ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของผู้ต้องขังชายเรือนจำเขต 2

Factors Influencing AIDS Preventive Behaviors among Male Prisoners in Prison Region 2

Authors

  • รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์
  • พรนภา หอมสินธุ์
  • ปรีชา สร้อยสน

Keywords:

โรคเอดส์, การป้องกันและควบคุม, พฤติกรรมสุขภาพ, พฤติกรรมป้องกันโรคเอสด์ , ผู้ต้องขังชาย, ความเชื่อด้านสุขภาพ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของผู้ต้องขังชายในเรือนจำ โดยใช้กรอบแนวคิดความเชื่อด้านสุขภาพ (Rosenstock, 1974) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ต้องขังเด็ดขาดชายในเรือนจำทัณฑสถานเขต 2 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 407 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป การรับรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ พฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน  ผลการศึกษาพบว่า ผู้ต้องขังที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ต้องขังด้วยกัน มีจำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 10.30 และมีเพียงร้อยละ 50 ที่มีการใช้ถุงอนามัยทุกครั้ง ส่วนพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ด้านการใช้ชีวิตประจำวัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี แต่ยังพบว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงบางอย่าง เช่น การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น การดัดแปลงอวัยวะเพศโดยใช้อุปกรณ์ร่วมกับผู้อื่น การใช้อุปกรณ์การสักหรือเจาะตามร่างกาย การสัมผัสเลือด น้ำเหลืองโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า อายุ ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคเอดส์ และการรับรู้ประโยชน์การป้องกันโรคเอดส์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ ด้านการใช้ชีวิตประจำวัน (r = .14, p < .05 ; r= ,38, p < .05; r = .31, p < .01; r = .17, p < .01 ตามลำดับ)  ส่วนปัจจัยด้านจำนวนครั้งของการต้องโทษมีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ด้านการใช้ชีวิตประจำวัน (r = -5, p < .02) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า อายุ ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ จำนวนครั้งการต้องโทษและการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคเอดส์ (β = .16, p < .05; β = .33, p < .05; β = -.14, p < .02; β = .21, p < .01 ตามลำดับ) เป็นปัจจัยที่สามารถอธิบายพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของผู้ต้องขังชายเรือนจำเขต 2 ได้ (R2 = .24, p < .01)  ดังนั้นในการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ด้านการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ต้องขังชายควรคำนึงถึงการให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ การพัฒนาทักษณะการป้องกันตนเองและการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันโรค  The purpose of this predictive correlational research was to study AIDS preventive behaviors, an factors influencing AIDS preventive behaviors among male prisoners based on Health Belief Model (Rosenstock, 1974). The sample consisted of 407 strictly male inmates in the Prison Region 2 and sample was selected by multi-stage random sampling. The research instruments included general characteristics, perceptions of AIDS, knowledge about AIDS, and AIDS preventive behaviors questionnaires. Data were analyzed by descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficient and stepwise multiple regression.  The results revealed that 42 prisoners (10.30 percent of prisoners) who reported having sex with inmates and only 50 percent of them reported consistently using condom. Overall score of AIDS preventive behavior for daily living was at good level, however, some high risk behaviors were found including sharing personal belongings with others, having genital modification and sharing tool with others, tattoo or puncture without clean or sterile tool, and contacting blood or serum without protective equipments. Bivariate analysis showed that age, knowledge about AIDS, perceived self-efficacy of AIDS prevention, and perceived benefits of AIDS prevention were positively correlated to AIDS preventive behavior for daily living (r = .14, p < .05; r= ,38, p < .05; r = .31, p < .01; r = .17, p < .01 respectively) while the number of convicts was negatively related to AIDS preventive behavior for daily living (r = -.15, p < .02). Stepwise multiple regression identified that age, knowledge about AIDS the number of convict, and perceived self-efficacy of AIDS prevention (β = .16, p < .05; β = .33, p < .05; β = -.14, p < .02; β = .21, p < .01 respectively). Were statistically influencing factors and could explain AIDS preventive behavior for daily living (R2 = .24, p < .01).  The findings suggest that program on enhancing AIDS preventive behavior for daily living in male prisoners should focus on AIDS education, skill training for AIDS prevention, and environmental arrangement for daily living in the prison.

References

กนกวรรณ สุธรรม. (2546) พฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของผู้ต้องขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กรรณิการ์ มังกโรทัย. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อโรคเอดส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

งามนิตย์ ราชกิจ. (2543). ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จันทร์เพ็ญ ศรีทัศน์. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดนนทบุรี. งานนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเษตรศาสตร์.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย.

Bandura, A. (1977). Self-efficacy : Toward a unifying theory of behavior. Change Psychological Review, 84, 191-215.

Bandura, A. (1971). Social learning theory. New York : General Learning Press.

Becker, M. H. (1974). The health belief model and sick role behavior. NJ : Chales B’Stack.

Becker, M. H., & Maiman, L. A. (1975). Sociobehavioral determinants of compliance with health and medical care recommendations. Medical Care, 13(1), 10-24.

Brunswick, A. F., & Banaszak H. J. (1996). Risk behavior and the health belief model : An empirical test in an African American community sample. Journal of Community Psychology, 24(1), 44-46.

Downloads

Published

2021-09-06