ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตชุมชนเมือง จังหวัดชลบุรี

Predictive Factors of Depression in Persons with Type 2 Diabetes in Urban Areas, Chonburi Province

Authors

  • วรัทยา ทัดหล่อ
  • ภาวนา กีรติยุตวงศ์
  • ชนัดดา แนบเกษร
  • นิภาวรรณ สามารถกิจ

Keywords:

ความซึมเศร้า, เบาหวาน, ผู้ป่วย, ความสัมพันธ์ในครอบครัว, ความนับถือตนเอง, การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ศึกษาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตชุมชนเมืองจังหวัดชลบุรี โดยปัจจัยที่เลือกสรรได้แก่ ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน จำนวนโรคร่วม สัมพันธภาพในครอบครัวความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และการดูแลตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เป็นเบาหวานในเขตชุมชนเมือง มารับบริการ ณ คลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเมืองชลบุรีจำนวน 262 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามจำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอยถามสัมพันธภาพมนครอบครัว แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แบบสอบถามการด๔แลตนเอง และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณ  ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยสัมพันธภาพในครอบครัว และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ยภาวะซึงเศร้าอยู่ในระดับปานกลางถึงมากร้อยละ 39.3 ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน จำนวนโรคร่วม สัมพันธภาพในครอบครัวความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และการดูแลตนเองสามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ร้อยละ 77(R2 = 77, p < .001) โดยพบว่าสัมพันธภาพในครอบครัวเป็นตัวแปรทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้มากที่สุด (β = - .46, p < .001) รองลงมาได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (β = -.23, p < .01) การดูแลตนเอง (β = - .23, p < .01) จำนวนโรคร่วม (β = .21, p < .01) และระยะเวลาการเป็นเบาหวาน (β = .13, p < .05) ตามลำดับ  ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า พยาบาลผู้ให้การดูแลผู้เป็นเบาหวานควรออกแบบการพยาบาลเพื่อส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัว เพิ่มความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานเขตชุมชนเมืองเพื่อป้องกันและลดภาวะซึมเศร้าในผู้เป็นเบาหวานต่อไป  This predictive correlational study aimed to examine predictive factors of depression in persons will type 2 diabetes in urban area at Chonburi province . Selected predictive factors consisted of duration of diabetes, the number of diabetes co-morbidity, family relationship, self-esteem, and diabetes self- care. Two hundred and sixty two subjects from diabetes hundred and sixty two subjects from diabetes outpatient clinic at Maung Choburi hospital were included in this study by simple random sampling. The subjects completed 5 questionnaires including the Demographid Data, the Family Relationship, the Rosenberg’s Self-esteem Questionnaire, the Diabetes Self-care, and Beck]s Depression Inventory. Data were analyzed using descriptive statistics and multiple regression analysis. The results showed that the mean score of family relationship and self-esteem were at a moderate level. Mean score of depression at a moderate to high level was 39.3 percents. Duration of diabetes, the number of diabetes. Duration of diabetes, the number of diabetes co-morbidity, family relationship, self-esteem, and diabetes self-care jointly predicted depression in persona with type2 diabetes (R2 = 77, p < .001). The strongest predictor of depression was family relationship (β = - .46, p < .001), followed by self-esteem (β = -.23, p < .01), diabetes self-care (β = - .23, p < .01), the number of diabetes co-morbidity (β = .21, p < .01), and duration of diabetes (β = .13, p < .05), respectively.     The findings showed that diabetes nurses should further design nursing interventions to enhance family relationship, self-esteem and diabetes self-care for preventing depression in persons with diabetes in urban area to prevention and decrease depression in persons with diabetes.

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2550). จำนวนและอัตราต่อแสนประชากรผู้ป่วยทางสุขภาพจิตของประเทศไทยกระจายตามเขตสาธารณสุขรายจังหวัด ปี พ.ศ. 2550. วันที่ค้นข้อมูล 19 ธันวาคม 2551, เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/36Z9jsN.

จารุวรรณ มานะสุรการ. (2544). ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง: ผลกระทบและการพยาบาล. สงขลา: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

จุฑารัตน์ บุญรัตน์, ภาวนา กีรติยุตวงศ์ และ ชนัดดา แนบเกษร. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 17(2), 32-47.

ธงชัย ประฎิภาณวัตร. (2550). ภาวะเศรษฐกิจจากโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ: วิวัฒน์การพิมพ์.

นิศารัตน์ เชตวรรณ. (2543). การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองและความซึมเศร้าของผู้ติดเชื้อเอชไอวี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Aekplakorn, W., Cheepudomwit, S., Stolk, R. P., Suriyawongpaisal, P., chongsu-vivatwong, V., Neal, B., & woodward, M. (2003). The prevalence and management of diabetes in Thai adults: The international collaborative study of cardiovascular disease in Asia. Diabetes Care, 26(10), 2758-2763.

American Diabetes Association. (2008). Standards of medical care in diabetes-2008. Diabetes Care, 31(1), 12-54.

Anderson, D., Horton, C., Toole, M. L., & Fisher, E. B. (2007). Integrating depression care with diabetes care in real-world setting: Lessons from the Robort Wood John foundation diabetes initiative. Diabetes Spectrum, 20(6), 10-16.

Beck, A. t. (1967). Depression: Clinical, experimental, and theoretical aspects. New York: Hoeber Medical Division.

Friedman, M. M. (1981). Family nursing: Theory & assessment. Connecticut: Appleton Century-Croft.

Downloads

Published

2021-07-22