ผลของการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนต่อความรู้และการปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์เมื่อได้รับยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนเพื่อการผ่าตัดคลอด โรงพยาบาลอินทร์บุรี

Effects of Structured Information Provision Program on Knowledge and Practice of Pregnant Women Receiving Spinal Anesthesia for Cesarean Section at Inburi Hospital

Authors

  • อมรรัตน์ หลิ่มวิรัตน์
  • จุฬาลักษณ์ บารมี

Keywords:

สตรีมีครรภ์, ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่, การระงับความรู้สึกในสูติศาสตร์, การผ่าตัดคลอด, โรงพยาบาลอินทร์บุรี

Abstract

          การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่มวัดก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนต่อความรู้ และการปฏิบัติตัวเมื่อได้รับยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนในหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน เพื่อการผ่าตัดคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ ที่มีข้อบ่งชี้ของการทำผ่าตัดคลอดและได้รับยาระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังที่โรงพยาบาลอินทร์บุรี ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2552-มีนาคม 2553 จำนวนกลุ่มละ 64 ราย รวม 128 ราย ผู้วิจัยพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้อย่างมีแบบแผน โดยใช้สื่อวีซีดีแก่หญิงตั้งครรภ์กลุ่มทดลองที่คลินิคฝากครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการได้รับยาระงับความรู้สึกมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) .60-1.00 ค่าความเชี่อมั่น KR-20 เท่ากับ .78 และแบบประเมินการปฏิบัติตัวเมื่อได้รับยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที  ผลการวิจัย พบว่าในกลุ่มทดลองความรู้หลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 3.22, p แบบทางเดียว < .001) ความรู้และการปฏิบัติตัวเมื่อได้รับยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.24 p แบบทางเดียว = .006, t = 2.83 p แบบทางเดียว = .001 ตามลำดับ)  ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าควรมีการพัฒนารูปแบบการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนกับหญิงตั้งครรภ์ทุกรายทั้งที่คลินิกฝากครรภ์ และในห้องคลอด รวมทั้งพัฒนาแนวทางการดูแลการให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนในกรณีเร่งด่วน เพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยทั้งมารดาและทารก  This 2-group, pre and posttest, quasi-experimental research aimed to examine the effect of structured information provision program on knowledge and practice in pregnant women receiving spinal anesthesia for cesarean section. The sample was 128 pregnant women, 64 for each group, having criteria for cesarean section and received spinal anesthesia at Inburi hospital during July 2009 to March 2010. The researcher developed a structured information provision program by using VCD for the experimental group whereas the control group received routine care. Data were collected by the knowledge test having IOC .60 to 1.00 and KR-20 of .78; and, the practice assessment of pregnant women undergoing spinal anesthesia. Mean, standard deviation, paired t-test and independent t-test were used to analyze data.  The findings showed that, after receiving the structured information provision program, knowledge scores of the experimental group increased significantly at alpha level .05 (t = 3.22 one-tailed p < .001). In addition, the experimental group had knowledge and practice scores after receiving program higher than those of the control group (t = 2.24 one-tailed p = .006 and t = 2.83 one-tailed p = .001, respectively)  The results indicate that the structured information provision program should be developed for all pregnant women at ANC clinic and labor room. In addition, the development of guidelines for caring urgent spinal anesthesia cases would be safe both mother and newborn.

References

กชกร ไพบูลย์ศิริจิต. (2551). คลอดผ่าตัดดมยาสลบหรือบล็อกหลังดี. เข้าถึงวันที่ 1 มีนาคม 2551, จาก http://www.doctor.or.th/node/1194

เกศชาดา เอื้อไพโรจน์กิจ. (2548). การให้ยาระงับความรู้สึกในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. ใน วิชัย อิทธิชัยกุลฑล, รื่นเริง ลีลานุกรม, กำธร ตันติวิทยาฑันต์ และ เสาวภาค จำปาทอง (บรรณาธิการ)ม ตำราฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 1, หน้า 278-287). กรุงเทพฯ: ส.เอเซียเพรส (1989) จำกัด.

ชูศรี พิศลบุตร. (2551). Anesthetic management in severe preeclampsia. ใน วิรัตน์ วศินวงษ์, กัณฑิวา รุจิโรจน์จินดากูล (บรรณาธิการ), แนวปฏิบัติสู่การลดอุบัติการณ์ทางวิสัญญี (พิมพ์ครั้งที่ 1, หน้า 320-332). สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

ธีรเดช ธำรงธีระกุล. (2550). ไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ (เดือนที่ 7-9). เข้าถึงวันที่ 14 ธันวาคม 2550, จาก http://amopookapui.exteen.com/page-9

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย จำกัด.

ประนอม นพคุณ. (2551). ผลของการสอนด้วยสื่อผสมต่อความเชื่อด้านสุขภาพและการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในผู้ป่วยวัณโรคปอด. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาการพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พนารักษ์ นาทิเลศ. (2541). ผลการสอนด้วยสื่อวิดีทัศน์ต่อความรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียและพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลแม่และเด็ก, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

อุดมศิลป์ ปิ่นสุข. (2522). วิจัยชั้นเรียนตอนที่ 1 สมาธิของชั้นเรียน. เข้าถึงวันที่ 4 กันยายน 2552, จาก http://twiki.phys.sc.chula.ac.th/twiki/bin/view/Main/UdomsilpUP

Knowles, M.S. (1975). Self-directed learning: A guide for learners and teachers. Chicago: Follet Publishing Company.

Knowles, M.S. (1980). The modern practice of adult education: From pedagogy to andragogy. New York: Cambridge, The Adult Education Company.

Downloads

Published

2021-09-06