหรือผู้มีหน้าที่ดูแลทารกหรือเด็กเล็กควรให้ทารกฟังดนตรีไทยบรรเลงระหว่างการนอนหลับ ซึ่งเป็นการส่งเสริมวุฒิภาวะทางอารมณ์ให้เป็นเด็กที่เลี้ยงง่าย มีอารมณ์ดี ซึ่งการวิจัีไทยบรรเลงระหว่างการนอนหลัง ซึ่งเป็นการส่งเสริมวุฒิภาวะทางอารมณ์ให้เป็นเด็กที่เลี้ตรฐาน พิสัย (มูลยนี้เป็นการประยุกต์ใช้ ศิลปะและวัฒนธรรมไทยในการส่งเสริมการนอนหลับ และพัฒนาการด้านอารมณ์ให้เหมาะสมต่อไป  The purpose of this quasi-experimental, one-group pretest-posttest research aimed to examine the effects of listening to Thai music by comparing emotional behavior and sleeping duration of infants before, during, and after listening to the Thai music. The sample included 15 healthy infants aged from 6 to 19 months. They were brought to receive service at the Child Care Center, Faculty of Nursing, Burapha University and the Child Care Center, Faculty of Nursing at Chachoengsao Hospital. Data were collected during June-July 2010. Research instruments consisted of the emotional behavior questionnaire, and the form to record infant sleeping duration. Cronbach’s alpha coefficient (α) of the emotional behavior questionnaire was. 75. Data were analyzed by using frequency, percente, mean, standard deviation, range, Friedman test and Wilcoxon test, Results revealed the following 1)  Emotional behavior of infants before, during, and after listening to Thai music was significantly different (X2 = 19.14, p < .001), and comparisons showed that the emotional behavior of infants during and after the intervention were better than before the intervention and significantly different (Z = 3.183, p < .01) and Z= 3.059, p < .01, respectively), emotional behavior during and after the experiment showed no significant difference (Z = -.179, p < .05). 2)  Sleeping duration of infants before, during, and after listening to Thai music was Significantly different (X2 = 20.13, p < .001) and comparisons showed that sleeping duration of infants during the intervention to be longer than those before and after the intervention and were significantly different (Z = 3.408, p < .01 and Z = 3.237, p < .01, respectively), duration of sleep before and after the experiment, exhibited no significant difference  (Z = -1.022, p < .05).  Results showed that during and after listening to Thai music, the emotional behavior of infants was better than that before the intervention. During the intervention, sleeping duration was longer than that before and after the intervention. These findings indicate that a parent of child caregiver of an infant or young baby should allow infants to listen to Thai music during their sleeping time. Consequently, emotional maturity of the infant could be enhanced leading to easier child rearing and better child temper. Additionally, by promotion of enhanced sleep, through the innovative application of Thai culture, the infant’s growth and development would be expected to increase appropriately.

References

กัลยา นาคเพ็ชร์. (2548). จิตวิทยาพัฒนาการสำหรับพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย.

จเร สำอางค์. (2550). สมองดีดนตรีทำได้. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

จันทิมา ดอกไม้. (2547). ดนตรีไทยกับการกล่อมเกลาจิตใจของเยาวชน : ศึกษากรณีเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารทั่วไป, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิตยา คชภักดี. (2551). พัฒนาการของเด็ก (child development). ใน นิชรา เรืองดารกานนท์ ชาคริยา ธีรเนตร รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์ และทิพวรรณ หรรษคุณาชัย (บรรณาธิการ), ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก (หน้า 359-394). กรุงเทพฯ: โฮลิสติกพับลิชชิ่ง.

พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา. (2550). การพยาบาลเด็กเล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: ยุทธรินทร์การพิมพ์.

ยุวดี ทัตตินาพานิช. (2539). การศึกษาความสัมพันธ์ของพื้นฐานทางอารมณ์และสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคม กับพัฒนาการของทารกวัย 6 เดือนและพฤติกรรมโต้ตอบของมารดาที่มีต่อทารก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาจิตวิทยา, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Harmat, L., Takacs, J., & Bodizs, R. (2007). Music improves sleep quality in students. Journal of Advanced Nursing, 62(3), 327-335.

Polit, D.F., & Hungler, B.P. (1999). Nursing research: Principles and methods. Philadelphia: Lippincott.

Rahlin, M., Cech, D., Rheault, W., & Stoecker, J. (2007). Use of music during physical therapy intervention for an infant with Erb’s palsy: A single-subject design. Journal of Physiotherapy Theory and Practice, 23(2), 105-117.

Sroufe, L.A. (1997). Emotional development: The organization of emotional life in the early years. New York: Prentice Hall (Spectrum).

Downloads

Published

2021-09-06