ความสัมพันธ์ระหว่างสัญญาณทางกายภาพกับปฏิกิริยาตอบสนองต่อความปวดในทารกคลอดก่อนกำหนดที่ได้รับการเจาะเลือดทางหลอดเลือดต่ำ

Relationships between Physiologic Signals and Pain Response Reaction in Preterm Babies with Venous Puncture

Authors

  • พรฤทัย พุ่มลำเจียก
  • นุจรี ไชยมงคล

Keywords:

ทารกคลอดก่อนกำหนด, ความเจ็บปวด, ความเจ็บปวดในเด็ก, การเจาะหลอดเลือดดำ

Abstract

          การวิจัยแบบบรรยายเชิงหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัญญาณทางกายภาพกับปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเจ็บปวดของทารกคลอดก่อนกำหนดที่ได้รับการเจาะเลือดทางหลอดเลือดดำ กลุ่มตัวอย่างเป็นทารกที่เกิดก่อนกำหนดจากมารดาอายุครรภ์ ≤ 37 สัปดาห์ และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คัดเลือกแบบสะดวก จำนวน 55 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง เดือนพฤษภาคม 2553 ถึงเมษายน 2554 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกสัญญาณทางกายภาพ ได้แก่ ค่าอัตราการเต้นของหัวใจ และค่าความอิ่มตัวของออซิเจน และแบบสังเกตปฏิกิริยาตอบสนองต่อความปวดของทารก (The Neonatal Infant Pain Scale) มีค่าความเชื่อมั่นแบบความสอดคล้องระหว่างผู้สังเกต เท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า เมื่อสิ้นสุดการเจาะเลือดทันทีและภายหลังสิ้นสุดการเจาะเลือดในนาทีที่ 5 และนาทีที่ 30 ค่าอัตราการเต้นของหัวใจมีความสัมพันธ์กับปฏิกิริยาตอบสนองต่อความปวด (r = .432, p < .01, r= .616, p < .01 และ r =  - .496, p < .01, ตามลำดับ) และเมื่อสิ้นสุดการเจาะเลือดทันทีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดมีความสัมพันธ์กับปฏิกิริยาตอบสนองต่อความปวด (r = -.338, p < .05) แต่ไม่มีความสัมพันธ์กันในนาทีที่ 5 และนาทีที่ 30 ภายหลังสิ้นสุดการเจาะเลือด (p > .05) แสดงว่าค่าอัตราการเต้นของหัวใจมีความสัมพันธ์กับปฏิกิริยาตอบสนองต่อความปวดภายหลังการเจาะเลือดทุกช่วงเวลา แต่ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนมีความสัมพันธ์กับปฏิกิริยา ตอบสนองต่อความปวดเมื่อสิ้นสุดการเจาะเลือดทันทีเพียงช่วงเวลาเดียวกัน ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าค่าอัตราการเต้นของหัวใจเป็นสัญญาณทางกายภาพเหมาะสมในการประเมินความปวดในทารกคลอดก่อนกำหนด มากกว่าค่าอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ดังนั้นพยาบาลจึงควรใช้ค่าอัตราการเต้นของหัวใจ เป็นตัวชี้วัดในการประเมินความปวดในทารกคลอดก่อนกำหนด  This descriptive correlation; research aimed to determine relationships between physiological signals and pain response reaction in preterm babies with venous puncture. Convenience sample included 55 preterm babies with ≤ 37 weeks of gestational age. Data were collected curing May 2010 to A[ril 2011 from the sample admitted in a hospital in Ayuthaya province. Research instruments were the demographic record form, the physiological signals’ record form (to record heart rate and oxygen saturation), and the Neonatal Infant Pain Scale with its inter-observer reliability of .84. Data were analyzed by using frequencies, percents, means, standard deviations, and pearson’s correlation coefficients. Results revealed that at immediately after finished venous puncture at 5 and 30 minutes, heart rates were associated with pain response reaction of the sample (r = .432, p < .01, r= .616, p < .01 and r =  - .496, p < .01,respectively). At immediately after finished the venous puncture, oxygen saturation in blood was associated with pain response reaction (r = -.338, p < .05), but no association at 5 and 30 minutes (p > .05). Therefore, heart rates were associated with pain response reaction at every point of venous puncture time. However, oxygen saturation was associated with pain response reaction only at immediately after finished the venous puncture. These findings suggest that heart rate is the crucial physiologic signal; and it is more appropriated to be an indicator for pain assessment in preterm baby than using oxygen saturation. Additionally, nurses should apply the preterm baby’s heart rate as a pain indicator to assess pain in preterm babies.

References

เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์ และวีณา จีระแพทย์. (2551). การประเมินภาวะสุขภาพทารกแรกเกิด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ด่านสุนทราการพิมพ์.

ทิพย์สุดา เส็งพานิช. (2550). สื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนดขณะได้รับการพยาบาลที่ไม่คุกคามต่อร่างกาย. วารสารพยาบาล, 56, 60-72.

ปัทมา กาคำ. (2540). ผลการห่อตัวต่อการตอบสนองต่อความเจ็บปวดจากการเจาะสันเท้าในทารกคลอดครบกำหนด. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลแม่และเด็ก, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิมลรัตน์ ไทยธรรมนนท์. (2544). การดูแลทารกแรกเกิด. กรุงเทพฯ: ชัยเจริญ.

วีณา จีระแพทย์. (2547). Neonatal critical care. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

ศรีสมบูรณ์ มุกสิกสุคนธ์ วิไล เลิศธรรมเทวี, สมพร สุนทราภา และสมคิด โพธิ์ชนะพันธุ์. (2551). ระดับความเจ็บปวด ในผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่ได้รับการทำหัตถการการรักษา. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

อัจฉรา พิทักษ์ศิลป์. (2541). ผลของการบรรเทาปวดแบบไม่ใช้ยาต่อระดับความเจ็บปวด อัตราการเต้นของหัวใจ และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่ได้รับการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้า. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลเด็ก, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

Als, H. (1982). Toward a synactive theory of developmental: Promise for the assessment and support infant individuality. Infant Mental Health Journal, (4), 229-243.

Blackburn, S. T., & Loper, D.L., (1992). Maternal, fetal, and neonatal physiology: A clinical perspective. Philadelphia: W. B. Saunders.

Blackburn, S. T., (1995). Environment impact of the NICU on development outcomes. Journal of Pediatric Nursing, 13(5), 279-289.

Brown, L. (1987). Physiologic responses to cutaneous pain in neonate. Neonatal Network, 5(12), 215-218.

Downloads

Published

2021-07-22