ความเครียด สาเหตุความเครียด และการเผชิญความเครียดของนิสิตพยาบาลในการฝึกวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 2

Stress, Cause of Stress and Coping in Nursing Students in Practicum Adult Nursing II Course

Authors

  • สุวรรณี มหากายนันท์
  • ทัศนีย์ วรภัทรากุล
  • ชุติมา ฉันทมิตรโอภาส
  • อังคนา ศิลปรัตนาภรณ

Keywords:

ความเครียด, สุขภาพจิต, การพยาบาล, การศึกษาและการสอน, การฝึกงาน, สาเหตุความเครียด , การเผชิญความเครียด, การฝึกปฏิบัติการพยาบาล , นิสิตพยาบาล

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณาเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง สาเหตุความเครียด วิธีการเผชิญความเครียด กับความเครียดของนิสิตพยาบาลในการฝึกวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 2 กลุ่ม ตัวอย่างคือ นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2/2553 จำนวน 166 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความเครียดในการเรียนทางคลินิก แบบวัดสาเหตุความเครียด และแบบวัดวิธีการเผชิญความเครียด วิเคราะห์โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน  ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 54.2 มีระดับความเครียดระดับปานกลาง โดยมีความรู้สึกทางอารมณ์ต่อความเครียดในด้านท้าทาย (M= 2.24, SD = 0.47) และด้านเป็นประโยชน์ (M = 2.11, SD = 0.68) ในระดับปานกลาง มีสาเหตุความเครียดจากด้านการจัดการเรียนการสอน (M = 1.73, SD = 0.56) และด้านส่วนบุคคลในระดับปานกลาง  (M = 1.59, SD = 0.49) ใช้วิธีการเผชิญความเครียดด้านการเผชิญหน้ากับปัญหาในระดับมาก (M= 3.36, SD = 0.48) ส่วนคะแนนสาเหตุความเครียดจากด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการจัดการเรียนการสอนและวิธีการเผชิญความเครียดด้านการจัดการกับอารมณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับความเครียดในระดับต่ำ (r = .25, 18, .16 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  This descriptive correlation research aimed to study relationships between stress, causes of stress and coping related to Practicum Adult Nursing II course in nursing students. The sample was 166 third-year nursing students, Faculty of Nursing, Burapha University who were studying in the second semester, 2010. The research instrument were the questionnaires including the demographic data questionnaire, the Clinical Stress Questionnaire (CSQ), the cause of stress questionnaire and the coping with stress questionnaire. Percentage, mean, standard deviation and Spearman’s correlation were used to analyze data.  The results of the study showed that 54.2% of the sample had stress at the middle level. Both of the challenge aspect (M = 2.24, SD. = 0.47) and the beneficial aspect (M = 2.11, SD = 0.68) in emotional feeling assessment were at middle level. The causes of stress were teaching and learning aspect (M = 1.73, SD = 0.56) and personal aspect (M = 1.59, SD = 0.49) being at the middle level. The sample coped with stress by confronting to the problems which was at high level (M = 3.36, SD. = 0.48). Cause of stress in environment aspect, teaching and learning aspect and the coping method in emotional management aspect had low and positive significantly relationship with stress (r = .25, .18, .16, respectively, p < .05).

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2545). โครงการจัดทำโปรแกรมสำเร็จรูปในการสำรวจสุขภาพจิตในพื้นที่ ปี พ.ศ. 2545. [ระบบออนไลน์]. รับวันที่ 19 กรกฎาคม 2553, จาก http://www.dmh.go.th/test/stress/

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. (2551). รายงานประเมินผลรายวิชา 103305 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 2. ปีการศึกษา 2/2551.

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. (2552). รายงานประเมินผลรายวิชา 103305 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 2. ปีการศึกษา 2/2552

นิภา รุจนันตกุล. (2541). การประเมินตัดสินความเคีรยดในการเรียนวิชาประสบการณ์ทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุศรินทร์ หลิมสุนทร และสมพิศ โยสุ่น. (2544). การศึกษาความเครียด การรับรู้ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 9(3), 20-28.

มณฑา ลิ้มทองกุล และสุภาพ อารีเอื้อ. (2552). แหล่งความเครียด วิธีการเผชิญความเครียด และผลลัพธ์การเผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในการฝึกภาคปฏิบัติในครั้งแรก. รามาธิบดีพยาบาลสาร 15(2), 192-204.

สุภาพ อารีเอื้อ. (2540). ความเครียด การเผชิญปัญหา และคุณภาพชีวิตของหญิงสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2553). สถิติสาธารณสุข 2553.[ระบบออนไลน์]. รับวันที่ 31 ตุลาคม 2554, จาก http://bps.ops.moph.go.th/Healthinformation/สถิติ53.pdf

Oermann, M., & Gaberson, K. (2009). Evaluation and testing in nursing education. New York: Springer Publishing Company, LLC.

Pagana, K.D. (1989). Psychometric evaluation of the clinical stress questionnaire (CSQ). Journal of Nursing Education, 28(4) 169-174.

Downloads

Published

2021-09-06