ผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อค่าน้ำตาลสะสม

Effects to Competency Promoting Program for Self- Management of Diabetes Mellitus Patients on Glycosylate Hemogolobin A1B

Authors

  • ยุพิน เมืองศิริ
  • วัลภา คุณทรงเกียรติ
  • ภาวนา กีรติยุตวงศ์

Keywords:

เบาหวาน, ผู้ป่วย, การจัดการตนเอง, น้ำตาลในเลือด, ค่าน้ำตาลสะสม

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานต่อค่าน้ำตาลสะสมหลังการทดลองเดือนที่ 3 และเดือนที่ 6 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังจันทร์จำนวน 80 ราย สุ่มตัวอย่างอย่าง่ายเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 40 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแนวคิดการจัดการตนเองของแคนเฟอร์และเกร์ลิคส์ (Kanfer & Gaelick, 1991) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน แบบบันทึกกราฟแสดงแนวโน้มระดับน้ำตาบในเลือด แบบบันทึกการติดตามตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำสองทาง  ผลการวิจัยพบว่า  1. ค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมความสามารถการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F1,79 = 11.73, p< .01)  2. ค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมของกลุ่มทดลองในระยะก่อนการทดลอง เดือนที่ 3 และเดือนที่ 6 มีอย่างน้อย 1 คู่ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F2,156 = 29.62, p< .001)  3. กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมความสามารถการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและช่วงเวลาที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F2,156  = 96.05, p < .001)  ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมส่งเสริมความสามารถการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีผลต่อค่าน้ำตาลสะสม ดังนั้น พยาบาลควรนำโปรแกรมส่งเสริมความสามารถการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานไปใช้ในการให้บริการผู้ป่วยในคลินิกเบาหวานต่อไป  This quasi-experimental research aimed to study the effects of a promoting competency program for self-management of diabetes mellitus patients on glycosylated  hemoglobin  A1C at the third and the sixth month after receiving the problem. The samples were eighty diabetes mellitus patient receiving treatment at diabetic clinic of the Wangchan Health Promoting Hospital. They were randomly assigned into control and experimental groups which were 40 samples equally. The control group received regular nursing care while the experimental group receiving the self- management promoting program of diabetes mellitus patients, which was development by the researcher based on the self-management concept of Kanfer and Gaelick (1991). The instruments were the Self-Management Promoting Program, the Self-Management Handbook of Diabetes Patient, the Individual Graph of  Blood Sugar Level Record, the self-Management Record and the Demographic Data of Diabetes Patient. Data were analyzed by using descriptive statistics and two – way repeated measure analysis of variance method. The results revealed that 1. After receiving the self-Management promoting program of diabetes mellitus patients, glycosylated  hemoglobin A1C of the  experimental group was significantly decreased more than the control group (F1,79 = 11.73, p< .01)  2. Glycosylated hemoglobin A1C of the experimental group was significantly different (F2,156 = 29.62, p< .001) at least one pair between before receiving the program, at the third and the sixth month. 3. the experimental group and an increasing of time significantly and differently affected on gktcosylated hemoglobin  A1C (F2,156  = 96.05, p < .001) The result of this study indicated that the self-management promoting program of diabetes mellitus patient influenced on glycosylated hemoglobin A1C. therefore, nurses should apply this program for caring diabetic patients in the clinic.

References

คุ้ง กิตติวัฒน์. (2539). ผลการใช้สมุดกราฟบันทึกระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ทะเบียนผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังจันทร์. (2552). สถิติผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังจันทร์.

ภาวนา กีรติยุตวงศ์ และสมจิตร หนุเจริญกุล. (2553). การติดตามประสิทธิภาพในระยะยาวของโปรแกรมการจัดการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 16 (2), 293-307.

มยุรา อินทรบุตร และ เบญจา มุกดาพันธุ์. (2550). การรับรู้และการปฏิบัติด้านการควบคุมอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประเภทที่ 2. ศรีนครินทร์เวชสาร, 22 (3), 283-290.

รัชวรรณ ตู้แก้ว. (2550). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อการปฎิบัติการจัดการตนเอง และระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed). Hillsdler, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates Publishers.

Kanfer. F., & Gaelick, L, (1991). Self-management methods. In F. Kanfer & A. Goldstein (Eds.), Helping people change: A text-book of methods (4th ed.) (pp. 305-360). New York : Pergamon Press.

Marram, G. D. (1978). The group approach in nursing practice (2nd ed.). St. Louis : Mosby.

Keeratiyutawong, P., et al. (2005). Effectiveness of a supportive-educative program on diabetic control, perceived self-care efficacy, and body mass index in persons with type 2 diabetes mellitus. Thai Journal of Nursing Research, 9 (1), 1-11.

Tobin, D. L., Reynolds, R. V. C., Holroyd, K. A., & Creer, T. L. (1986). Self-management and social learning theory. In K. A. Holroyd & T. L. Creer. (Eds), Self-management of chronic disease : Handbook of clinical intervention and research (pp. 5-55). New York : Academic.

Downloads

Published

2021-07-30