ผลของโปรแกรมการปรึกษาเชิงพฤติกรรมต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเท้าของผู้ป่วยเบาหวนชนิดที่ 2 และครอบครัว

The Effects of Behavioral Counseling Program on Foot Care Behavior of Patients with Type 2 Diabetes Mellitus and Their Families

Authors

  • นิลุบล วินิจสร
  • จินตนา วัชรสินธุ์
  • วรรณี เดียวอิศเรศ

Keywords:

เบาหวาน, ผู้ป่วย, การดูแลสุขภาพเท้า, โปรแกรมการปรึกษาเชิงพฤติกรรม, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพเท้า, ครอบครัวผู้ป่วยเบาหวาน

Abstract

            การศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรึกษาเชิงพฤติกรรมต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเท้าของผู้ป่วยเบาหวานและครอบครัว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วนเบาหวานชนิดที่ 2 และครอบครัวที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขะแยง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 40 ครอบครัว เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 ครอบครัว กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรึกษาเชิงพฤติกรรมในการดูแลเท้า 4 ครั้ง ครั้งละ 90-120 นาที แต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ ยกเว้นครั้งที่ 4 ห่างจากครั้งที่ 3 เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ส่วนกลุ้มควบคุมได้รับการดูแลตามรูปแบบแกติ ทั้งกลุ่มทดลองลักลุ่มควบคุมได้รับการประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเท้าก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเท้าของผู้ป่วยเบาหวานและครอบครัววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ไคสแควร์และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และครอบครัว กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษาเชิงพฤติกรรมมีผลต่างของคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามรูปแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 33.544, p < .05 และ t = 18.511, p < .05 ตามลำดับ) จากผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการปรึกษาเชิงพฤติกรรมสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และครอบครัวได้ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้พยาบาลผู้เกี่ยวข้องนำรูปแบบโปรแกรมการปรึกษาเชิงพฤติกรรมนำมาใช้กับการเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเท้าของผู้ป่วยเบาหวานและพฤติกรรมของครอบครัวในการดูแลสุขภาพเท้าของผู้ป่วยเบาหวานได้  The purpose of this quasi-experimental research was to examine the effects of behavioral counseling program on foot care behavior among patients with type 2 diabetes mellitus and their families. The sample consisted of 40 families receiving medical services from Bang Khayaeng Health Promotion Hospital District, Pathum Thani Province. The samples were randomly assigned to the control and experimental group. Twenty patients and their families of the control group received regular care and the other 20 patients of the experimental group received behavior counseling program on foot care behavior 4 sessions per 90-120 minutes each time with one weeks apart except sessions 4 from sessions 3 for a period of two weeks, while the control group was treated as a regular care. The sample in the both groups were assessed the foot care behavior and family health behavior at pretest and posttest. Research instruments consisted of demographic questionnaires, and the foot care behavior questionnaire of patients with type 2 diabetes mellitus and their families. Data were analyzed by using descriptive statistics, chi-square test, and independent t-test.  The results revealed that patients with type 2 diabetes mellitus and their families that received behavioral counseling program on foot care behavior had discrepancy mean score about foot care behavior were significantly higher than the type 2 diabetes mellitus patients and their families received the regular care (t = 33.544, p < .05 and t = 18.511, p < .05, respectively). This finding was likely support that the behavioral counseling program increased ability of type 2 diabetes mellitus patients on foot care behavior and their families about foot care behavior.  Therefore, nurse working to improve quality of foot care in type 2 diabetes mellitus should apply this behavioral counseling program in order to change foot care behaviors of patients with type 2 diabetes mellitus and the families in care of patients with diabetes foot.

References

จงจิตร บุญอินทร์. (2551). ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการดูแลสุขภาพเท้าของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

จตุรงค์ ประดิษฐ์. (2545). ความสัมพันธ์ด้านความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จันทรา บริสุทธิ์. (2540). พฤติกรรมสุขภาพของผู้หญิงโรคเบาหวานในภาคเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณัฏฐินี จารุชัยนิวัฒน์. (2546). การพัฒนาแบบประเมินภาวะเสี่ยงของการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ดวงปรีดา เรืองทิพย์. (2552). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลเท้าต่อการรับรู้สมรรถนะในการดูแลเท้าและพฤติกรรมการดูแลเท้า ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลชุมชน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Corbett, C. F. (2003). A randomized pilot study of improving foot care in home health patients with diabetes. Diabetes Educator, 29 (2), 273-282.

Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1999). Nursing research: Principles and methods (6th ed.). Philadelphia: J. B. Lippincott.

Tapp, D. M. (2000). The ethics of relational stance in family nursing: Resisting the view of “Nurse as expert”. Journal of Family Nursing, 6 (1), 69-91.

Wright, L. M., & Bell, J. M. (2009). Beliefs and illness: A model for healing. Canada: 4th Floor Press.

Wright, L. M., & Leahey, M. (2009). Nurses and families: A guide to family assessment and intervention (5th ed.). Philadelphia: F. A. Davis.

Downloads

Published

2021-07-30