ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดศรีวารีน้อย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ

Factors Influencing Health Promoting Behaviors of Prathom 4-6 Students in Watsrivareenio School, Bang Soathong Subdistrict, Samutprakran Province

Authors

  • ชนิกา เจริญจิตต์กุล
  • ทวีศักดิ์ กสิผล

Keywords:

สุขภาพ, การส่งเสริมสุขภาพ, โรงเรียน, บริการส่งเสริมสุขภาพ, นักเรียนประถมศึกษา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดศรีวารีน้อย อำเภอบางเสาธงจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป. 4-6) เลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 167 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ (ค่าความเชื่อมั่น .81) แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคของพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ (ค่าความเชื่อมั่น .87) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (ค่าความเชื่อมั่น .83)  แบบสอบถามการรับรู้อิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ (ค่าความเชื่อมั่น 0.83) และแบบสอบถามพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านอนามัยส่วนบุคคล (ค่าความเชื่อมั่น .88) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณผลการวิจัยพบว่า  1) กลุ่มตัวอย่าง มีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพรายข้อและโดยภาพรวม อยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพอยู่ในระดับดี (M = 2.36, SD = .72)  2) การรับรู้ความสามารถของตนเองเกี่ยวกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านอนามัยส่วนบุคคลตามสุขบัญญัติแห่งชาติ เป็นปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 9.50 (R2 = .095, p < .01)  ผลการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพด้านอนามัยส่วนบุคคลตามสุขบัญญัติแห่งชาติของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โดยเน้นที่กลยุทธ์สร้างเสริมสุขภาพเป็นหลัก  The purpose of this research was to examine heath promoting behavior and factors influencing on health promoting behaviors of prathom 4-6 students in Watsrivareenoi School, Bang Soathong Subdistrict, Samutprakarn. The sample was 167 students in prathom 4-6. The instruments were perceive benefit, perceive barrier, perceive self-efficacy, interpersonal influence, and heslth promoting brhavior questionnaires. The reliability coefficients of these questionnaires were .81, .87, .83, .83 and .88., respectively. Frequency, percent, mean, standard deviation and multiple regression were employed to analyze the data. The results of study were as follows:  1) The students in Watsrivareenoi Schol, Bang Soathong District, Samutprakarn showed a good level in the overall of personal hygiene health0promoting behavior based on National Health Recommendation.  2) Perceived self-efficacy of health promoting behavior was significantly predictors of the health promoting behavior among prathom 4-6 students in Watsrivareenoi School, Bang Soathong District, Samutprakarn at the percentage of 9.50 (R2 = .095, p < .01) The results can be guidelines for developing health promoting behavior amomg prathom 4-6 students It should be addressed as strategy in perceived self0efficacy in a health promotion.

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). เลี้ยงลูกรักวัยประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์กราฟิคจำกัด.

เกษศิณี ปัจฉิมานนท์. (2552). รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีอิธิพลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกายของผู้รับบริการขณะตั้งครรภ์ ณ หน่วยฝากครรภ์ โรงพยาบาลตำรวจ. กรุงเทพฯ : โรงพยาบาลตำรวจ.

ดาริณี สุวภาพ. (2542). ปัจจัยที่มีอิธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของคนงานสตรีตั้งครรภ์ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่มารับบริการที่หน่วยฝากครรภ์. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทวีศักดิ์ กสิผล. (2544). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหาคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ยูแอน ไอ อินเตอร์ มีเดีย.

Alexy, B. (1991). Factors associated with participation or nonparticipation in a workplace wellness center. Research in Nursing & Health, 14 (1), 33-40

Bandura, A. (1982). Self-efficacy mechanism in human agency. American Psychologist, 6(3), 241-244.

Berraduccci, A., & Lengacher, C. A. (1998). Self-efficacy : An essential component of advanced practice nursing. Nursing Connection, 11(1), 55-67.

Pender, N.J. (1996). Health promotion in nursing practice (3rd ed.) Stamford, CT : Appleton & Lange.

Pender, N.J. (2006). Health promotion in nursing practice (5rd ed.) Stamford, CT. Appleton & Lange.

Downloads

Published

2021-07-22