ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัว ขณะรอผู้ป่วยผ่าตัดใหญ่ฉุกเฉิน

Family Members’ Needs and Need Responses during Waiting Time for Patients’ Undergoing Major Emergency Surgeries

Authors

  • สัญญา โพธิ์งาม
  • วัลภา คุณทรงเกียรติ
  • สุภาภารณ์ ด้วงแพง

Keywords:

ผู้ป่วย, การตอบสนองความต้องการ, การผ่าตัดใหญ่ฉุกเฉิน

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัวขณะรอผู้ป่วยผ่าตัดใหญ่ฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยที่เข้ารับการ่าตัดใหญ่ฉุกเฉินที่งานห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสิงห์บุรี จำนวน 80 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวย่างโดยใช้การสุ่มแบบสัมภาษณ์ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัวขณะรอผู้ป่วยผ่าตัดใหญ่ฉุกเฉินซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแนวคิดความต้องการของสมาชิกครอบครัวของ กาลิโอเน (Gaglione, 1984) ค่าความเชื่อมั่นของแบบสัมภาษณ์เท่ากับ .92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้  1. คะแนนเฉลี่ยความต้องการโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 44.40, SD = 10.72) ส่วนรายด้านพบว่า ด้านข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับมาก (x̄ = 23.40, SD = 2.94) ด้านร่างกายอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 6.20, SD = 2.53) ด้านอารมณ์อยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 5.90, SD = 2.18) และด้านจิตวิญญาณอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ - 8.90, SD = 3.07)  2. คะแนนเฉลี่ยการได้รับการตอบสนองความต้องการโดยรวมอยู่ในระดับน้อย (x̄ = 11.60, SD = 13.70) โดยรายด้านพบว่า ทักด้านอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ ด้านข้อมูลข่าวสาร (x̄ = 6.28, SD = 6.60) ด้านร่างกาย (x̄ = 1.91, SD = 1.92) ด้านอารมณ์ (x̄ = 1.18, SD = 2.10) และด้านจิตวิญญาณ (x̄ = 2.23, SD = 3.10)  3. เปรียบเทียบความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการพบว่า ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการโดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (x̄ = 20.59, p < .001) สำหรับรายด้านพบว่า ทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน ได้แก ด้านข้อมูลข่าวสาร (x̄ = 14.29, p < .001) ด้านอารมณ์ (x̄ = 16.24, p < .001) และด้านจิตวิญญาณ (x̄ = 17.05, p < .001) โดยพบว่า ค่าเฉลี่ยความต้องการมากกว่าการได้รับการตอบสนองความต้องการทุกด้าน ผลการวิจัยครั้งรี้สามารถนำไปเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ใช้เพื่อดารพัฒนาคุณภาพในการดูแลให้สอดคล้องกับความต้องการของสมาชิกครอบครัวขณะรอผู้ป่วยรับการผ่าตัดใหญ่ฉุกเฉิน  The purpose of this descriptive research was to study family members’ needs and need responses during waiting time for patients’ undergoing major emergency surgeries. The sample consisted of 80 family members of patients undergoing major emergency surgeries at operating room, Singburi Hospital, selected by convenience sampling method. The instruments were demographic data, needs and need responses questionnaire which were developed based on family’s need of Gaglione’s concept (1984). The reliability of the questionnaire was .92. Data were analyzed using descriptive statistic and paired t-test.  The results were as follows: 1. The overall need score was at the high level (x̄ = 44.40, SD = 10.52). For each aspect, informational need score was at the high level (x̄ = 23.40, SD = 2.94), physiological need score was at the moderate level (x̄ = 6.20, SD = 2.53), emotional need score was at the moderate level (x̄ = 5.90, SD = 2.18), and spiritual need score was at the moderate level (x̄ - 8.90, SD = 3.07).  2. The overall need responses score was at the low level (x̄ = 11.60, SD = 13.70). All four aspects were at the low level. The informational response need score was at the low level (x̄ = 6.28, SD = 6.60), physiological need score was at the low level (x̄ = 1.91, SD = 1.90), emotional need score was at the low level (x̄ = 1.18, SD = 2.10), and spiritual need responses score was at the low level (x̄ = 2.23, SD = 3.10).             3. Paired t-test showed a significant statistical difference between overall need score and need response score (x̄ = 20.59, p < .001). Considering each aspects, there were significant statistical difference for every aspects; informational aspect (x̄ = 20.02, p < .001), physiological aspect (x̄ = 14.29, p < .001), emotional aspect (x̄ = 16.4, p < .001), and spiritual aspect (x̄ = 17.05p < .001).Mean score of needs were all higher than needs responses. The results can be used as evidence to improve quality of care for patients undergoing major emergency surgeries, especially the information need in order to improve information providing guideline for family members during waiting for patients undergoing major emergency surgeries.

References

จุฑารัตน์ สว่างชัย. (2542). ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของคู่สมรสของผู้ป่วยก่อนผ่าตัดเต้านม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฐิติมา ธารประสิทธิ์. (2548). ผลของการให้ข้อมูลขณะผ่าตัดต่อความวิตกกังวลของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยผ่าตัดฉุกเฉิน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

นันทา เล็กสวัสดิ์ นฤมล วงศ์มณีโรจน์ และนิตยา ว่องกลกิจศิลป์. (2540). ความพึงพอใจในการนอนหลับและปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับของผู้ป่วยหลังผ่าตัดใหญ่. เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญใจ ศรีสถิตนรากุล. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.

ประยงค์ ทับทิม. (2551). ความต้องการ และการได้รับการตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัวบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Aquilera, D. C. (1989). Crisis intervention. In L. M. Birckhead (Ed.). Psychiatric/mental health nursing: The therapeutic use of self (pp. 229-250). Philadelphia: J. B. Lippincott.

Aquilera, D. C., & Messick, J. B. (1978). Crisis intervention: Theory and methodology (5th ed.). St. Louis: Mosby.

Bluhm, J. (1987). Helping families in crisis hold on. Nursing, 87, 44-46.

Gaglione, K. M. (1984). Assessing and intervention with families of CCU patents. Nursing Clinic of North America, 19 (3), 427-432.

Halm, M. (1990). Effect of support group on anxiety of family member during critical illness. Heart & Lung, 19 (1), 62-71.

Downloads

Published

2021-07-30