ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในชุมชน

Physical and Mental Health Relationships in Community-Dwelling Older Adults

Authors

  • ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
  • วารี กังใจ
  • นฤมล ปทุมารักษ์

Keywords:

ผู้สูงอายุ, สุขภาพจิต, สุขภาพและอนามัย, ผู้สูงอายุในชุมชน , สุขภาพกาย, ความสัมพันธ์

Abstract

          การวิจัยแบบบรรยายเชิงหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิตตลอดจนศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพและสุขภาพจิตตลอดจนศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรีทั้งในเขตและนอกเขตเทศบาล จำนวน 700 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายชั้น (multi-stage sampling) ทำการสุ่มจากอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน โดยเป็นผู้สูงอายุทั้งเพศชายและหญิงที่สามารถพูดคุยถามตอบรู้เรื่อง และเป็นผู้ที่ไม่อยู่ในภาวะเจ็บป่วยจนไม่สามารถให้การสัมภาษณ์ได้ยินดีและร่วมมือในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปแบบวัดภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิต ซึ่งวัดทั้งสุขภาพจิตด้านบวกได้แก่ ความพึงพอใจในชีวิต การยอมรับตนเอง การมีจุดมุ่งหมายในชีวิต และการมีสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้อื่น และสุขภาพจิตด้านลบโดยการวัดภาวะซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05  ผลการวิจัยพบว่า ในด้านภาวะสุขภาพกายนั้นผู้สูงอายุมีการรับรู้ภาวะสุขภาพกายของตนว่าอยู่ในเกณฑ์แข็งแรง คิดเป็นร้อยละ 39 และค่อนข้างแข็งแรงคิดเป็นร้อยละ 32 โดยมีค่าเฉลี่ยการรับรู้ภาวะสุขภาพเท่ากับ 3.30 (SD = .97) โดยเฉลี่ยผู้สูงอายุมีโรคเรื้อรังอย่างน้อย 2 โรค และอาการที่พบว่ารบกวนต่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุมากที่สุดคือ การมีอาการปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย คิดเป็นร้อยละ 72 ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุไม่มีปัญหาในการประกอบกิจวัตรประจำวันและสามารถช่วยเหลือตนเองได้ สำหรับภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยมีคะแนนเฉลี่ยของภาวะสุขภาพจิตในมิติด้านบวกมีค่าสูงสุดคือ การมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น (Mean = 4.42, SD = .79) ส่วนภาวะสุขภาพจิตด้านลบคือภาวะซึมเศร้า พบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 27 มีภาวะซึมเศร้า โดยมีคะแนนเฉลี่ยของภาวะซึมเศร้าเท่ากับ 11.38 (SD = 6.16) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาพบว่าภาวะสุขภาพกายมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะสุขภาพจิตด้านบวกและมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสุขภาพจิตด้านลบ ผลการวิจัยที่ได้นี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนารูปแบบการบำบัดการพยาบาลเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้สูงอายุต่อไป  The purposes of this descriptive correlational study were to examine physical and mental health status and to test its relationships in community-dwelling older adults aged 60 and over (N = 700) residing in Chon Buri province. Multistage sampling was used to recruit the sample from amphoes, tumbols and villages. Older male and female adults who had cognitively and were physically intact and were able to understand and answer the interview voluntarily participated in this study. They were interviewed about their demographic characteristics, physical health and mental health status. Mental health was measured in both positive and negative dimensions. Positive dimensions included life satisfaction, self-acceptance, purpose in life, and positive relations with others. For negative mental health, depression was measured. Descriptive statistics including percentage, means, standard deviation, and Pearson’s Product Moment Coefficient were employed to analyze the data. Level of statistical significance was set at p < .05.  Results from this study indicated that these older adults perceived their heath as healthy (39%) and rather healthy (32%). The mean score for perceived health status was 3.3 (SD = .97). They had at least 2 chronic illnesses. The most bothersome symptom for them was body aches (72%). The majority of them was able to perform their daily activities and took care of them-selves. Overall, their positive mental health was good. The highest mean scores for positive men-tal health was in positive relations with others (Mean = 4.42, SD = .79). For negative mental health, 27 percent of the sample had depression. The average mean score of depression was 11.38. For the relationship between physical and mental health, physical health status was negatively correlated with positive mental health as measured by self-acceptance, positive relations with others, purpose in life, and life satisfaction and had positive correlation with negative mental health as measured by depression. Results obtained from this study served as essential baseline data to further develop nursing intervention aimed at promoting physical and mental health among older adults.

References

กาญจนา พิบูลย์ ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์ เวธกา กลิ่นวิชิต พวงทอง อินใจ และคนึงนิจ อุสิมาศ. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ. ชลบุรี มหาวิทยาลัยบูรพา

กาญจนา ไทยเจริญ. (2544). ปัจจัยที่เป็นตัวทำนายภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา

เทพฤทธิ์ วงศ์ภูมิ จักรกฤษ สุขยิ่ง และ อุมาพร อุดมทรัพยากุล. (2011). ความชุกของโรคซึมเศร้าในประชากรสูงอายุจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 56(2), 103-116.

เรณา พงศ์เรืองพันธ์. (2540). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่พัฒนาชายฝั่งภาคตะวันออก. ชลบุรี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วารี กังใจ. (2540). ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. ชลบุรี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Adelman, A. M.; Daly, M. P., & Weiss, B.D. (2001). Geriatrics. Boston: McGraw-Hill.

Badger, T. A. (1993). Physical health impairment and depression among older adults. Image: Journal of Nursing Scholarship, 25(4), 327-330.

Chow, H. P. (2010). Growing old in Canada: Physical and psychological well being among elderly Chinese immigrants. Ethnicity & Health, 15(1), 61-72.

Guolong, L., Kessomboon, P., Arunpongpaisal, S., Arunpongpaisal, S., Pinitaoontorn, S., & Kuhirnyaratn, P. (2010). Depression and cognitive impairment among the community dwelling elderly in Khon Kaen. Journal of Psychiatric Association of Thailand, 54 (2), 357-363.

Hays, J. C. Landerman, L. R, George, L. K., Flint, E. P., Koenig, H. G., Land, K. C., & Blazer, D. G. (2001). Social correlates of the dimensions of depression in the elderly. The Journal of Gerontology Series B: Psychological Sciences and Social Science, 53(1), 31-39.

Downloads

Published

2021-09-06