ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานสตรีในโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา

Factors Related to Quality of Work Life among Female Labors in Factories, Nakhonratchasima Province

Authors

  • นฤมล โอ้สวนศรี
  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
  • รุ่งรัตน์ ศรีสุริเวศน์

Keywords:

คุณภาพชีวิตการทำงาน, สภาพแวดล้อมการทำงาน, การทำงาน, แรงงานสตรี, นครราชสีมา

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล สภาพการทำงานและการสนับสนุนด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงานขององค์การกับคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานสตรีในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานสตรีระดับปฏิบัติการที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมขนาด 200 คนขึ้นไป ในประเภทอุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ จำนวน 448 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 4 ส่วนประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพการทำงานการสนับสนุนด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงานขององค์การ และคุณภาพชีวิตการทำงาน ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ของแบบสอบถามด้านการสนับสนุนด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงานขององค์การ เท่ากับ .93 และแบบสอบถามด้านคุณภาพชีวิตการทำงานเท่ากับ .94 ใช้สถิติทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบค่าที และทดสอบความแปรปรวนทางเดียว  ผลการวิจัยพบว่า แรงงานสตรีมีคุณภาพชีวิตการทำงานภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางการสนับสนุนด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงานขององค์การอยู่ในระดับปานกลาง แรงงานสตรีที่มีอายุ อายุงาน ประเภทอุตสาหกรรม ชั่วโมงการทำงาน ระยะเวลาพัก การทำงานเป็นกะ และการสนับสนุนด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงานขององค์การ ที่แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 สรุปได้ว่า อายุ อายุงาน ประเภทอุตสาหกรรมชั่วโมงการทำงาน ระยะเวลาพัก การทำงานเป็นกะและการสนับสนุนด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงานองค์การ เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานสตรี  ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย แรงงานสตรีควรได้รับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานด้านสุขภาพเป็นพิเศษในเรื่องเวลา สถานที่ และอุปกรณ์สำหรับออกกำลังกาย และควรยกระดับแรงงานสตรีที่มีคุณภาพชีวิตการทำงานในระดับปานกลางให้สูงขึ้น  The purpose of this research was to study the factors related to quality of work life among female labors in factories Nakhon Ratchasima province. The sample consisted of 448 female labors who worded in large factories (more than 200 labors) of textile industries, electronics industries, and precious stone and the decorations industries, by using a multi-stage random sampling method. The questionnaires on personal data, work condition, supporting safely and occupational health in the work of those factories, and quality of work life were used for data collection. Cronbach’s alpha coefficient of the questionnaires on supporting safety and occupational health in the work of those factorjes, and on quality of work life were .93 and .94 respectively. Independent t-test and one-way analysis of variance were used to analyze data.  The findings revealed that overall quality of work life among female labors was at the middle level. Supporting safety and occupational health in the work of those factories was at the middle level. Female labors with different of age, length of work, different kinds of facto ries, work time, rests time, shift work, and supporting safety and occupational health in the work of those factories had significant difference at .05 level. It could be concluded that factors related to quality of work life among female labor were age, length of work, different kinds of factories, work time, rests time, shift work, and supporting safety and occupational health in the work of those factories.  It is recommended that female labors should have to encourage quality of work life in health especially in the time, place and the equipment for exercise and should uplift middle-level quality of work life of female labors.

References

กรมสวัดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2550). โครงการวิจัย เรื่อง ลักษณะการจ้างและสภาพการทำงานของแรงงานในกิจการขนส่งทางบก. กรุงเทพฯ: บริษัท แมเนจเม้นท์ โซลูชั่นส์ อินเตอร์เนชั่นแนลจำกัด.

กันยา หมอยาดี. (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานสตรีในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอประเภทตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป เขตครองสาน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิปลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

จรัส โชคสุวรรณกิจ. (2550).ปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยของคนทำงานกะ. โรงพยาบาลชุมชน, 8(6), 40-41.

จุฬารัตน์ เทพพรบริสุทธิ์ และสุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพความเป็นอยู่กับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 11(3), 13-14.

โชคชัย สุทธาเวศ, พรพิมล กองทิพย์, วิทยา อยู่สุข และสุทธินันท์ ฉันท์ธนกุล. (2548). คู่มือประมวลมาตรฐานแรงงานและเปรียบเทียบสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า และอุตสาหกรรมส่งออก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศาลาแดง.

ธีระพงษ์ สมประเสริฐ. (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานของช่างโทรศัพท์ด้านสายตอนนอก บริษัททีโอที จำกัด (มหาช). สารนิพนธ์พัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต, สาขาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการ, สังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประวิทย์ พัดลม. (2541). แรงงานหญิงในภาวะเศรษฐกิจซบ. ดอกเบี้ย, 16(202), 115.

ผจญ เฉลิมสาร. (2540). คุณภาพชีวิตการทำงาน. Productivity World, 2(7), 22-25

Krejcie, R, V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Retrieved February 16, 2009, from http://www.usd.edu/~mbaron/edad810/Krejcie.pdf

Walton, R.E. (1973). Quality of work life: What is it?. Slone Management Review, 15, 11-21.

Downloads

Published

2021-09-06