ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในชุมชน อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

Factors Related to Exercise Behaviors of The Elderly in The Community, Ban Pho District, Chachoengsao Province

Authors

  • สุรีย์ สร้อยทอง
  • นิคม มูลเมือง
  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ

Keywords:

การออกกำลังกาย, ผู้สูงอายุ, สุขภาพและอนามัย, การสนับสนุนทางสังคม, ภาวะสุขภาพ, จังหวัดฉะเชิงเทรา

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพทางกาย การสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในชุมชน อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 378 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพทางกาย การสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ การสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสาร การสนับสนุนทางสังคม ด้านวัตถุ สิ่งของ และพฤติกรรมการออกกำลังกาย มีค่าความเที่ยงตามวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .94, .89, .80, และ .79 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เปียร์แมนและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล  ผลการวิจัยพบว่า เพศ ประสบการณ์เดิมการออกกำลังกาย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rpbi = .196, p < .001 และ .501, p < .001) ระดับการศึกษา รายได้ การสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ การสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสาร การสนับสนุนทางสังคมด้านวัตถุสิ่งของ มีความสัมพันธ์ทางบวก กับพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Spearman rho’s = .130, .115, p < .05 และ .682, .598 .521, p < .001 ตามลำดับ) อาการเจ็บป่วย อาการหรืออาการแสดง มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Spearman rho’s = -.146, p < .05 และ -.240, p < .001) ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลควรส่งเสริมให้มีการสนับสนุนทางสังคมโดยเน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน เพื่อให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น  The objective of this study was to describe the relationships between personal factors, physical health status, social support, and exercise behaviors of the elderly in the  community. Multistage random sampling technique was used to select 378 elderly in the community, Banpho district, Chachoengsao province The interview questionnaires included personal factors, physical health status, emotional support, information support, tangible support, and exercise behavior instruments were .94, .89, .80, and 79 respectively. Spearman’s rank correlation and point-biserial correlation were used to analyze the data. The results showed that gender and previous exercise experience were positively related to exercise behavior (rpbi = .196, p < .001 and .501, p < .001). The education, income, emotional support, information support, tangible support were positively related to exercise behavior (Spearman rho’s = .130, .115, p < .05 and .682, .598 .521, p < .001). Past illness and signs or symptoms were negatively related to exercise behavior (Spearman rho’s = -.146, p < .05 and -.240, p < .001).  The results of this study suggests that nurses should promote social support for the elderly by emphazing participation of the family and community in order to increase exercise behaviors in the elderly.

References

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการ. (2547). การเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

ฉัตรชัย ใหม่เขียว. (2544). ผลของการเพิ่มสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการออกำลังกายของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นพวรรณ ภัทรวงศา. (2542). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพยาบาลสาธารณสุข, มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2548). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประดิษฐ์ นาทวิชัย. (2547). ภาวะสุขภาพและพฤติการณ์ออกกำลังกายของครูในจังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Callaghan, P., & Morrissey, J. (1993). Social support and health : A review. Journal of Advanced Nursing, 18(2), 203-210.

Deuster, P. (1996). Exercise in the prevention and treatment of chronic disorders. Women’s Health lssues, 6(6), 320-331.

Ebersole, P., & Hess, P. (210). Toward health aging : Human needs and nursing response (7th ed) St. Louis : Mosby.

Eliopoulos, C. (2005). Gerontologial nursing (5th ed.). Philadelphia: J.B. Lippincott.

Garber, A.M. (1997). Cholesterol screening should be targeted. American Journal of Medicine, 102(2), 26-30.

Downloads

Published

2021-09-06