ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความเชื่อเกี่ยวกับการตั้งครรภ์การรับรู้ต่อการส่งเสริมสุขภาพกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ชาวไทยมุสลิม

Relationships between Personal Factors, Beliefs in Pregnancy, Perception of Health Promotion and Health Promoting Behaviors among Thai-Muslim Pregnant Women

Authors

  • ศิริหงษ์ ซิ้มเจริญ
  • วันทนา มณีศรีวงศ์กูล
  • แสงทอง ธีระทองคำ

Keywords:

ความเชื่อเกี่ยวกับการตั้งครรภ์, พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, สตรีตั้งครรภ์, ชาวไทยมุสลิม

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความเชื่อเกี่ยวการตั้งครรภ์ และการรับรู้ต่อการส่งเสริมคุณภาพ กับพฤติกรรมส่งเสริมคุณภาพของหญิงตั้งครรภ์ชาวไทยมุสลิม กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ชาวไทยมุสลิม 100 คน ที่ผากครรภ์ที่สถานีอนามัยในเขต อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี สุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสเปียร์แมน  ผลการวิจัยพบว่า อายุ การศึกษาสายสามัญ รายได้ครอบครัว การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการรับรู้ประโยชน์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .223, p < .05; rs = .202, p < .05; r = .258, p < .05; r = .630, p < .001; r = .529, p < .001) ส่วนความเชื่อเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และการรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ชาวไทยมุสลิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.331, p < .01; r = -.359, p < .001) แต่การศึกษาสายศาสนาอิสลามไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ  การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ผู้ปฏิบัติการพยาบาลควรแระเมินความเชื่อเกี่ยวกับการตั้งครรภ์การรับรู้ต่อการส่งเสริมคุณภาพของหญิงตั้งครรภ์ชาวไทยมุสลิมเพื่อค้นหาหญิงตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อการมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม และวางแผนในการส่งเสริมสุขภาพที่เฉพาะเจาะจงกับหญิงตั้งครรภ์กลุ่มนี้  The purpose of this correlational research was to examine the relationships between personal factors, beliefs in pregnancy, perception of health promotion, and health promoting behaviors among Thai-Muslim pregnant women. A randomize sample consisted of 100 Thai-Muslim pregnant women who attended the prenatal clinics at primary care unit in Panarae district, Pattanee province. Questionnaire were used to collect data. Data were analyzed by descriptive statistic, correlation coefficient of Pearson, and Spearman’s rank. The findings revealed that age, education, family income, perceived self-efficacy, and perceived benefits of action were positively correlated with health promoting behaviors (r = .223, p < .05; rs = .202, p < .05; r = .258, p < .05; r = .630, p < .001; r = .529, p < .001, respectively). Beliefs in pregnancy and perceived barriers to action were negatively correlated with health promoting behaviors (r = -.331, p < .01; r = -.359, p < .001, respectively), while Muslim education were not significantly correlate with health promoting behaviors (rs = -.173, p > .05).  The findings suggest that health care professionals should assess pregnant Thai-Muslims’ beliefs in pregnancy and perception of health promotion in order to identify women at risk for having poor health promoting behaviors, and to a more specific health promoting program for them.

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2552). ข้อมูลสถิติสำคัญของกระทรวงสาธารณสุข. รับวันที่ 25 ธันวาคม 2552, จาก https://bit.ly/3xe6Ohc

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 10. (2550). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 10. (เอกสารอัดสำเนา).

จินตนา หาญวัฒนกุล. (2547). การใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อสร้างเสริมสุขภาพในระยะตั้งครรภ์: กรณีศึกษาสตรีไทยมุสลิมในภาคใต้. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

จิราวรรณ นิรมิตภาษ. (2551) ปัจจัยส่วนบุคคลความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แรงสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวด้านจิตสังคมของสตรีตั้งครรภ์ที่อายุมาก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลมารดาและทารกแรกเกิด, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ดาริณี สุวภาพ. (2542). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของคนงานสตรีตั้งครรภ์ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่มารับบริการฝากครรภ์ที่หน่วยฝากครรภ์. ดุษฎีนิพนธ์พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

Orem, D. E. (1985). Nursing concepts of practice (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2006). Health promotion in nursing practice (5th ed.). New Jersey: Pearson Education.

Polit, D. F. & Beck, C. T. (2008). Nursing research: Generating and assessing evidence for nursing practice (8th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wikins.

Thanomroop, W. (2000). Health promoting behaviors in pregnant women: A study of perceived benefits and barriers to action. Master’s thesis, Nursing Science, Maternal and Child Nursing, Faculty of Graduate Study, Mahidol University.

United Nations Department of Economic and Social Affairs (DESA). (2008). Millennium development goals report 2008. Retrieved January 15, 2010 from https://bit.ly/3lbNv5O

Downloads

Published

2021-07-30