ผลของการสนับสนุนในระยะคลอดจากญาติใกล้ชิดต่อความเจ็บปวดความวิตกกังวลและความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอดของมารดาครรภ์แรก

The Effects of Labor Support by Close Relative on Pain, Anxiety, and Satisfaction with Childbirth Experience among Primiparous Mothers

Authors

  • ศิริวรรณ ยืนยง
  • นันท์นภัส รักไทย

Keywords:

ความเจ็บปวด, ความวิตกกังวลในผู้ป่วย, ความพอใจ, การคลอด, มารดาครรภ์แรก, ประสบการณ์การคลอด

Abstract

          การคลอดในโรงพยาบาลอาจทำให้มารดารู้สึกโดดเดี่ยว ต้องเผชิญกับความเจ็บปวด ความวิตกกังวล และสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยตามลำพัง ดังนั้นคุณภาพการดูแลช่วยเหลือที่มารดาได้รับในระหว่างการเจ็บครรภ์และการคลอดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่พยาบาลต้องให้ความสนใจ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการสนับสนุนในระยะคลอดจากญาติใกล้ชิดต่อความเจ็บปวด ความวิตกกังวล และความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาครรภ์แรกที่มาคลอดในโรงพยาบาลอ่าวอุดม จังหวัดชลบุรี จำนวน 60 ราย สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ 30 ราย กลุ่มทดลองได้รับการสนับสนุนในระยะคลอดจากญาติใกล้ชิดตามที่มารดาเลือกเองตั้งแต่เริ่มเจ็บครรภ์ถี่จนถึง 1-2 ชั่วโมงแรกหลังคลอดร่วมกับได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างเดียว เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางสูติศาสตร์ มาตรวัดความเจ็บปวดชนิดตัวเลข แบบสังเกตพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด แบบวัดความวิตกกังวลแฝงและขณะเผชิญ และแบบวัดความรู้สึกต่อประสบการณ์การคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการทดสอบค่าที  ผลการศึกาพบว่า กลุ่มทดลองมีความวิตกกังวลน้อยกว่าและมีความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอดมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05 และ p = .001 ตามลำดับ) ส่วนความเจ็บปวดของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การสนับสนุนในระยะคลอดจากญาติใกล้ชิดส่งผลให้มารดามีความวิตกกังวลน้อยลงและพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอดมากขึ้น ดังนั้นโรงพยาบาลต่างๆ จึงควรอนุญาตให้ญาติใกล้ชิดเข้ามามีส่วนช่วยดูแลสนับสนุนมารดาระหว่างการเจ็บครรภ์และการคลอด    When women give births in hospital, they may experience emotional loneliness and deal with pain, anxiety, and unfamiliar environment. Thus, the quality of support that women receive during labor and delivery is important and nurses need to be concerned. The purpose of this study was to compare the effect of an intervention of labor support by close relative on pain, anxiety, and satisfaction with the childbirth experience. Subjects were 60 primiparous mothers admitted to labor unit, Ao Udom Hospital, Chonburi Province. They were randomly assigned to either an experimental group (n = 30) or a control group (n = 30). The experimental group received support by a close relative of her choice from active labor until 1-2 hours after birth ad well as a routine care, while the control group received a routine care only. Data were collected by using demographic and obstetric data collection tool, numeric pain scale, pain coping behavior observation form, State-Trait Anxiety Inventory, and Labour Agentry Scale. Descriptive statistics, repeated measure ANOVA, and independent t-test were performed for data analysis.  The findings found that the experimental group had significantly lower anxiety and was more satisfied with their childbirth experience than the control group (p < .05 and p = .001, respectively). There was no different between groups in the pain. This study confirmed the effectiveness of labor support by close relative had less anxiety and more satisfaction with the childbirth experience. Therefore, hospital should allow a close relative to provide support for women during labor and delivery.

References

ฉวี เบาทรวง และสุพิศ รุ่งเรืองศรี. (2537). ผลของการสัมผัสต่อการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดและการรับรู้ประสบการณ์การคลอด. ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชญานิน บุญพงษ์มณี โสเพ็ญ ชูนวล และ เยาวเรศ สมทรัพย์. (2548). ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจร่วมกับแรงสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในสตรีระยะคลอดต่อภาวะจิตใจ พฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด และผลลัพธ์การคลอด. สงขลานครินทร์เวชสาร, 23(1), 37-47.

นิตยา คชภักดี สายฤดี วรกิจโภคาทร และมาลี นิสัยสุข. (2526). แบบประเมินความวิตกกังวล (อัดสำเนา).

รัตน์ศิริ ทาโต. 2552). การวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศิธร พุมดวง. (2548). อุปสรรคและปัญหาการลดปวดในระยะคลอด. สงขลานครินทร์เวชสาร, 23(1) , 53-59.

Bergum, V. (1989). Woman to mother: A transformation. Massachusetts: Greenwood Publisher Group.

Bramadat, I.J., & Driedger, M. (1993). Satisfaction with childbirth: Theories and methods of measurement. Birth 20, 22-29.

Burns, N., & Grove, S.K. (2001). The practice of nursing research: Conduct, critique, utilization (4th ed.). Philadelphia: W.B. Saunders company.

Chunuan, S., Kala, S., & Kochapakdee, W. (2004). Childbirth policy in Thailand : Is it a time to change?. Songkla Medical Journal, 22(4), 263-272.

Chunuan, S., et al. (2009). Effect of the family members during the first stage of labor on childbirth outcomes in a provincial hospital in Songkhla Province, Thailand. Thai Journal of Nursing Research, 13(1), 16-27.

Downloads

Published

2021-09-06