คุณภาพการตรวจคัดกรองเท้าเบาหวานด้วยอุปกรณ์ไบ-ฟิลาเมนท์โดย อสม.

Quality of Diabetic Foot Screening with Bi-filament by Village Health volunteers

Authors

  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
  • วนิดา นาคศิลา
  • สมควร เฟ้นดี้
  • วิไลวรรณ บุรวัฒน์
  • รวิสุดา บานเย็น
  • ธนวรรณ โรจนโสดม

Keywords:

เบาหวาน, ผู้ป่วย, โรคเท้า, การตรวจคัดโรค, เท้าเบาหวาน , ไบ-ฟิลาเมนท์ , อสม, bi-filament

Abstract

          การวิจัยสถาบันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพของอุปกรณ์ตรวจเท้าเบาหวานชนิดสองเส้นเอ็น: ไบ-ฟิลาเมนท์ (Bi-filament) ซึ่งเรียกว่า “อุปกรณ์ตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวานที่มีตัวกำหนดระดับน้ำหนักการกด” หรือ “อุปกรณ์ตรวจเท้าเบาหวานแบบ ไบ-ฟิลาเมนท์” หรือ “Bi-filament” เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ใช้ตรวจคัดกรองสภาพเท้าเบาหวาน ทำการศึกษาที่ตำบลเหมือง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย อสม. จำนวน 10 คน จาก 1 หมู่บ้าน (บ้านดอนล่าง) ที่สุ่มมาแบบกลุ่ม (cluster random sampling) จำนวน 1 หมู่บ้านจาก 5 หมู่บ้าน และประชาชนที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบของ อสม. ที่เป็นตัวอย่าง จำนวน 34 ราย ซึ่งเป็นทั้งผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้มีภาวะเสี่ยง และผู้ที่มีสุขภาพดี จากการจำแนกด้วยระดับน้ำตาลในเลือดเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกข้อมูลในห้องปฏิบัติการ และแบบบันทึกการรับความรู้สึกป้องกันอันตรายที่เท้า (protective sensation) ที่ทำการตรวจบันทึก โดย อสม. และโดยพยาบาลวิชาชีพ เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one way ANOVA) ทดสอบคุณภาพของการคัดกรองด้วย ค่าความไว (sensitivity) ค่าความจำเพาะ (specificity) คุณค่าทำนายผลบวก (positive predictive value) คุณค่าทำนายผลลบ (negative predictive value) และ ความแม่นตรงของการคัดกรอง (accuracy)  ผลการวิจัยมีดังนี้  ค่าเฉลี่ยน้ำหนักแรงกดบนเครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอลในห้องปฏิบัติการมีค่าเท่ากับ 10.26 กรัม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.23 กรัม ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับ 10 กรัมที่ใช้เป็นระดับที่แสดงการสูญเสียการรับรู้ความรู้สึกป้องกันอันตราย (loss of protective sensation) และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของผู้กด 4 คน กดคนละ 10 ครั้ง พบว่าไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 (F = 2.15 ; df = 3, 36 ; p = .11)  คุณภาพของการตรวจคัดกรองการสูญเสียการรับรู้ความรู้สึกป้องกันมีค่าความไว (sensitivity) เท่ากับร้อยละ 95.24 ค่าความจำเพาะ (specificity) เท่ากับ ร้อยละ 100.00 ค่าการทำนายผลบวก (positive predictive value) เท่ากับ ร้อยละ 100.00 ค่าการทำนายผลลบ (negative predictive value) เท่ากับร้อยละ 99.60 ค่าความแม่นตรง (accuracy) เท่ากับร้อยละ 99.63  จากคุณภาพการคัดกรองของอุปกรณ์ซึ่งมีค่าสูงจึงเสนอแนะให้ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวในการคัดกรองการสูญเสียความรู้สึกป้องกันอันตรายที่เท้าโดย อสม. หรือสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยเบาหวานอย่างสม่ำเสมอ  The purpose of this institute research was to study the quality of the foot neuropathy screening tool, “Bi-filament” or “Diabetes foot screening tool”, which is used by village health volunteers. The study was in Mhuang sub-district, Maung district, chonburi province. This screening tool was used by ten village health volunteers from one village which was selected by cluster random sampling from five villages, Moo 1 Ban Don Lang was selected, to screen thirty four people who were more than thirty years old and who were under health supervision of these health volunteers. The participants were healthy person group, risk of diabetes mellitus group and diabetes mellitus patient groups, and were identified by blood sugar levels. The record form was used for data collection in laboratory and field tests. The protective sensation of foot was collected by the same record form, that was screened with Bi-filament by health volunteers and with monofilament by professional nurses. All of the nurses have more experience to use the tool for confirming the output. Descriptive statistics, one way ANOVA, sensitivity, specificity, positive predictive value, negative predictive value, and accuracy were used for quality analysis.  The results revealed that the mean of the weight on digital scale in laboratory was 10.26 grams, (SD = 0.23 grams) that almost equal ten grams which are used to detect loss of protective sensation or neuropathy foot. The comparison among four people, each ten times using the Bi-filament, was not significantly different at .05 level (F =2.15; df = 3, 36; p = .11).  The screening quality of Bi-filament: sensitivity was 95.24%, specificity was 100.00%, positive predictive value was 100.00%, negative predictive value was 99.60%, and accuracy was 99.63%.  According to the high quality of screening, it is suggested that the village health volunteers or the diabetes family would normally use the Bi-filament to check the neuropathy foot of diabetes patients.

References

เชิดพงศ์ หังสสุต, (2551). GIGO Mono-Filament Calibrated Or Not? วันที่ค้นข้อมูล 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เข้าถึงได้จาก http://www.gotoknow.org/blog/footcareclinic/218924

เทพ หิมะทองคำ, วัลลา ตันตโยทัย, พงศอมร บุนนาค, ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์, และสุนทรี นาคะเสถียร. (2548). การทบทวนองค์ความรู้เบาหวานและน้ำตาลในเลือดสูง. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

มาตรฐานการประเมินผลการตรวจด้วย the Semmes-Weinstein monofilament. (2549). ใน เอกสารประกอบการอบรมระยะสั้นเรื่อง การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานเป็นทีม รุ่นที่ 1. วันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2549. ห้องประชุม 89 พรรษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วรรณี นิธิยานันท์, สาธิต วรรณแสง, และชัยชาญ ดีโรจนวงศ์. (บรรณาธิการ). (2550). สถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: วิวัฒน์การพิมพ์.

ศิริพร จันทร์ฉาย. (2005). การดูแลเท้าเบาหวาน: การป้องกันการถูกตัดเท้า. Chula Med J., 49(3), 143-188.

Armstrong, D.G., & Lavery, L.A. (1998). Diabetic foot ulcers: Prevention, diagnosis and classification. American Family Physician. March 15. Retrieved January 10, 1010, from http://www.aafp.org/afp/980315ap/index.html.

Armstrong, D.G., Lavery, L.A., Vela, S.A., Quebedeaus, T.L., & Fleischli, J.G. (1998). Choosing a practical screening instrument to identify patients at risk for diabetic foot ulceration. JAMA & Archives. 158(3), February 9, Retrieved January 10, 2010, from http://archinte.ama-assn.org/cgi/content/full/158/3/289#ACK

Harkness, G.A. (1995). Epidemiology in nursing practice. St. Louis: Mosby.

Singh, N., Armstrong, D.G., & Lipsky. B.A. (2005). Preventing foot ulcers in patients with diabetes. JAMA, 293(2), 217-228.

Srisawasdi, G. (2549 a). Diabetic foot. ใน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. เอกสารประกอบการอบรม โครงการอบรมระยะสั้น การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานเป็นทีม รุ่นที่ 1. วันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2549 ณ ห้องประชุม 89 พรรษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Srisawasdi, G. (2549 b). Diabetic foot: Evaluation and care. ใน คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. เอกสารประกอบการอบรมโครงการอบรมระยะสั้น การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานเป็นทีม รุ่นที่ 1. วันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2549 ณ ห้องประชุม 89 พรรษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

Published

2021-09-06