การตายดีตามการรับรู้ของผู้ป่วย

Good Death as Perceived by the Patients

Authors

  • วัลภา คุณทรงเกียรติ

Keywords:

การตาย, การรับรู้, ผู้ป่วย

Abstract

          การวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาของไฮเดกเกอร์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายการตายดีตามการรับรู้ของผู้ป่วย ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ป่วยที่มารับบริการหรือพักรักษาในโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยและศูนย์มะเร็งแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 14 คน เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 ถึงเดือนสิงหาคม 2554 โดย วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกต และการสะท้อนคิด วิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอนของ Cohen, Kahn & Steeves (2000) ผลการศึกษาพบประเด็นหลักเกี่ยวกับการตายดีตามการรับรู้ของผู้ป่วยรวม 3 ประเด็น คือ ความหมายของการตายดี การเตรียมพร้อมเพื่อการตายดีและความปราถนาเพื่อการตายดี  ผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งถึงการตายดีตามการรับรู้ของผู้ป่วยทำให้สามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาการพยาบาลเพื่อช่วยเหลือให้เกิดการตายดี และการทำวิจัยต่อไปเพื่อพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแล เพื่อการตายดีที่มีประสิทธิภาพต่อไป  A qualitative research based on Heideggerian phenomenology aimed to describe good death as perceived by the patients. Fourteen informants who were the patients at a university hospital and cancer center in Chonburi province were purposively selected. Data were collected by in-depth interview, observation, and critical reflection. Cohen, Kahn and Steeves’s (2000) step guided data analysis. Three themes. of good death as perceived by the patients emerged, which were meanings of good death, preparing for good death, and the wish for good death. This findings provide deep understanding of good death as perceived by the patients. It can be the basic foundation for nurses to provide good death nursing care and further explore for greater understanding and development of a body of knowledge regarding good death nursing care. 

References

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2550). วัฒนธรรม ความตาย กับวาระสุดท้ายของชีวิต : คู่มือการเรียนรู้มิติทางสังคมของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. กรุงเทพฯ: บริษัทหนังสือดีวัน จำกัด

พุทธทาสภิกขุ. (2544). คู่มือมนุษย์ฉบับ 3 ภาษา. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.

พระไพศาล วิสาโลก. (2550). การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยวิถีแบบพุทธ ใน ประเสริฐ เลิศสงวน รัตนชัย อิศรางค์ นุชประยูร พรเลิศ ฉัตรแก้ว และฉันชาย สิทธิพันธ์ (บรรณาธิการ) การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (หน้า 239-57). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์.

Beckstrand, R. L., Callister, L.C., & Kirchhoff, K. T. (2006). Providing a “good death”: Critical care nurses’ suggestions for improving end-of-life care. American Journal of Critical Care, 15(1), 38-45.

Bradbury, M. (2000). The good death? In D. Dickenson, M. Johnson., & J.S. Katz (Eds). Death, dying and bereavement (pp.59-63). London: Open University/Sage.

Carter, H., MacLeod, R., Brander, P., & McPherson, K. (2004). Living with a terminal illness: Patient’s priorities. Journal of Advanced Nursing, 45 (6), 611-620.

Chao, CSC. (1993). The meaning of good dying of Chinese terminally ill cancer patients in Taiwan. Ph.D Thesis, Frances Payne Bolton School of Nursing, Case Western Reserve University.

Chen, R. (2009). The spirit of humanism in terminal care: Taiwan experience. The Open Area Studies Journal, 2,7-11.

Costello, J. (2006). Dying well: Nurses’ experience of “good and bad death” in hospital. Journal of Advanced Nursing, 54 (5), 594-601.

Giggs, C. (2010). Community nurses’ perceptions of a good death: A qualitative exploratory study. International Journal of Palliative Nursing, 16(3), 139-48.

Downloads

Published

2021-09-06