ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มอาการหลังผ่าตัดในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง

Factors Influencing Postoperative Symptom Clusters among Persons Undergone Abdominal Surgery

Authors

  • สุภาภรณ์ ด้วงแพง
  • จุฬาลักษณ์ บารมี
  • อมรรัตน์ แสงใสแก้ว

Keywords:

ศัลยกรรม, ภาวะแทรกซ้อน, ความเจ็บปวดหลังศัลยกรรม, การผ่าตัดช่องท้อง, กลุ่มอาการหลังผ่าตัด

Abstract

          กลุ่มอาการหลังการผ่าตัดช่องท้อง นอกจากจะส่งผลให้ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดทุกข์ทรมานแล้ว ยังส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน การฟื้นสภาพล่าช้า และมีข้อจำกัดในการปฏิบัติหน้าที่ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มอาการหลังผ่าตัดช่องท้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องจำนวน 150 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดและแบบประเมินอาการหลังผ่าตัดช่องท้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติการวิเคราะห์ปัจจัย (factor analysis) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน  ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นในวันที่ 1 หลังการผ่าตัดมี 2 กลุ่มอาการ คือ 1) กลุ่มอาการปวดแผลผ่าตัด ท้องอืด และอ่อนล้า และ 2) กลุ่มอาการวิตกกังวล และนอนไม่หลับ โดยปัจจัยทำนายกลุ่มอาการแรก คือ ขนาดของแผล และชนิดของการผ่าตัด (Beta = .236 และ .179 ตามลำดับ; R2 = 8.9%) ขณะที่ไม่มีปัจจัยใดที่สามารถทำนายกลุ่มอาการที่ 2 กลุ่มอาการ 2 กลุ่มที่เกิดขึ้นในวันที่ 3 หลังผ่าตัด คือ 1) กลุ่มอาการปวดแผลผ่าตัด ท้องอืด อ่อนล้า และนอนไม่หลับ และ 2) กลุ่มอาการวิตกกังวล และคลื่นไส้ อาเจียน โดยปัจจัยทำนายกลุ่มอาการแรก คือ ขนาดของแผลผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อน และชนิดของการผ่าตัด (Beta = .338, .242 และ .213 ตามลำดับ; R2 = 23.0%) สำหรับปัจจัยทำนายกลุ่มอาการที่ 2 คือ อายุ (Beta = .279; R2 = 7.8%)  กลุ่มอาการ 2 กลุ่ม ที่เกิดขึ้นในวันที่ 5 หลังผ่าตัด คือ 1) กลุ่มอาการปวดแผลผ่าตัด ท้องอืด และอ่อนล้า และ 2) กลุ่มอาการวิตกกังวล  และนอนไม่หลับโดยปัจจัยทำนายกลุ่มอาการแรก คือ ขนาดของแผลผ่าตัด (Beta = .282; R2 = 8.0%) และปัจจัยทำนายกลุ่มอาการที่ 2 คือขนาดของแผลผ่าตัด และระยะเวลาในการผ่าตัด (Beta = .286 และ .226 ตามลำดับ; R2 = 19.1%)  ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการกลุ่มอาการหลังผ่าตัดสำหรับผู้ที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องที่มีประสิทธิภาพ และการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการหลังผ่าตัดช่องท้องต่อไป  Post abdominal surgery symptom clusters not only have an effect on patient suffering but also cause complication, delay recovery, and limited activity of daily living. This study aims to examine factors influencing post abdominal surgery symptom clusters. The sample was 150 patients having abdominal surgery. Data were collected by demographic data form, post abdominal surgery complication, and symptom assessment scale. Descriptive statistics, factor analysis, and stepwise multiple regression were used to analyze data.  The results revealed that, on the first post-operative day, there were two symptom clusters, including 1) post- operative pain, flatulence and fatigue, and 2) anxiety and insomnia. The first cluster could be significantly predicted by wound size and type of surgery (Beta = .236 and .179 respectively; R2 = 8.9%). No factor could predict the second cluster.  Two symptom clusters of the third post-operative day were 1) post-operative pain, flatulence, fatigue and insomnia, and 2) anxiety and nausea/vomiting. The first cluster could be significantly predicted by wound size, post-operative complications and type of surgery (Beta = .338, .242, and .213 respectively; R2 = 8.9%), whereas the second could be significantly predicted by age (Beta = .279, R2 = 7.8%).  Two symptom clusters of the fifth post-operative day were 1) post-operative pain, flatulence and fatigue, and 2) anxiety and insomnia. The first cluster could be significantly predicted by wound size (Beta = .282, R2 = 8.0%) whereas the second could be significantly predicted by wound size and operative time (Beta = .286 and .226 respectively; R2 = 19.1%).  The results of this study could be used as a basic knowledge for developing guidelines to effectively manage post-operative symptom for persons undergone abdominal surgery and research program related to post- operative symptom cluster.

References

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2544). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: พี. .บี. ฟอร์เรนบุคเซนเตอร์.

นันทา เล็กสวัสดิ์. (2540). การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด. เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นันทา เล็กสวัสดิ์, นฤมล วงศ์มณีโรจน์, สุทธิดา พงษ์พันธ์งาม และพิชาณี แสนมโนวงศ์. (2542). ความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดใหญ่. เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ตะวัน แสงสุวรรณ, สุภาภรณ์ ด้วงแพง, และจุฬาลักษณ์ บารมี. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอาการ ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดและการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 17(4), 41-53.

มาลินี วงศ์สวัสดิวัฒน์. (2543). อาการคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด. ศรีนครินทร์เวชสาร, 15(4), 282-288.

Alkaissi, A. (2004). Postoperative symptoms after gynaecological surgery: How they are influenced by prophylactic antiemetics and sensory stimulation (P6-acupressure). Likoping University Medical Dissertation, Sweden: Likoping.

Basse, L., Jakobsen, D. H., Bardram, L., Billesbolle, P., Lund, C., & Mogensen, T. (2005). Functional recovery after open versus laparoscopic colonic resection: A randomized, blinded study. Annals of Surgery, 241(3), 416-423.

California Pacific Medical Center. (2007). Abdominal surgery. Retrieved January 24, 2010, from http://www.cpmc.org/leaning/

Christensen, B. L. (2006). Pain management, comfort, rest and sleep. In B. L. Christensen, & E. O. Kockrow (Eds)., Foundations of nursing (5th ed., pp. 400-418). St. Louis: Mosby.

Coda, B. A., & Bonica, J. J. (2001). General considerations of acute pain. In J. D. Loeser, S. H. Butler, C, R. Chapman, & D. C. Turk (Eds.), Bonica’s management of pain (3rd ed., pp. 765-779). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.

Downloads

Published

2021-09-06