เปรียบเทียบการไหลเวียนเลือดดำในผู้ป่วยวิกฤตที่ได้รับการนวดกดจุดฝ่าเท้าและการใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะ

Comparison of Femoral Venous Blood Flow in Critically Ill Patients Receiving Reflexolog and Intermittent Pneumatic Calf Compression Machine

Authors

  • ประณีต ส่งวัฒนา
  • สุพัตรา อุปนิสากร
  • วิภา แซ่เซี้ย

Keywords:

การไหลเวียน, การกดจุด, การนวดเท้า, เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะ, การกดจุดฝ่าเท้า

Abstract

          การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสุ่มข้ามกลุ่ม เพื่อเปรียบเทียบความเร็วในการไหลเวียนกลับของเลือดดำที่ขาหนีบระหว่างการนวดกดจุดฝ่าเท้ากับการใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะ ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยวิกฤต จำนวน 50 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง สุ่มเข้ากลุ่มที่ได้รับการทดลองใน 4 แบบ โดยได้รับการนวดกดจุดฝ่าเท้าคือ วันละ 4 ครั้ง วันละ 3 ครั้ง วันละ 2 ครั้ง หรือ ใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะ วัดความเร็วในการไหลเวียนกลับของเลือดดำ ระยะเวลาที่สามารถคงความเร็วสูงสุด และระยะเวลาที่ความเร็วในการไหลเวียนกลับของเลือดดำที่ขาหนีบกลับสู่ค่าเดิม ด้วยเครื่องฟังเสียงสะท้องการไหลเวียนของเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวน  ผลการศึกษา หลังการทดลองทั้ง 4 แบบ หลังนวดกดจุดฝ่าเท้าวันละ 2 ครั้ง 3 ครั้ง 4 ครั้ง เมื่อเปรียบเทียบกับหลังใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะ พบว่า 1) ความเร็วในการไหลเวียนกลับของเลือดดำที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่มีความตกต่างกัน 2) ระยะเวลาของความเร็วในการไหลเวียนของเลือดดำสูงสุดไม่มีความแตกต่างกัน 3) ระยะเวลาเฉลี่ยของความเร็วในการไหลเวียนกลับของเลือดดำกลับสู่ค่าเดิม ไม่มีความแตกต่างกัน ดังนั้น การนวดกดจุดฝ่าเท้าจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการส่งเสริมการไหลเวียนเลือกกำในผู้ป่วยวิกฤต และเสนอแนะให้มีการนวดกดจุดฝ่าเท้าอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพียงพอที่จะช่วยเพิ่มความเร็วในการไหลเวียนของเลือดดำได้ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในกรณีที่ไม่มีเครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะ  The purpose of quasi-experimental with cross over design was to compare of femoral venous blood flow between reflexology and intermittent pneumatic calf compression (IPC) machine in 50 critically ill patients. The purposive selected subjects were randomly assigned to two in 4 patterns of intervention of reflexology as: 4 times daily, 3 times daily, two times daily, and using IPC only. The venous blood flow velocity, time of maximum plateau of venous blood flow velocity, and time to baseline venous blood flow velocity were measured by vascular Doppler detector. Data were analyzed using mean, standard deviation, and analysis of variance. The results revealed that after applying 4 type of interventions in subjects receiving foot reflexology either two, three, or four times daily compared to using IPD daily, it was found that 1) the average of venous blood flow velocity, 2) the time of maximum plateau of venous blood flow, and 3) time to baseline venous blood flow velocity were not significantly differences (p > .05). the findings indicated that foot reflexology can be applied as an alternative nursing care to promote venous blood flow in critically ill patients. At least twice daily of foot reflexology was suggested to be adequate and it could be used for the setting that IPD was unavailable.

References

กัญจนา ดีวิเศษ. (2554). คู่มืออบรมการนวดไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพ: สามเจริญพาณิชย์.

จุมพล วิลาศรัศมี. (2550). ตำราโรคหลอดเลือดดำ. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.

มุกดา ตันชัย และอภิชาต ลิมติยะโยธิน. (2547). วิทยาศาสตร์ในการนวด. เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาวิทยาศาสตร์ในการแพทย์แผนไทยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชวัฒนา วัฒนาภา และลือชา บุญทวีกุล. (2548). ระบบไหลเวียนเลือด. ใน วัฒนา วัฒนาภา สุพัตรา โล่สิริวัฒน์ และสุรพิมพ์ เจียสกุล (บรรณาธิการ), สรีรวิทยา 2. (พิมพ์ครั้งที่ 5, หน้า 325-454). กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก.

ศรันยา หวงสุวรรณากร ผ่องศรี ศรีมรกต และทิพา ต่อสกุลแก้ว. (2546). การนวดกดจุดสะท้อนที่เท้า. วารสารการแพทย์แผนไทย, 7 (7), 51-63.

Cohen, A. T., Tapson, V. F., Bergmann. J. F., Goldhaber, S. Z., Kakkar, A. K., Deslander, B., & et al. (2008). Venous thromboembolism risk and prophylaxis in the acute hospital care setting. Lancet, 371, 387-394.

Geerts, W. H., Pineo, G. F., Heit, J. A., Bergqvist, D., Lassen, M. R., Colwell, C. W., & et al. (2004). Prevention of venous thromboembolism: The seventh ACCP conference on antithrombotic and thrombolytic therapy. Chest, 126 (3 Suppl), 338S-400S.

Kakkos, S. K., Griffin, M., Geroulakos, G., & Nicolaides, A. N. (2005). The efficacy of a new portable sequential compression device (SCD express) in preventing venous stasis. Journal of Vascular Surgery, 42 (2), 296-303.

Morris, R. J. (2008). Intermittent pneumatic compression-systems and applications. Journal of Medical Engineering & Technology, 32 (3), 179-188.

Polit, D. F., Denise, F. (2004). Nursing research: Principles and methods. (7th ed.). Philadelphia, Lippincott

Downloads

Published

2021-07-30