ความสัมพันธ์ระหว่าง ทัศนคติต่อการใช้ความรุนแรง รูปแบบการเลี้ยงดูและการปฏิบัติของเพื่อนกับพฤติกรรมรุนแรงของวัยรุ่น

Relationships Between Attitudes Toward Violence, Parenting Styles and Peer’s Behaviors and Violence Behaviors of Adolescents.

Authors

  • nurseเกวลี นาควิโรจน
  • อทิตยา พรชัยเกตุ โอว ยอง
  • อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์
  • ประภา ยุทธไตร

Keywords:

ทัศนคติ, การใช้ความรุนแรง, การดูแล, การปฏิบัติของเพื่อน, รูปแบบการเลี้ยงดู

Abstract

            การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ทัศนคติต่อการใช้ความรุนแรงรูปแบบการเลี้ยงดู และการปฏิบัติของเพื่อน กับพฤติกรรมรุนแรงของวัยรุ่น โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม (social cognitive theory) ของแบนดูรา (Bandura,1989) เป็นกรอบแนวคิดในกาวิจัย คัดเลือกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกทั้งเพศชายและหญิงที่กำลังศึกษาใสถาบันอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จังหวัดนราธิวาส อายุ 15-18 ปี จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามจำนวน 5 ชุด เพื่อสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมรุนแรงของนักเรียน ทัศนคติต่อการใช้ความรุนแรงรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู และการปฏิบัติของเพื่อนต่อพฤติกรรมรุนแรง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สัมประสิทธิ์อีตาและสิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติต่อการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติของเพื่อนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมรุนแรงของนักเรียนอาชีวศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .38 และ r = .67 ตามลำดับ) และรูปแบบการเลี้ยงดูมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมรุนแรง (F3,196 = 4.593, n = .26) โดยพบว่า นักเรียนที่ไดรับหารเลี่ยงดูแบบอิสระอย่างมีของเขตมีพฤติกรรมรุนแรงต่ำกว่านักเรียนที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบยอดตามบุตร และแบบควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาครั้งนี้ พยาบาลสามารถนำปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมรุนแรง มาใช้ในการป้องกันปัญหาพฤติกรรมรุนแรงในวันรุ่นได้ กล่าวคือการให้ความรู้ และปรับทัศนคติของวัยรุ่นเกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรมรุนแรง การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง และครูเกี่ยวกับรูปแบบการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และการสังเกตพฤติกรรมรุนแรงนัยรุ่น นอกจากนั้นอาจมรการจัดโรงการเสริมทักษะการแก้ปัญหา และการควบคุมตนเองของวัยรุ่นเพื่อให้วัยรุ่นสามารถต้านทางการชักจูงของเพื่อนในการใช้พฤติกรรมรุนแรงได้  This research study aimed to explore the relationships between attitudes toward violence, parenting styles, and peer’s behaviors and violence behaviors of vocational students in Narathiwas province. The social cognitive theory proposed by Baandura (1989) was used as the framework of the study. A convenience sample of 200 students aged from 15-18 years old was recruited from three vocational schools under the Office of Higher Education, Ministry of Education in Narathiwas province. Data were collected using questionnaires as follows: the demographic characteristics questionnaire, the violence behavior assessment questionnaire, the attitudes toward violence questionnaire, the parenting styles questionnaire, and the peer’s behaviors questionnaire. Data analyses were conducted using descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation, Eta correlation, and analysis of variance. The results indicated that attitudes toward violence and peer’s behavior were positively correlated with violent behavior (r = .38 an r = .38 and r = .67, respectively, p < .01) and parenting styled was correlated with violent behavior (F3,196 = 4.593, n = .26). Specifically, students who received the authoritative parenting style had less violence behavior than those receiving authoritarian and permissive parenting styles (p < .05)  The findings suggest nurses to take into considerations about these factors when providing care to adolescents. For example, dissemination of knowledge about and adjustment of attitude toward violence behavior to adolescents are essential. Providing education about proper parenting styles to parents and teachers as well as observing violent behavior of adolescents are also important. In addition, programs to promote problem solving skills and self-control skills are suggested in order to protect adolescents from their peer’s influence of violence behavior.

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2550). ความรุนแรงของวัยรุ่นไทย: พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิสชิ่ง.

เกษตรชัย และหีม และ ดลมนรรจน์ บากา. (2552). ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อพฤติกรรมรุนแรงของเยาวชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบังสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์, 15 (6), 898-911.

ทัศนา ทวีคูณ. (2552). พฤติกรรมรุนแรงในวัยรุ่น. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 23 (1), 1-13.

ทะนงค์ สุขเกษม. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูการปฏิบัติของเพื่อน และ สื่อกับพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธีรภา เกษประดิษฐ์. (2544). ปัญหาพฤติกรรมเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 4 ภาค วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bandura, A. (1989). Social cognitive theory. In R. Vasta (Ed.), Annals of child development. Vol. 6. Six theories of child development (pp. 1-60). Greenwich, CT: JAI Press.

Borum, R. (2000). Assessing violence risk among youth. Journal of clinical Psychology, 56 (10), 1263-1288.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. New York: Lawrence Erlbaum Associates.

Cunningham, R., Walton, M., Trowbridge, M., Weber, J., Outman, R., Benway, A., et al. (2006). Correlates of violent behavior among adolescents presenting to an urban emergency department. The Journal of Pediatrics, 149, 770-776.

Dahlberg, L. L. (1998). Youth violence in the United States major trends, risk factor, and prevention approaches. American Journal of Preventive Medicine, 14 (4), 259-272.

Downloads

Published

2021-07-30