ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพกับความกลัวการผ่าตัดในเด็กวัยเรียน

Relationships between Health Perception and Fear of Surgery in School-age children

Authors

  • วชรีกร สุวรรณมณี
  • ยุนี พงศ์จตุรวิทย์
  • นุจรี ไชยมงคล

Keywords:

ความกลัว, การรับรู้, ผู้ป่วยเด็ก, จิตวิทยา, ศัลยกรรม, การรับรู้ภาวะสุขภาพ, การผ่าตัด, เด็กวัยเรียน

Abstract

          การวิจัยแบบบรรยายเชิงหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพกับความกลัวการผ่าตัดในเด็กวัยเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กป่วยวัยเรียนที่ได้รับการวินิจฉัยให้ได้รับรักษาด้วยการผ่าตัดประเภทเลือกเวลาหรือรอเวลาได้ ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิงและเด็ก โรงพยาบาลระยองจำนวน 60 ราย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวกตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยเด็กและผู้ปกครอง แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพของเด็กวัยเรียนที่ได้รับการวินิจฉัยให้รักษาโดยการผ่าตัด และแบบสอบถามความกลัวการผ่าตัดในเด็กวัยเรียน หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้ค่าคูเดอร์ ริชาร์ดสัน ได้เท่ากับ 0.71 และ 0.85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย และสถิติสัมพันธ์ของเพียร์สัน  ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ภาวะสุขภาพของเด็กวัยเรียนโดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.50 (SD = 2.02, range = 8-16) และความกลัวการผ่าตัดในเด็กวัยเรียนโดยรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.87 (SD= 1.87, range = 2-10) การรับรู้ภาวะสุขภาพโดยรวมไม่มีความสัมพันธ์กับความกลัวการผ่าตัด (p > .05) อย่างไรก็ดีเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าการรับรู้ภาวะสุขภาพด้านความรุนแรงของการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อน ด้านประโยชน์ของการรักษาและค่ารักษาพยาบาล และด้านอุปสรรคของการปฏิบัติตามพฤติกรรม มีความสัมพันธ์กับความกลัวการผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .409, p < .01, r = .276, p < .05 และ r = -.324, p < .05 ตามลำดับ) สำหรับด้านแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพโดยทั่วไป และด้านโอกาสของความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนไม่มีความสัมพันธ์กับความกลัวการผ่าตัด (p < .05)  ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อพัฒนาแนวทางสำหรับพยาบาลในการจัดกิจกรรมหรือสร้างโปรแกรมเพื่อส่งเสริมการรับรู้ภาวะสุขภาพของเด็กป่วยวัยเรียนและลดความกลัวจากการได้รับผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  The purpose of this research was to-examine relationship between health perception and fear of surgery in school-age children. The convenience sampling technique was used to select the sample. The sample consisted of 60 school-age patients who had been diagnosed to be operated through the elective surgery system at Rayong Hospital. The research instruments included questionnaires on the school-age patients’ and their parents’ demographic information, the health perception of the patients who had been diagnosed for surgery treatment and their fear of surgery. Based on the Kuder-Richardson test, the reliability of the two sets of questionnaires on health perception and fear of surgery was 0.71 and 0.85, respectively. The statistics used to analyze the data included frequency, percentage, mean, standard deviation, range, and Pearson’s product moment correlation coefficient.  The study results revealed that the mean score of health perception of school-age children was 12.50 (SD = 2.02, range = 8-16) and the mean score of fear of surgery in school-age children was 5.87 (SD= 1.87, range = 2-10) The overall health perception and fear of surgery in school-age children were not correlated (p < .05). When subscale item was considered, it was found that health perceptions on severity of diseases and complication, benefits and costs of medical treatment, and obstacles of certain practices were significantly correlated with fear of surgery (r = .409, p < .01, r = .276, p < .05 and r = -.324, p < .05 respectively). However, motivation for general health care and risk taking regarding side effects were not correlated with fear of surgery (p > .05).  The results of this study can be used for the development of appropriate nursing intervention or programe to promote health perceptions, which would eventually help decrease fear of surgery among school-age patients.

References

ฉันทิกา จันทร์เปีย. (2552). พัฒนาการ (Development). ใน บุญเพียร จันทวัฒนา ฟองคำ ติลสกุลชัย บัญจางค์ สุขเจริญ วิไล เลิศธรรมเทวี และศรีสมบูรณ์ มุสิกสุคนธ์ (บรรณาธิการ), ตำราการพยาบาลเด็ก เล่ม 1 หน้า 10-36). กรุงเทพฯ : พรี-วัน.

ดุจฤดี ไชยมงคล. (2545). ความกลัว ความวิตกกังวล และพฤติกรรมการตอบสนองของเด็กวัยเรียนระหว่างรอการผ่าตัดด่วน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ดุษฎีบูล บุตรสีทา. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐาน การรับรู้ภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธีระพล อรุณะกสิกร นิมล เรืองตื้อ ปฏินันท์ สันติเมทนีดล ไพฑูรย์ นาคฉ่ำ สถาพร ลิ้มมณี สุรศักดิ์ วาจาสิทธิ์ และสุริยกานต์ ชัยเนตร. (2549). พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.

นริศ เจนวิริยะ (2543). กลัวการผ่าตัด. นิตยสารใกล้หมอ, 24, 12.

Arnold, E. & Boggs, K. (1995). Interpersonal relationships: Professional communication skills for nurses (2nd ed.). Philadelphia: W.B. Saunders.

Becker, M.H. (1974). The health belief model and personal health behavior. New Jersey: Charles, B. Slack

Chaiyawat, W. (1999). Psychometric properties of the Thai versions of the state-trait anxiety inventory for children-revised (staic-r) and the child medical fear scale-revised (cmfs-r) in Thai school age children. Dissertation, State University of New York at Buffalo: New York.

Chaiyawat, W.& Jezewski, M.A (2006). Thai school-age children’s perception of fear. Journal of Transcultural Nursing, 17(1), 74-81.

Dunn, A.M. (2004). Health perception and health management pattern. In C.E, Burns, A.M, Dunn, M.A, Brady, N.B, Starr, & C.G, Blosser, Pediatric primary care: A handbook for nurse practitioners (pp. 168-190). St. Louis, Mo: Saunders.

Downloads

Published

2021-09-06