ผลของกระบวนการเรียนรู้โดยวิธีสตออรีไลน์ต่อความรู้ เจตคติ และความตั้งใจในการตรวจคัดกรองโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในนักเรียนมันธยมศึกษาตอนต้น

Effects of Learning Process by the Storyline Method on Knowledge, Attitude and Intention to take the Thalassemia Screening Test among Lower Secondary School Students

Authors

  • รวิสุดา บานเย็น
  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
  • ยุวดี ลีลัคนาวีระ

Keywords:

โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย, เจตคติ, การเีรียนรู้โดยวิธีสตอรีไลน์, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความรู้ เจตคติ และความตั้งใจ ในการ การตรวจคัดกรองโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดสระแก้ว ระหว่างนักเรียนในโรงเรียนที่ได้รับการทดลอง และไม่ได้รับการทดลอง ผู้วิจัยไดใช้กระบวนการบูรณาการความรู้เกี่ยวกับโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียโดยการเรียนรู้วิธีสตอรีไลน์ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage cluster random sampling) โดยสุ่มเขตการศึกษา อำเภอตำบลและโรงเรียนและศึกษานักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ทุกคนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดในโรงเรียนที่สุ่มได้ โดยโรงเรียนที่เป็นกลุ่มทดลองมีนักเรียนจำนวน 44 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้ เจตคติและแบบวัดระดับความตั้งใจในการตรวจคัดกรองโรคโลหิตจางธลัสซีเมียระยะเวลาในการศึกษา 1 มกราคม 2554-28 กุมภาพันธ์ 2554 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา (descriptive statistics) และการทดลอบค่าทีแบอิสระ (t-test for independent samples) ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของผลต่างคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียเจตคติต่อการตรวจคัดกรองโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียและ ความตั้งใจต่อการตรวจคัดกรองโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ≤ .05 ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์คือ ควรมรการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับโรคดลหิตจางธาลัสซีเมียโดยวิธีสตอรีไลน์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการตรวจคัดกรองโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียก่อนการสมรส โดยเฉพาะในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และในชุมชน  This experimental research purposed to compare knowledge, attitudes and intentions to take the thalassemia screening test in lower secondary school students between experimental and control group. The treatment was to integrate thalassemia learning by storyline method. The multistage cluster random sampling was used, in the education border. Amphoe, tambon, school and studied in all lower secondary school students who met inclusion criteria, experimental groups consisted of 52 students from one school, and control group had 44 students. The questionnaire were used for data collection about knowledge, attitude and intention to take the thalassemia screening test. Data were analyzed by using descriptive statistics and t-test for independent samples.  The results of research were as follows: Mean different between pre and post test score of knowledge about thalassemia, attitudes, and intention to take the screening test in experimental group were statistic significantly higher than the control group at .05 level. The suggestion of this finding was to apply the storyline method for management the thalassemia screening test before marriage specially for lower secondary students in school and communities.

References

จินตนา พัฒนพงศ์ธร. (2550). สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. วันที่ค้นข้อมูล 8 ตุลาคม 2552, เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/37nQn7D.

ณรงค์ อังคะสุวพลา. (2550). แหล่งข่าว: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ. โพสต์เมื่อ: 2007-10-03. วันที่ค้นข้อมูล 8 ตุลาคม 2552, เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/2VotLkE

นิรัตน์ อิมามี. (2546). ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ยุทธรินทร์การพิมพ์.

พัชรินทร์ พูลทวี. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการคัดกรองโรค บรรทัดฐานของบุคคล การรับรู้ความสามารถในการควบคุมปัจจัยและลักษณะประชากรกับความตั้งใจคัดกรองโรคธาลัสซีเมียของประชากรวัยเจริญพันธุ์จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลชุมชน, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวทิยาลัยบูรพา.

มติคณะรัฐมนตรี. (2550) แผนงานธาลัสซีเมียแห่งชาติ พ.ศ. 2550-2554. วันที่ค้นข้อมูล 12 มิถุนายน 2552, เข้าถึงได้จาก ttps://bit.ly/3zQ8Tl7

วิชัย เทียนถาวร. (2545). การประชุมสัมมนาวิชาการธาลัสซีเมียแห่งชาติ ครั้งที่ 8 (อัดสำเนา). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

วีระศักดิ์ พุทธาศรี วัชรา ริ้วไพบูลย์ และรัชตะ ตั้งศิริพัฒน์. (2547). การควบคุมและป้องกันโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในประทศไทย: บทวิเคราะห์กระบวนการเชิงนโยบาย. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 13 (5), 715-724.

ศิริลักษณ์ ดำรงศิริ. (2541). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการตรวจเลือดก่อนแต่งงานของประชาชนในจังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลชุมชน, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สริญญา เลาหพันธ์พงศ์. (2551). ผลการจัดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาด้วยรูปแบบสตอรี่ไลน์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วันที่ค้นข้อมูล 7 สิงหาคม 2553, เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3fai8or

Wambach, K. A. (1997). Breastfeeding intention and outcome: A test of planned behavior. Research in Nursing and Health, 20 (1), 51-59.

Downloads

Published

2021-07-30