การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างความรักในครอบครัววัยรุ่น

Program Development to Promote Love in Adolescent Family

Authors

  • สงวน ธานี
  • อาภรณ์ ดีนาน
  • สุภาภรณ์ ด้วงแพง

Keywords:

ความรัก, ครอบครัว, ความสัมพันธ์ในครอบครัว, การเสริมสร้างความรักในครอบครัว , ครอบครัววัยรุ่น

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างความรักในครอบครัววัยรุ่น โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ในระยะที่ 1 การสร้างโปรแกรม เป็นขั้นตอนพัฒนาองค์ประกอบ และกระบวนการของโปรแกรม โดยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การบูรณาการผลการวิจัยที่ผู้วิจัยและคณะศึกษาจากกลุ่มวัยรุ่น ครอบครัวและ ครู และใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (focus group) กับวัยรุ่นและครอบครัวอาสาสมัครที่สมัครใจเข้าร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 5 ครอบครัว จากนั้นทำการสังเคราะห์เนื้อหาของโปรแกรมได้ 8 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) ครอบครัวของเรา 2) บทบาทและหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว 3) สร้างความรักในบ้าน ด้วยการสื่อสารที่ดี 4) การพัฒนาความใกล้ชิดผูกพันด้วยการใช้เวลาในการทำกิจกรรมร่วมกัน 5) การแสดงออกซึ่งความรักและความเอื้ออาทรกัน 6) เติมเต็มกำลังใจให้แก่กันและกัน 7) การจัดการกับความเครียด และ 8) ผูกสัมพันธ์วันแห่งความรัก แต่ละองค์ประกอบถูกนำมาสร้างกิจกรรมกลุ่มสำหรับวัยรุ่นและครอบครัว จำนวน 8 กิจกรรม ๆ ละ 60-90 นาที  ระยะที่ 2 การทดสอบโปรแกรม โดยใช้การวิจัยแบบกลุ่มเดียว ทดสอบ 3 ระยะได้แก่ ก่อน หลัง และติดตามผล 1 เดือน วัดผลโดยใช้แบบวัดการเสริมสร้างความรักในครอบครัวที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นทดสอบกับวัยรุ่นและครอบครัว จำนวน 15 ครอบครัววิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการเสริมสร้างความรักในครอบครัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 เมื่อ ทดสอบรายคู่ของระยะเวลาด้วย Bonferroni พบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยการเสริมสร้างความรักในครอบครัวระหว่างก่อนการทดลองกับระยะหลังการทดลอง และระหว่างก่อนการทดลองกับระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)  ผลการวิจัยที่ได้ควรนำโปรแกรมการเสริมสร้างความรักไปใช้เพิ่มเติมในกลุ่มวัยรุ่นที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น กลุ่มวัยรุ่นที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด กลุ่มวัยรุ่นที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ กลุ่มที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว  This research aimed to develop program to promote love in adolescent family. The process was divided into 2 phases; program development and testing program. The first phase aimed to develop content and process of the program. Literature review; the researcher’s previous research results from adolescents, parents, and teachers; and the results of the focus group of 5-volunteer adolescents and their families were incorporated in the program. Finally, the program contains of 8 components including 1) our family 2) role and responsibility of family member 3) built up love in family by communication 4) bonding development among family member by family activities 5) expression of love and caring for each other 6) reinforcement among family members 7) stress management and 8) commitment to our family: love and relationship day. These components were used to create 8 group activities for adolescents and their families, and each activity requires 60-90 minutes to be completed.  The second phase aimed to test the program. One group pretest-posttest-follow up design was selected. Fifteen adolescents and their families participated in the program. The family love enhancement was evaluated 3 times at baseline, after finishing program and 1 month later by the family love enhancement scale developed by the researcher. Data were analyzed using one-way ANOVA repeated measures. The result showed that the family love enhancement score after finishing program and follow up were significant higher than the score at baseline (p < .001). Moreover, Bonferroni indicated the significant different between pre-program and after program as well as pre-program and follow up (p < .001).  Recommendations include widely test the program to promote love in adolescent family in various adolescent risk groups such as substance abuse, low achievement, and aggressive behavior.

References

เกษม ตันติผลาชีวะ. (2540). “ความรักกับสุขภาพจิต.” วารสารใกล้หมอ, 24(2), 71-72.

ดุษฎี โยเหลา, งามตา วนินทานนท์, ชัยวัฒน์วงศ์อาษา และ ทัศนา ทองภักดี. (2545). ความเข้มแข็งของครอบครัว : ครอบครัวสุขภาพดี. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 8(1), 1-10.

นวลศิริ เปาโรหิตย์. (2545). ก่อนจะถึงวันนั้น (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : บริษัท เคล็ดไทย จำกัด.

นิคม วรรณราชู. (2542). อบรมบ่มนิสัยลูกด้วยความรัก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิชย์ จำกัด.

พัชนี เชยจรรยา และประทุม ฤกษ์กลาง. (2531). รูปแบบการสื่อสารในครอบครัวและการเปิดรับสื่อมวลชนของเยาวชนในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Amato, P.R., & Fowler, F. (2002). Parenting practices, child adjustment, and family diversity. Journal of Marriage and Family, 64, 703-716.

Beavers, W.R., & Hampson, R.B. (1993). Measuring family competence: The beavers system model. In F.Walsh (Ed.). Normal family processes (2nd ed). New York: Guilford.

Best, B. (2003). “Some philosophizing about love.” [On-line] Retrieved March 10, 2007, from http://www.benbest.com/philo/philove.html.

Deslandes. R., & Bertrand, R. (2005). Motivation of parent involvement in secondary-level schooling. The Journal of Educational Research, 98, 164-175.

Epstien, N.B., Bishop, D.S., & Baldwin, L.M. (1993). McMaster model of family functioning : A view of the normal family. In F. Walsh (Ed.) Normal family processes (2nd ed). New York : Guilford.

Downloads

Published

2021-09-06